เลือกหน้า

พิธีสำเร็จหลักสูตร โครงการ “นักสืบสายชัวร์ x ชัวร์ก่อนแชร์สโมสร” Virtual Camp

พิธีสำเร็จหลักสูตร โครงการ “นักสืบสายชัวร์ x ชัวร์ก่อนแชร์สโมสร” Virtual Camp

(30 พ.ย 64) ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ นายนิมิตร สุขประเสริฐ​ ผู้ช่วยกรรมการ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักพัฒนา​ธุรกิจ​ บริษัท​อสมท.จำกัด มหาชน ร่วมกับภาคีเครือค่าย ร่วมพิธีสำเร็จหลักสูตรพร้อมทั้งปิดค่ายการอบรม “นักสืบสายชัวร์​ × ชัวร์​ก่อนแชร์สโมสร “

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ อสมท. จัดการอบรม “นักสืบสายชัวร์​ × ชัวร์​ก่อนแชร์สโมสร “
ขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มทักษะการรู้เท่าทันข่าวปลอมและภัยจากโลกไซเบอร์ ซึ่งการจัดอบรมครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ของ อสมท. ดำเนินการจัดขึ้น

โดยหวังว่าผู้ผ่านการอบรมจะสามารถ นำความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนทักษะที่ได้รับการถ่ายทอดของผู้มีประสบการณ์​ และมีแรง บันดาลใจ ออกไปเผยแพร่และบอกต่ออย่างสังคมและคนรอบข้างได้ว่า ข่าวไหนจริงและข่าวใดปลอด และไม่ควรแชร์​ต่อ ลดปัญหา​การตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรม​ไซเบอ​ร์

สำหรับในปีนี้มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมอบรม จาก 3 กลุ่มวัย ประกอบด้วยกลุ่มเด็ก ครูและผู้สูงวัย รวมแล้วกว่า 652 คน โดยนักสืบที่ผ่านการอบรม เป็นนักสืบสายชัวร์​ มี 12 ปี และยังมีนักสืบสายขัวร์อายุมากสุดที่จบหลักสูตร​คือ 78 ปี

ผู้เข้าร่วมอบรม จะได้รับการถ่ายทอด ความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญ ผ่าน Virtual Camp เรียนรู้แบบ Hybrid และ InnovActive Learnig ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นต้นมา ทุกคนต่างเรียนรู้ ด้วยความสนใจหลังพบว่าสังคมในปัจจุบัน มีปัญหาการสร้างข่าวปลอมในโลกไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง สร้างผลกระทบให้กับสังคมในหลากหลายรูปแบบ หลายคนต้องตกเป็นเหยื่อของภัยดังกล่าวโดยไม่รู้ตัว และยังถูกดำเนินคดีตาม พรบ.คอมพิวเตอร์​อีกด้วย

กองทุนพัฒนาสื่อฯ จัดงานเสวนา ถอด DNA ข่าว/ข้อมูล “ผิดพลาด-บิดเบือน-มุ่งร้าย” ในสังคมไทย เพื่อเสริมพลังกลไก Fact-Checking

(30 พ.ย. 64) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เผยผลการศึกษา “สถานการณ์ข่าวปลอม (Fake News) ในสังคมไทยปี 2564” ในงานเสวนาออนไลน์ “ถอด DNA ข่าว/ข้อมูล “ผิดพลาด-บิดเบือน-มุ่งร้าย” ในสังคมไทย เพื่อเสริมพลังกลไก Fact-Checking” พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ วิชาชีพสื่อ และผู้บริหารกลไก Fact-Checking ที่เป็นหน่วยในการศึกษา โดยคณะวิทยากรการเสวนา ประกอบด้วย คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้จัดการศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท  คุณสันติภาพ เพิ่มมงคลทรัพย์ รองผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  คุณสุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Co Fact ประเทศไทย  คุณพงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์ บรรณาธิการอาวุโส The MATTER และผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อสารมวลชน กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ทั้งนี้ มีผู้สนใจร่วมงานผ่าน Zoom และ รับชมทางเพจกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และเพจ Media Alert

