เลือกหน้า

ประชุมคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ครั้งที่ 7/2564

ประชุมคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ครั้งที่ 7/2564

วันที่ 30 สิงหาคม 2564 เวลา 15.00 น. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ครั้งที่ 7/2564

โดยมี นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รองประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ประธานอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

นายธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เข้าร่วมประชุมผ่านระบบเครือข่ายการประชุมทางไกล (ผ่านระบบ Microsoft team)

ณ ศูนย์ประชุมกระทรวงวัฒนธรรม ชั้น 8 อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม

ภาพประกอบจาก : กระทรวงวัฒนธรรม

กองทุนสื่อ – PSI SARADEE 99 ลงนามความร่วมมือโครงการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

กองทุนสื่อ – PSI SARADEE 99 ลงนามความร่วมมือโครงการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

26 ส.ค. 64 ดร. ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ นายภานุวัฒน์ ผงสุวรรณกุล กรรมการบริษัท PSI SARADEE 99 ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อนำเสนอผลงานด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จากการสนับสนุนโครงการหรือกิจกรรมของกองทุนฯ ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญของกองทุนฯ ที่ต้องดำเนินการและส่งเสริมให้มีสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้ ผ่านทีวีดาวเทียม PSI SARADEE 99

ดร.ธนกร กล่าวว่า หลังจากกองทุนฯ ได้ผลิตรายการเล่าสื่อกันฟัง ซึ่งเป็นการนำผลงานของผู้รับทุน รวมถึงความสำเร็จของการขยายผล มาบอกเล่า ในทุกวันอาทิตย์ เวลา 08:30 – 08:55 น. เพื่อเป็นชุดองค์ความรู้ ให้กับบุคคลทั่วไป และผู้ที่จะมารับทุนต่อ ทำให้ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น กองทุนฯ จึงขยายผลนำผลงานและภารกิจของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย
และสร้างสรรค์สื่อสารไปยังประชาชนผู้รับชมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางบริษัท พีเอสไอ สาระดี นั้นก็ถือว่ามีแพลตฟอร์ม ทั้งทีวีดาวเทียม และเคเบิ้ลทีวี ที่มีผู้รับชมในโครงข่ายนี้อย่างกว้างขวาง ถือเป็นโอกาสที่ดีในการลงนามความร่วมมือครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนสังคมไปสู่สังคมที่มีคุณภาพ จากการสร้างสรรค์สื่อ เพื่อให้สื่อสร้างสรรค์สังคม

นายภานุวัฒน์ กล่าวว่า มีความยินดีอย่างยิ่งและขอขอบคุณทางกองทุนฯ ที่เล็งเห็นสำคัญ เข้ามาร่วมมือในการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ให้ประชาชน ได้รับชมสื่อที่ดี ปลอดภัยและสร้างสรรค์ผ่านทีวีดาวเทียม PSI SARADEE 99

โดยมีสาระสำคัญดังนี้

1. กองทุนฯ ต่อยอดผลงานด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ให้มีช่องทางการออกอากาศสื่อที่หลากหลาย เข้าถึงได้กับผู้ชมทุกกลุ่มวัยและทุกพื้นที่

2. PSI SARADEE 99 เป็นช่องทางทีวีดาวเทียม ในการเผยแพร่ผลงานด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการส่งเสริมให้มีสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง

3. ประชาชนสามารถรับชมผลงานด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้ทางช่องทีวีดาวเทียม PSI SARADEE 99 ทุกวันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 19.30 – 20.00 น.

ในการบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมือเพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนต่อไป ให้ได้รับชมสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์

กองทุนสื่อ – สพฐ. ลงนาม MOU ด้านการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ

กองทุนสื่อ จับมือ สพฐ. ลงนาม MOU ด้านการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ

19 ส.ค. 64 กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อร่วมกันดำเนินงานในการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อให้กับนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. ร่วมกันทำงานในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในเรื่องการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์

2. เกิดการผลักดันเชิงนโยบายและกลไกการขับเคลื่อนการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาเชิงประเด็นที่มีผลกระทบสูงต่อสังคมอย่างเป็นระบบ

3. พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะหลักที่สำคัญและจำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ อาทิ ทักษะการคิด ทักษะการสื่อสาร การรู้เท่าทันสื่อ และความเป็นพลเมืองดี โดยการพัฒนาผ่านหลักสูตรฐานสมรรถนะเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อ และการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรในรูปแบบต่าง ๆ

4. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นครูยุคใหม่ มีศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรฐานสมรรถนะด้านการรู้เท่าทันสื่อ และมีความรู้ความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ของผู้เรียน

5. สนับสนุนสถานศึกษา องค์กร หรือหน่วยงานที่ทำงานส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ ให้มีขีดความสามารถในการสร้างผลกระทบที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น

