เลือกหน้า

Stop Cyberbullying หยุด! ระรานทางไซเบอร์

Stop Cyberbullyingหยุด! ระรานทางไซเบอร์เด็กไทยเป็นเหยื่อ
80% เคยถูกกลั่นแกล้งในชีวิตจริง
66 เปอร์เซ็นต์ถูกแกล้งสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
12 เปอร์เซ็นต์ถูกแกล้งทุกวัน
45% เคยถูกระรานทางไซเบอร์อย่างน้อย 1 ครั้ง
มากกว่าสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น 4 เท่า

# ที่มา: รศ.นพ. ชาญวิทย์ พรมนภดล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ผลการวิจัย ” ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกลั่่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ในระดับม 1-3 ” ปี 2560

Cyberbullying แบบไหน?
79.4% ล้อเลียนตั้งฉายา
54.4%ถูกเพิกเฉยไม่สนใจ
46.8% ไม่ให้ความเคารพ
ถูก Cyberbullying เจ้าหนูวิ่งหาใคร
89.2 % เพื่อน
59% ผู้ปกครอง
41.2 % พี่น้อง

# ที่มา: รศ.นพ. ชาญวิทย์ พรมนภดล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ผลการวิจัย ” ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกลั่่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ในระดับม 1-3 ” ปี 2560

4 วิธีรับมือ เมื่อลูกถูก Cyberbullying

1. ตระหนักถึงปัญหา พ่อแม่อย่าเฉยเมย เมื่อลูกเล่าว่า ถูกแกล้ง รับฟังเมื่อลูกร้องขอ
2. หาทางช่วย หาต้นตอปัญหาและทางออก
3. ฝึกให้รับมือ ให้กำลังใจ แนะวิธีรับมือโดยไม่ตอบโต้ เช่น ปิด แอ็คเคานต์ บล็อก
4. ยืนเคียงข้าง สร้างความเชื่อใจให้ลูกรู้ว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น จะยืนเคียงข้างลูกเสมอ

#ที่มา: รศ.นพ. ชาญวิทย์ พรมนภดล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ผลการวิจัย ” ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกลั่่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ในระดับม 1-3 ” ปี 2560

นิยามเกี่ยวกับนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

นิยามเกี่ยวกับนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

นิยามเกี่ยวกับนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

 

โดย: คณะอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

 

นวัตกรรมสื่อ (Media Innovation)

สื่อที่เกิดจากการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ หรือต่อยอดจากสิ่งเดิม ซึ่งมีคุณค่า เป็นประโยชน์ และกลุ่มเป้าหมายเข้าถึง ได้โดยง่าย

 

นวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

นวัตกรรมสื่อที่มีเนื้อหามุ่งเน้นการส่งเสริมให้เกิดผลดีต่อสังคม ทั้งทางด้านศีลธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมและความมั่นคง ความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิต การรู้เท่าทันสื่อ การใช้ประโยชน์จากสื่อในการพัฒนาตนเอง ชุมชนและสังคม และไม่มีลักษณะของการเป็นสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์

 

นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

กระบวนการ หรือวิธีการใหม่ที่นำไปใช้ขับเคลื่อนให้เกิดสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

 

คุณลักษณะของนวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

1 เกิดจากการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่หรือต่อยอดจากสิ่งเดิม

2 เป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณค่า และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

3 มีเนื้อหาที่เหมาะสมต่อสังคม เป็นที่น่าสนใจ และกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงได้โดยง่าย

4 ไม่มีลักษณะของการเป็นสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์

 

แนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

1 พัฒนาคนให้คิดสร้างสรรค์

มีทักษะการเล่าเรื่องผ่านสื่อ เพื่อสร้างนวัตกรตั้งแต่ระดับเยาวชนไปจนถึงผู้ผลิตสื่ออาชีพ

2 สร้างความรู้ความเข้าใจ

เรื่องสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ความรู้เท่าทันสื่อ

3 เปิดพื้นที่เพื่อรับฟังความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย

 

เข้าใจชุมชน สังคม วัฒนธรรมที่หลากหลาย

4 สร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ

5 สร้างโอกาส องค์ความรู้

และการเรียนรู้จากกรณีศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

6 ยกย่องและให้รางวัล

แก่ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

7 ส่งเสริมการเผยแพร่ การเข้าถึง การใช้ประโยชน์

การต่อยอดนวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในเชิงเศรษฐกิจและสาธารณประโยชน์