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวเปิดงาน และนำเสนอว่า  วันนี้ทุกคนเป็นสื่อได้ ดังนั้นข่าว ข้อมูล ที่ส่งออกไป สามารถทำร้ายหรือทำลายเพื่อนมนุษย์ได้ ถ้าไม่ตั้งสติให้ดี ก็อาจตกเป็นเหยื่อได้ ทั้งข่าว ข้อมูล ลวง บิดเบือน  Media Alert เป็นโครงการที่ต้องการแจ้งเตือนสังคมในการใช้สื่อและเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Media Alert จัดกิจกรรมเสวนาออนไลน์ เรื่อง Trends and Tweets นำเสนอว่าตอนนี้คนสนใจในการค้นหาอะไรในออนไลน์ และมีความคิดเห็น มีอารมณ์ ความรู้สึก อย่างไร ส่วนการเสวนาออนไลน์วันนี้ จะนำเสนอผลการศึกษา “สถานการณ์ข่าวปลอม (Fake News) ในสังคมไทยปี 2564 ซึ่งมีภาคีเครือข่ายที่ทำการตรวจสอบเรื่องนี้อยู่ 3 หน่วยงาน คือ ชัวร์ก่อนแชร์  Co Fact และศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กระทรวง DES

                สิ่งที่กองทุนพัฒนาสื่อฯ โดยงานการศึกษาครั้งนี้ทำคือ การไปดูว่าเคสที่ถูกส่งเข้าไปตรวจสอบใน 3 หน่วยงานนี้ มีโอกาสเป็นข่าวลวงหรือข่าวปลอมมากน้อยแค่ไหน โดยดูวิธีและเจตนาในการสื่อสารด้วย จาก 1,500 เคส มีกว่า 900 เคส หรือประมาณ 65% ที่เป็นข่าวปลอม โดยมีเคสที่เกี่ยวข้องกับโควิด 19 มากที่สุด ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อฯ กล่าวย้ำว่า “การรับมือกับข่าวลวงและข่าวปลอม ไม่สามารถใช้กฎหมายได้เพียงอย่างเดียวได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคประชาสังคมด้วย”

หลังการนำเสนอวีดิทัศน์สรุปสาระสำคัญของผลการศึกษา สันติชัย อาภรณ์ศรี บรรณาธิการ Rocket Media Lab ผู้แทนทีมงานศึกษาวิเคราะห์และจัดทำรายงาน ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ข่าวปลอม 908 ชิ้น ที่วิเคราะห์เป็นข้อมูลที่แชร์เป็นสาธารณะบนแพลตฟอร์มของแต่ละกลไก คือ หน้าเว็บไซต์หรือเฟซบุ๊ก ข้อจำกัดคือ มักเป็นข้อมูลสั้น ๆ ส่วนใหญ่เป็นข้อความกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่มีที่มาที่ไปชัดเจน ทำให้ยากลำบากในการสืบค้นและการวิเคราะห์องค์ประกอบของข้อมูล ในส่วนเจตนา พิจารณาจากองค์ประกอบข่าวเป็นหลัก เช่น การพาดหัว ข้อความ เนื้อข่าว ภาพ รูปแบบแพลตฟอร์มที่ปรากฏ และหาข้อมูลแวดล้อมเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา  การศึกษาครั้งนี้อ้างอิงจากข้อเสนอของ Claire Wardle ซึ่งในเรื่องเจตนามี 8 หมวด เมื่อทีมวิเคราะห์ข้อมูลแล้วเห็นควรเพิ่มเติมอีก 3 หมวด คือ ความเชื่อที่สืบต่อกันมา (belief) ความเข้าใจผิด(miss attention) การกระทำผิดพลาดอย่างขาดความตั้งใจ หรือ ขาดความรอบคอบ (error) และเหตุที่ไม่พบข้อมูลมุ่งร้าย เพราะไม่พบข้อมูลซึ่งมีลักษณะสำคัญ คือ การคุกคาม หรือการสื่อสารเพื่อความเกลียดชัง ในส่วนประเภทเนื้อหาข่าวปลอม ที่พบมากที่สุด คือ โควิด 19 และ สุขภาพ  นอกนั้นพบในสัดส่วนที่น้อยกว่า เช่น  เทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจ นโยบาย ส่วนที่พบน้อย คือ การเมือง วิทยาศาสตร์ เกษตร และที่ไม่พบเลย คือ การศึกษา วัฒนธรรม ประเด็นการเมืองส่วนใหญ่เป็นการ discredit เกี่ยวกับโควิด 19