บันทึกข้อตกลงฉบับนี้ จะเป็นความร่วมมือระหว่าง กองทุนสื่อ และ สพฐ. ที่จะส่งเสริมนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษารู้เท่าทันสื่อ และที่สำคัญร่วมกันขับเคลื่อนนิเวศสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์

เวทีเสวนา “สื่อมวลชนไทยในกระแสความเปลี่ยนแปลง” กองทุนสื่อ หวังกระตุ้นนำเสนอความจริง

(17 สค. 64) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ผนึกพลังทั้งภาควิชาการและสื่อมืออาชีพร่วมหาทางรอดให้สื่อไทย ในเวทีเสวนาวิชาการออนไลน์ ‘สื่อมวลชนไทยในกระแสความเปลี่ยนแปลง : บทบาทและความท้าทาย’

โดยพระไพศาล วิสาโล ได้รับเป็นองค์ปาฐกถาพิเศษ ‘อนาคตของสื่อมวลชนในกระแสของความเปลี่ยนแปลง’ ซึ่งในเวทีเสวนา มีนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ สื่อสารมวลชน และสื่อมวลชน  มืออาชีพ ร่วมระดมความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวเปิดงาน โดยขอบคุณผู้เข้าร่วมเสวนาทุกคนที่มาร่วมระดมความเห็น พร้อมกล่าวว่า ท่ามกลางสถานการณ์ที่สื่อมวลชนต้องเผชิญกับวิกฤตรอบด้าน ทั้งกระแสเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี, Digital Disruption ที่โหมกระหน่ำกระทบการทำงานและธุรกิจสื่อโดยตรงในหลายมิติ

 ‘สถานการณ์ปัจจุบันที่เรากำลังเผชิญหน้ากับวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงการดำเนินชีวิตของประชาชนอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ว่าโลกและสังคมจะเผชิญกับสถานการณ์ใด “สื่อมวลชน” ยังคงต้องเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ดังนั้น การนำเสนอเนื้อหาที่มีจรรยาบรรณ ตามหลักวิชาชีพของสื่อมวลชน จะช่วยสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ให้สาธารณชน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เวทีเสวนาระดมความคิดเห็นนี้ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จะได้รับข้อมูลเพื่อวิเคราะห์  สถานการณ์ปัญหา และบทบาทสื่อมวลชนในปัจจุบัน เพื่อร่วมหาทางออก อุปสรรค ในการที่จะให้ประชาชนและสังคมส่วนรวม ได้ประโยชน์จากการเป็นผู้รับสารนั้น’ ดร.ธนกร กล่าว

พระไพศาล วิสาโล กล่าวว่า ภาพรวมของสื่อตอนนี้ กำลังมีความสับสน ไม่แน่ใจในบทบาทของตัวเองที่กำลังเดินอยู่ คือไม่รู้แน่ชัดว่าตัวเองกำลังไปทางไหน มันเป็นเส้นทางที่ถูกมั้ย ซึ่งก็ทำให้เกิดความลังเล ในสิ่งที่ทำอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจ เพราะว่า ตอนนี้สิ่งที่เรียกว่า การปฏิวัติทางด้าน Visitor ส่งผลกระทบต่อสื่อเป็นอย่างมาก

 ‘ตอนนี้คนมีทางเลือก ในเรื่องสื่อเยอะมาก จะมองว่าสื่อมีคู่แข่งเยอะก็ได้ อาตมา เห็นว่าความคาดหวังของผู้คนต่อสื่อก็เปลี่ยนไป ก็จะไม่ได้คาดหวังการเผยแพร่ หรือเป็นสื่อกลาง ทำให้เค้าเห็นข้อเท็จจริง แต่ว่าต้องการให้สื่อมาสะท้อนหรือว่า ตอบสนองความคิดหรือความเห็นของตัวเอง ซึ่งก็ทำให้เกิดการเรียกร้อง คาดหวังให้สื่อเลือกข้าง เลือกข้างของตัวเอง มาอยู่ฝ่ายตัว สื่อซึ่งจากเดิมเป็น “Mass media” ไปสู่ “Social media” และกลายเป็น “Tribal media” หรือสื่อเพื่อพวกตัวเอง    อาตมาคิดว่า สื่อต้องถอนตัวออกมาจากการเป็น Tribal Media คือ ต้องไม่เป็นสื่อที่มีอคติ หรือนำเสนอแต่เรื่องของพวกพ้องตนเอง แต่ต้องสะท้อนความจริงของสังคมอย่างรอบด้าน บทบาทเดิมที่สื่อเคยคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เช่น การนำเสนอข้อเท็จจริง ตอนนี้มันก็ถูกตั้งคำถาม บรรทัดฐานที่เคยมีก็ถูกสั่นคลอน อาตมาคิดว่าทำให้สื่อทำงานยาก ไหนจะต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอด เม็ดเงินที่ช่วยหล่อเลี้ยงสื่อจาก บริษัทโฆษณามันก็กระจายไปกว้างขวาง อาตมาคิดว่า ตอนนี้สื่อต้องใช้เวลาในการปรับตัวมากทีเดียว ก่อนที่จะรู้ว่า ควรจะไปทางไหน อันนี้ก็คือ ความเห็นในภาพรวม’