8 สร้างความรู้ ความเข้าใจ

และสนับสนุนการเสนอโครงการเพื่อขอรับทุนด้าน นวัตกรรมสื่อ จากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

9 ติดตามและประเมินผล

การสร้างนวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ผลสำรวจสถานการณ์การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลของประชาชนไทย ปี พ.ศ. 2563 – 2564

ผลสำรวจสถานการณ์การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัลของประชาชนไทย ปี พ.ศ. 2563 – 2564  
จากผู้ร่วมตอบแบบสำรวจทางออนไลน์ 5,239 คน โดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ คณะวิศกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 
.
พบว่า ประชาชนไทยมีคะแนนการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับดี (70.4%) 
การสำรวจแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 
– การเข้าถึง อยู่ในระดับดี (66.3%) 
– การประเมิน อยู่ในระดับดี (74.0%) 
– และการสร้าง อยู่ในระดับดี (70.9%) 
.

#กองทุนสื่อ #รู้เท่าทันสื่อ
#MIDL #กองทุนสร้างสรรค์สื่อสื่อสร้างสรรค์สังคม
#กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
.
ติดตาม “กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่ 
Website : www.thaimediafund.or.th
Youtube : www.youtube.com/c/ThaiMediaFund

กองทุนสื่อฯ ร่วมลงนามผลิตรายการ “ทำอะไรก็ธรรม” หวังใช้พลังโซเชียลเผยแพร่ด้านพุทธธรรมเข้าถึงชุมชน

งานทำบุญ 10 ปี สวนโมกข์กรุงเทพ และพิธีลงนามความร่วมมือในการผลิตรายการ “ทำอะไรก็ธรรม” ระหว่าง กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ LINE ประเทศไทย และมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์กรุงเทพ)

ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย ประธานกรรมการจัดตั้งหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ กล่าวสุนทรกถา โดยขอบคุณทุกภาคส่วนที่ให้การสนับสนุนจนครบ 10 ปีในวันนี้ซึ่งเจตจำนง อยากให้นำคำสอนของพระพุทธเจ้าและท่านพุทธทาสมาใช้ในการดำเนินชีวิต 
“เมื่อก่อนการสื่อสารเป็นรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ วันนี้ทั้งโลกเปลี่ยนไปมีสื่อที่เราเรียกว่าโซเชียลมีเดีย ซึ่งเข้าไปถึงทุกช่วงอายุคนตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงผู้สูงวัย เป็นเรื่องที่ท้าทายที่จะใช้สื่อนำเอาพุทธธรรมให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุดได้อย่างไร ผมเชื่อมั่นว่า 3 ภาคีจะทำได้ และหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากทุกท่านอีกครั้ง
ทำอย่างไรจะถ่ายทอดของขวัญชีวิตของรุ่นเราไปยังรุ่นต่อไปได้อีก เป้าหมายหนึ่งก็ต้องไปที่ชุมชน ทั้งโรงเรียน โรงพยาบาล ชุมชนต้องการศาสนธรรมมาก คุณธรรม จริยธรรม ชุมชมถูกกดดันจากวัตถุนิยม รวมทั้งอบายมุขต่างๆ ทำให้สถาบันที่เข้มแข็งของไทยถูกวัตถุนิยมสมัยใหม่กระแทกให้เปราะบาง”

ขณะที่ นพ.บัญชา พงษ์พานิช กรรมการและเลขานุการมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ กล่าวว่าสมัยท่านอาจารย์พุทธทาสเป็นพระรูปแรกที่ซื้อกล้องถ่ายรูปที่ดีที่สุดเพื่อเก็บภาพมาประกอบธรรม ส่งสารและเผยแพร่ รวมถึงได้บันทึกเสียงออกอากาศทุกวันอาทิตย์ผ่านกรมประชาสัมพันธ์
“10 ปีที่แล้วเราเกิดหอจดหมายเหตุ จะทำอย่างไรที่จะให้คลิปดีๆ ได้ส่งสารไปหาผู้คนบ้าง ซึ่งที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วนที่ช่วยเผยแพร่ผลงานธรรมะสู่สาธารณชน ก่อนจะต่อยอดเชิญกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์มาร่วมมือในการผลิตรายการ ทำอะไรก็ธรรม”