คุณสันติชัย ให้ความเห็นด้วยว่า “ผลจากการศึกษาในครั้งนี้ ยังไม่สามารถสรุปภาพรวมหรือภูมิทัศน์ของข่าวปลอมได้ทั้งหมด เนื่องจากเป็นการศึกษาข่าวปลอมที่พบผ่านกลไกการตรวจสอบ 3 แพลตฟอร์มเท่านั้น และอาจต้องมีการศึกษากลไกอื่นเพิ่มเติมเพื่อให้เห็นภาพที่สมบูรณ์ขึ้น”

ทางทีม Media Alert นำโดย ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม ผู้เชี่ยวชาญ รักษาการแทนผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์ กล่าวว่า

งานครั้งนี้ เป็นการศึกษาข่าวปลอมจากภาคีเครือข่าย 3 หน่วยงาน หรือ แพล็ตฟอร์มวัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อสะท้อนสถานการณ์ข่าวปลอม ผ่านการทำงานของ 3 ภาคีเครือข่าย เพื่อให้เห็นปัญหาที่กลไกการตรวจสอบต้องประสบ และปัญหาหลัก ๆ ในการนำเสนอข่าวปลอม ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ เช่น การแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ประชาชนมีความกลัว ความหวาดระแวงในการใช้ชีวิต ทำให้ข่าวปลอมมีการแพร่ระบาดมากขึ้น ดังนั้น จึงต้องมีหน่วยงานมาทำงานเพื่อช่วยกันตรวจสอบและสร้างความรู้ให้ประชาชน ในการคัดกรองข่าวปลอมหรือข่าวบิดเบือน เพื่อลดผลกระทบจากการเผยแพร่ข่าวปลอมเหล่านี้

“กองทุนพัฒนาสื่อฯ ต้องการสร้างเครือข่ายและพันธมิตรในการรวมพลังและบูรณาการการทำงานตรวจสอบข่าวปลอม โดยไม่ได้จำกัดแค่ 3 ภาคีที่เราทำงานอยู่ด้วยตอนนี้เท่านั้น ตลอดจนยังพร้อมสนับสนุนงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยข่าวปลอมด้วย

คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์  ผู้จัดการศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท. กล่าวว่างานการศึกษาครั้งนี้ เลือกศึกษาในชิ้นงานที่มีการนำเสนอทางสาธารณะ ขณะที่ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์มีการตอบตรงถึงผู้ที่ถามมาในทุกประเด็น ประเด็นการเมืองมีความสำคัญ แต่เป็นเรื่องที่ต้องใช้ทรัพยากรทั้งคน เวลา เครื่องมือและเทคโนโลยีในการกลั่นกรอง เพื่อให้ผลการตรวจสอบไม่เป็นเครื่องมือทางการเมือง ถ้าพร้อมกว่านี้ ก็พร้อมตรวจสอบ  ในขณะที่เรื่องสุขภาพมีความสำคัญ เกี่ยวข้องกับความเป็นความตาย  และยืนยันได้ชัดเจนเชิงประจักษ์ 

วันนี้เป็นวันสำคัญของวงการ Fact-Checking ผลการศึกษาของ  Media Alert ครั้งนี้ ช่วยฉายให้เห็น area ที่ต้องทำเพิ่มหรือดำเนินการต่อ   ทำให้มองไปในอนาคตได้ว่าต้องเตรียมการด้านเทคโนโลยี ที่ต้องมีการพัฒนาระบบ ต้องจัดทำโปรแกรม ซึ่งใช้เวลา ต้องคิดล่วงหน้าเป็นปีสองปี เพื่อจัดการปัญหาที่จะพบเจอในอนาคต ในขณะที่ข่าวปลอมแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบรุนแรง

ในต่างประเทศ ในช่วงการเลือกตั้ง Fact-Checker จะรวมตัวกัน โดยแบ่งพื้นที่การทำงานตรวจสอบ เพื่อให้มีข้อมูลกลาง ในอนาคตอาจพบเห็นการทำงานแบบนี้ ในเหตุการณ์การเมืองใหญ่ ๆ ของบ้านเรา

“ผู้ทำการศึกษางานนี้ อาจเหมือนผม ที่ในบางครั้ง มีข้อจำกัด หาข้อสรุปไม่ได้ ในขณะที่ Fact Checker ต้องมีข้อสรุปบางอย่างให้สังคม ในงานการตรวจสอบข้อมูล ต้องเพิ่มความเท่าทัน ความสงสัยของประชาชน  ต้องทำให้ประชาชนร่วมเป็น Fact Checker รวมทั้ง สื่อต่างๆ และ Influencer หรือคนที่คนจำนวนมากฟัง กลไกสำคัญในงานการตรวจสอบข้อมูล คือ ความเข้มแข็งของประชาชน ที่ถ้าสงสัยในข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน ตัดแต่ง ก็ไม่ด่วนสรุป ไม่เผยแพร่ ในขณะที่ โควิด 19 ทำให้เห็นว่า ข้อมูลแปรเปลี่ยนได้ตามกาลเวลา คุณพีรพล กล่าวทิ้งท้าย

คุณสันติภาพ เพิ่มมงคลทรัพย์ รองผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่าการที่หน่วยงานภาครัฐ โดยกระทรวง DES ต้องเข้ามาดูแลเรื่องนี้เพราะมีเรื่องเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องและทำให้ข่าวปลอมแพร่กระจายได้เร็วขึ้น  ศูนย์ฯทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางและประสานงานนำส่งข้อมูลที่น่าสงสัย รวมทั้งข้อมูลที่ประชาชนส่งหรือแจ้ง เพื่อมอบหน่วยงานเกี่ยวข้องตรวจสอบ ศูนย์ฯใช้เครื่องมือรับฟังเสียงของสังคมในโลกออนไลน์ (Social Monitoring Tool) ในการตรวจสอบจากข้อมูลออนไลน์ที่ประชาชนเปิดสาธารณะ เพื่อสำรวจว่าประชาชนให้ความสนใจในข้อมูลใด หรือข้อมูลอะไรมีแนวโน้มในการถูกบิดเบือน

หน่วยงานเกี่ยวข้อง เมื่อรับข้อมูลไปตรวจสอบ ก่อนตัดสินว่าเป็นข้อมูลจริงหรือปลอมต้องดำเนินการอย่างมีหลักฐานชัดเจน หรือ พิสูจน์ได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ก่อนส่งผลการตรวจสอบพร้อมลงนามรับรอง ข้อมูลใดที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ชัดเจน  ก็จะยังไม่เผยแพร่ และถ้าพบว่าผลการตรวจสอบใด มีความผิดพลาด ศูนย์ฯจะชี้แจง แก้ไข เรื่องที่ศูนย์ฯจะไม่ตรวจสอบ คือ เรื่องส่วนบุคคล และความคิดเห็น รวมทั้งความคิดเห็นทางการเมือง แต่ก็มีการตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนโยบายรัฐบาล ที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง

“ผมมองว่าผลการศึกษาของ Media Alert ทำให้สามารถนำไปต่อยอดการทำงานต่อไปได้ และเห็นด้วยกับข้อเสนอให้ไม่ต้องแยกข้อมูลที่จะศึกษาว่ามาจากแพล็ตฟอร์มใด แต่นำข้อมูลที่พบมาศึกษาวิเคราะห์ในภาพรวม”

คุณสุภิญญา กลางณรงค์  ผู้ร่วมก่อตั้ง CoFact ประเทศไทย กล่าวว่าผลการศึกษาครั้งนี้มีประโยชน์มาก ทำให้ทั้ง 3 กลไกการตรวจสอบได้ทบทวนตัวเอง แต่หน่วยในการศึกษากลไกการตรวจสอบยังไม่ครอบคลุม คิดว่าควรศึกษาการทำงานของสำนักข่าว AFP ด้วย เพราะเป็นสำนักข่าวที่ตรวจสอบเรื่องข่าวลวงอย่างเข้มแข็ง