พระไพศาล กล่าวว่า สื่อควรทำหน้าที่ 2 อย่าง คือเป็นกระจกสะท้อนความจริง อย่างซื่อตรง และเป็นเสมือนโคมไฟคือใช้ส่องสว่าง กระจกกับโคมไฟ มันก็ทำหน้าที่ต่างกัน  ‘กระจกทำหน้าที่สะท้อนความจริง ซึ่งอาตมาคิดว่าอันนี้คือหน้าที่สำคัญของสื่อ คือเป็นสื่อกลางที่ทำให้คนเห็นความจริง ของปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ประเด็นว่า ส่องสว่างในที่นี้ก็หมายถึงว่า ทั้งในแง่ที่ว่าทำให้โลกรอบตัวสว่างขึ้น ทำให้คนได้เข้าใจโลกที่อยู่รอบตัว สังคมที่อยู่รอบตัว แล้วก็ส่องทางด้วยนะไม่ใช่แค่ส่องสว่างอย่างเดียว ก็คือว่านำเสนอทางออก หรือสิ่งที่ควรจะเป็น’ พระไพศาล กล่าว

ในกิจกรรมเสวนาวิชาการออนไลน์ ได้เปิดระดมความคิดเห็น ให้ผู้เข้าร่วมเสวนาครั้งนี้ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นใน 3 ประเด็นหลัก ดังนี้

  1. บทบาทของสื่อมวลชนไทยในยุคปัจจุบัน
  2. ความท้าทายต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่สื่อมวลชนต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ
  3. ร่วมกันนำเสนอแนวทางข้อชี้แนะ ในการปรับตัวของสื่อเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในสถานการณ์ที่ท้าทายในปัจจุบัน

ในการระดมความคิดเห็นครั้งนี้ได้มีประเด็นที่สนใจมากมาย อาทิ บทบาทของสื่อมวลชนกับสื่อ ที่ทุกคนเป็นกันได้ ต้องแยกกันให้ชัดเจน โดยเฉพาะสื่อมวลชน ต้องยึดจรรยาบรรณ จริยธรรม และต้องคำนึงถึงความถูกต้องก่อนนำเสนอเนื้อหา

การทำ Quality Rating เป็นการสะท้อนความต้องการของผู้รับสื่ออย่างแท้จริง เพื่อต้องการให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ แต่ขณะเดียวกัน สื่อมวลชนในปัจจุบัน ต้องเผชิญกับความท้าทายในเรื่องของ อุดมการณ์และพาณิชยการ เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงทำให้เกิดช่องว่างในเรื่องของข้อเท็จจริง

กองทุนสื่อ – หอภาพยนตร์ ลงนามความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ด้านสื่อภาพยนตร์

กองทุนสื่อ – หอภาพยนตร์ ลงนามความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ด้านสื่อภาพยนตร์

16 ส.ค. 64 กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านสื่อภาพยนตร์ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ผลงาน ประสบการณ์ และองค์ความรู้ด้านสื่อภาพยนตร์และสื่ออื่นใดที่มีลักษณะใกล้เคียงร่วมกัน และเป็นการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ทั้งสองฝ่ายจึงได้ตกลงที่จะทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ขึ้น โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1.ร่วมมือกันเสนอแนะแนวทางการจัดทำร่างกำหนดมาตรฐานสื่อภาพยนตร์และสื่ออื่นที่มีลักษณะใกล้เคียง เพื่อใช้สำหรับการอนุรักษ์และเผยแพร่

2.ร่วมมือกันแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ และประสบการณ์ในการจัดทำฐานข้อมูลผลงานสื่อของทั้งสองฝ่าย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการรวบรวม จัดเก็บ สืบค้น และเผยแพร่ รวมถึงการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา

3.ร่วมมือกันหารือแนวทางการในการคัดเลือก และรวบรวมผลงานสื่อภาพยนตร์ และสื่ออื่นตามที่ตกลงร่วมกัน เพื่ออนุรักษ์ไว้ในคลังภาพยนตร์ของหอภาพยนตร์ต่อไป ภายใต้กรอบวัตถุประสงค์ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

บันทึกข้อตกลงฉบับนี้ จะเป็นหมุดหมายสำคัญของความร่วมมือระหว่างกองทุนสื่อ และหอภาพยนตร์ ที่จะร่วมกันขับเคลื่อนนิเวศสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์