ด้าน ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า มีความสุขและตื้นตันใจที่ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนร่วมผลิตรายการในครั้งนี้ ซึ่งโดยส่วนตัวทำให้คิดว่าพระพุทธเจ้าเป็นนักการสื่อสารชั้นยอดที่หลักสูตรนิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชนไม่เคยสอน โดยทำให้เห็นจากการเทศนาผ่านสาวกและสาวกก็นำคำสอนนั้นไปเผยแพร่ต่อ
“สื่อในภาวะปกติ กิเลสไม่มีก็ปั่นให้มี การเปิดรับสื่อมีความสำคัญและในปัจจุบันงานวิจัยชี้ว่ามีการใช้สื่อในการระราน และ hate speech มากที่สุด โดยส่วนตัวมุ่งหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่คำสอนพระพุทธศาสนา ถึงที่สุดแล้วมีความรู้สึกว่าศาสตร์ในโลกนี้ที่อธิบายตัวเองได้ดีที่สุดไม่ใช่ศาสตร์ทางโลกแต่เป็นพุทธธรรม โดยถือเป็นจุดตั้งต้นที่ดีที่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์มีส่วนในการสนับสนุนการผลิตรายการทำอะไรก็ธรรม และมี LINE ประเทศไทย เป็นช่องทางการเผยแพร่”

เวที “หลอมรวมสื่อ รวมคน สู่หนทางสร้างสรรค์ : สังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัยภายใต้การสนับสนุนของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์”

(24มี.ค.64) เวที “หลอมรวมสื่อ รวมคน สู่หนทางสร้างสรรค์ : สังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัยภายใต้การสนับสนุนของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” เวทีวิชาการที่อยู่ภายใต้ “โครงการจัดเวทีวิชาการสังเคราะห์บทความวิจัย ตีพิมพ์และเผยแพร่ สำหรับโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” ซึ่งเป็นโครงการที่ให้ความสนใจกับการค้นคว้า ศึกษา รวบรวม
และประมวลผลงานทางวิชาการ เพื่อเป็นบทเรียนให้กับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และผู้ที่สนใจ
เพื่อชี้ให้เห็นสภาพของบทเรียนและองค์ความรู้ด้านสื่อที่ผ่านมา โดยมีนางวรินรำไพ ปุณย์ธนารีย์ รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นผู้แทนกล่าวเปิดงาน
โครงการได้นำบทความเชิงวิชาการ งานวิจัย งานวิจัยเชิงปฏิบัติการ คู่มือที่เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มานำเสนอเป็นหนังสือสังเคราะห์องค์ความรู้ ภายใต้ชื่อ “หลอมสื่อ รวมคน สู่หนทางสร้างสรรค์ : สังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัยภายใต้การสนับสนุนของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” ซึ่งเป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัยที่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์สนับสนุนมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อตั้งกองทุน จนถึงช่วงปี พ.ศ. 2564เป้าหมายหลักของการทบทวนบทเรียนที่มาจากงานวิจัย เอกสารวิชาการ และตำราต่าง ๆ ที่ครั้งนี้ เป็นไปเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยด้านสื่อให้กับผู้ที่สนใจ เช่น นักศึกษา นักวิชาการด้านสื่อ องค์กรเอกชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหากสามารถนำผลงานวิจัยที่ได้ไปพัฒนาหรือนำไปใช้ได้จริงในทางปฏิบัติจะเป็นประโยชน์ต่องานด้านสื่อในรูปแบบต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้วงการวิจัยของประเทศมีการพัฒนา
เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ และเป็นแรงบันดาลใจที่จะผลักดันให้เกิดงานวิจัยและนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ
ภายในงานมีการนำเสนอนิทรรศการออนไลน์ ผลงานวิจัยภายใต้การสนับสนุน ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ ” คลังข้อมูลงานวิจัย และ หนังสือสังเคราะห์องค์ความรู้ จากงานวิจัยภายใต้การสนับสนุนของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ” โดย ดร. วิโรจน์ สุทธิสีมา อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์มหาลัยกรุงเทพเสวนาวิชาการ : สังเคราะห์บทความวิจัย ตีพิมพ์และเผยแพร่ สำหรับโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ อดีต ปัจจุบันและอนาคต ว่าประโยชน์ต่อกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และสังคมไทย โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัจฉรา ปัณฑรานุวงศ์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรัชญ์ ครุจิต ประธานอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมฯ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์และวิทยาการการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ณ ห้องประชุมชั้น 6 โรงแรม The Quarter Ladprao