องค์กรสื่อในประเทศไทยยังไม่มีการจัดตั้งหน่วยงานการตรวจสอบข้อมูล ทั้งไทยพีบีเอส อสมท หรือสำนักข่าว “เดอะ” ทั้งหลาย ที่อาจร่วมกันจัดตั้งหน่วยตรวจสอบข้อมูล กรณี อสมท อาจจัดตั้งในสำนักข่าวไทย ส่วน Co Fact เป็นกลไกการตรวจสอบภาคประชาสังคม ที่ไม่มีนักข่าว ใช้วิธีตรวจสอบจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Source) สำหรับหน่วยตรวจสอบข่าวปลอมของภาครัฐ ในต่างประเทศจะไม่มี มีแต่ที่เป็นขององค์กรสื่อ ของภาคประชาสังคม

Fake News หรือ ข่าวปลอม เป็นวาทกรรมที่มีปัญหา เพราะทำให้สื่อเป็นแพะ เมื่อ 3 ปีที่แล้ว กองทุนพัฒนาสื่อฯ สนับสนุนการจัดงานที่แนะนำคำ Fake News หรือ ข่าวปลอม เป็นเรื่องน่ายินดี ที่วันนี้ ใช้คำ Fact – Checking เปลี่ยนคำข่าวเป็นข้อมูล หากจะไปไกลกว่าเรื่อง Fact – Checking คือ ต้องทำทั้งเรื่องการตรวจสอบ หรือ Verification และ Debunking หรือการหักล้างข้อมูลด้วยว่าทำไมข้อมูลเหล่านั้นไม่จริง 

ซึ่งทำยากกว่าการตรวจสอบเพื่อตัดสินว่า “จริง-ไม่จริง” เพราะต้องมีหลักฐานที่มากพอ หรือเป็นเรื่องที่เป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าความจริงมีหลายชุด แม้นักวิทยาศาสตร์ก็ให้ข้อมูลไม่ตรงกัน จึงต้องหาความจริงร่วม ในขณะที่บางข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง แต่มีการแพร่กระจายและวนซ้ำ ในต่างประเทศมีการศึกษาเชิงจิตวิทยา และแรงจูงใจในการสื่อสาร การแชร์ข้อมูล พบเหตุจากโครงสร้างความเหลื่อมล้ำของสังคม ของไทยก็เช่น วิธีต่าง ๆ ในการรักษามะเร็ง เพราะการรักษาทางการแพทย์หลัก ต้องใช้เงิน ใช้เวลา ที่มีคนบางกลุ่มเข้าไม่ถึง ข้อมูลพวกนี้จึงมีการแพร่กระจายและวนซ้ำ การศึกษาวิเคราะห์แรงจูงใจในการสื่อสาร การแชร์ข้อมูล อาจทำให้เข้าใจปัญหาสังคม

การตรวจสอบข้อมูลต้องใช้ข้อเท็จจริง ใช้คน และเครื่องมือร่วมกัน ไม่ต้องกลัวว่าจะต้องเจอข่าวปลอม เพราะเราต้องเจอแน่ ๆ สิ่งที่พวกเราต้องทำเพื่อรองรับโลกเสมือน คือ การรับมือและตรวจสอบ แต่สื่อต้องสู้กับการแข่งขันทางธุรกิจมากกว่า จึงเห็นว่าต้องให้ภาคประชาชนหรือประชาสังคมลุกมาทำงานเรื่องนี้ ต้องทำให้ Digital Skills เป็นทักษะระดับบุคคลและชุมชน ต้องพัฒนาประชาชนเป็น Fact Checker เพื่อรับมือกับปัญหา

“ตอนนี้ประเทศไทยยังไม่มีองค์กรใดเป็นสมาชิกเครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล (IFCN หรือ International Fact-Checking Network)  ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มีองค์กรเป็นสมาชิก IFCN แต่การจะเป็นสมาชิกต้องผ่านเกณฑ์คุณสมบัติ จึงเป็นวาระที่กองทุนพัฒนาสื่อฯ น่าจะสนับสนุนให้มีองค์กรตรวจสอบข้อมูลของไทยได้เป็นสมาชิก IFCN ที่อาจต้องมีการเพิ่มคน เพิ่มงาน  จึงอาจสนับสนุนโดยการพัฒนาเป็นองค์กร Non-Profit หรือเป็น Start Up

คุณพงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์ บรรณาธิการอาวุโส The MATTER  เริ่มด้วยการวิเคราะห์ว่า อาจถูกเชิญในฐานะสื่อเพื่อให้สะท้อนความเห็นต่อผลการศึกษานี้  ประเด็นที่เตรียมมานำเสนอ คือ “ใครจะตรวจสอบความน่าเชื่อถือของกลไกการตรวจสอบ”

ข้อแรกที่ไม่เห็นด้วย คือ ที่บอกว่าพบ 60% เป็นข่าวปลอม เพราะ sample น้อยและแต่ละกลไกมีข้อจำกัดในการตรวจสอบ กับอีกเรื่อง คือ การที่กล่าวว่า ทั้ง 3 กลไก ไม่ได้ตรวจสอบข่าวลวงทางการเมือง ทั้งที่มีการตรวจสอบ แต่เป็นเรื่องบางเรื่องที่เกี่ยวกับการเมือง  ขึ้นอยู่กับการนิยามคำว่า “การเมือง”

อีกประเด็น คือ มีเจตนาไม่ดีในการแชร์หรือส่งต่อข่าวปลอมหรือข่าวลวง  คุณพงศ์พิพัฒน์กลับเห็นว่า การแชร์ข่าวปลอมส่วนใหญ่มีเจตนาดีที่อยากให้คนรอบข้างได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ปัญหาข่าวปลอมจึงไม่ควรนำไปผูกกับคดีอาญา หรือ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์  เพราะจะรู้ได้อย่างไรว่าการแชร์ข่าวเหล่านั้นแชร์ด้วยเจตนาอะไร ถ้าไม่สามารถสืบค้นจนเจอว่าใครเป็นคนสร้างข่าวนั้น

“การตรวจสอบข้อมูล มิใช่เพื่อระบุว่า จริง-ไม่จริง แต่หากต้องพิจารณาในเชิงลึกถึงเจตนา รวมทั้งผลกระทบ ซึ่งต้องใช้เวลาในการพิสูจน์” เป็นอีกเหตุผลที่คุณพงศ์พิพัฒน์เสนอว่า ภาครัฐไม่ควรนำผลการตรวจสอบข้อมูล ไปผูกกับคดีอาญา หรือ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์  

 คุณพงศ์พิพัฒน์ อ้างถึงคำกล่าวของ ผจก.กองทุนพัฒนาสื่อฯ ที่ว่า “ใคร ๆ ก็เป็นสื่อได้” โดยเพิ่มเติมว่า ใคร ๆ ก็เป็นคนสร้างข่าวปลอมได้ ตามจำนวนประชากรที่สามารถสื่อสารออนไลน์ กลไกการตรวจสอบมากเท่าไร ก็ตรวจสอบไม่ทั่วถึง ไม่เท่าทัน  

“ เราต้องสร้างนิสัยหรือ DNA ให้ประชาชนมีความสามารถในการตรวจสอบข่าวปลอม รวมทั้งตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบมาแล้ว เพราะข่าวปลอมเป็นสงครามที่ไม่มีวันจบ”

คุณพงศ์พิพัฒน์ มีข้อเสนอต่อการเผยแพร่และเปิดเผยผลการตรวจสอบ ของ 3 กลไก Fact-Checking คือ

  • บอกเกณฑ์ที่เลือก-ไม่เลือกข่าว มาตรวจสอบ
  • บอกวิธี รวมทั้งเครื่องมือ ในการตรวจสอบ
  • แจ้งแหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ในการตรวจสอบทั้งหมด
  • มี Tracking Number ให้ติดตามว่าการตรวจสอบไปถึงไหนแล้ว
  • แสดงให้รู้ว่าทำผิดได้ ทักท้วงได้ พร้อมแก้ไข ทิ้งหลักฐานที่ทำผิดพลาด ไม่ลบออก

หากทุกกลไกการตรวจสอบ ทำหน้าที่ได้ดี ประชาชนจะเชื่อมั่นมากขึ้น

          ต่อข้อเสนอให้องค์กรสื่อ จัดตั้งกลไกการตรวจสอบ คุณพงศ์พิพัฒน์เล่าว่า ช่วงปี 2558 ช่วงก่อนการเกิด ชัวร์ก่อนแชร์ ในปีเดียวกัน มีองค์กรสื่อ พยายามทำเว็บไซต์ จับเท็จดอทคอม พบว่า ใช้คน ใช้เวลา ใช้พลังมาก พอปล่อยออกไป วาระเปลี่ยน คนไม่สนใจ ปัจจุบัน อาจมีองค์กรสื่อเพิ่มขึ้น แต่องค์กรสื่อปรับให้มีขนาดเล็กลง เพื่อลดต้นทุน การจัดตั้งหน่วยตรวจสอบ อาจเป็นไปได้ยาก แต่ก็เห็นความพยายามของสื่อในการตรวจสอบข้อมูลตามความถนัด ตามวาระและโอกาส และอยากให้ออกมาช่วยกันแก้ไขปัญหาเรื่องนี้มากขึ้น

สุดท้าย คุณพงศ์พิพัฒน์ มอบข้อเสนอต่องานการตรวจสอบข้อมูล และงานการศึกษาครั้งนี้

  • อยากให้ตรวจสอบจากสื่อหรือแหล่งที่มามากว่า 1 แหล่ง
  • เน้นการตรวจสอบข้อมูลพื้นฐาน ที่สามารถใช้ผลการตรวจสอบได้นานระยะเวลาหนึ่ง
  • ผลักดันให้ภาครัฐทำข้อมูลที่เปิดเผย (Open Data) มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องโควิด 19

          คุณพงศ์พิพัฒน์ จบท้ายด้วยคำถามว่า “การวิจารณ์หน่วยงานรัฐ – การเสนอความจริงครึ่งเดียวการโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) ถือเป็นข่าวปลอมหรือไม่

ผศ.ดร. วรัชญ์ ครุจิต กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อสารมวลชน กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า คุณค่างานการศึกษานี้ คือ การตรวจสอบกลไกการตรวจสอบ ที่ทั้ง 3 กลไกมีระบบและความตั้งใจที่ดี ข้อเสนอจากการศึกษาเป็นเชิงกัลยาณมิตร  อยากให้มีข้อเสนอว่าแต่ละกลไกที่มีความต่างคือ ชัวร์ก่อนแชร์เป็นภาคสื่อ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมเป็นภาครัฐ Co Fact เป็นภาคประชาชน  มีจุดอ่อน จุดแข็ง ต่างกันอย่างไร การจะประสานพลัง หรือ synergy ต้องทำอย่างไร หรือองค์สื่ออื่น ๆ สามารถเข้ามาร่วมได้ อย่างไร

ในฐานะที่เป็นอาจารย์ อาจเสนอในเชิงวิชาการมากหน่อย สิ่งแรก คือ พบการเข้าใจผิด (Misleading) เล็กน้อย คือ อาจต้องระวังเรื่องการใช้ภาษาในการสรุปว่าไม่มีข้อมูลมุ่งร้าย (Malinformation) ด้วยไม่ได้อ่านรายงานฉบับสมบูรณ์ แต่งานการศึกษานี้เป็น Content analysis และ Meta analysis จึงควรมีการนิยาม  มีการลงรหัสข้อมูลในการศึกษา (Coding) ที่ชัดเจน ครบถ้วน เช่น วารสารศาสตร์คุณภาพต่ำ คือ อะไร เป็นสำนักข่าวแบบไหน  ไม่จำเป็นต้องแยกตารางข้อมูลของ 3 แพล็ตฟอร์มที่ศึกษาแต่ควรแยกตามประเภทของสื่อ ถ้าจะมีการศึกษาต่อไป ควรพัฒนาเกณฑ์การตรวจสอบที่เหมาะสมกับบริบทประเทศไทยด้วย

ในประเด็นเรื่องเจตนา ที่บอกว่าเป็นการเผยแพร่ด้วยเจตนาที่หวังดี คืออะไร แล้วจะตรวจ หรือ Detect เจตนาที่ไม่ดีในการเผยแพร่ได้อย่างไร หรือการบอกว่าเฟคนิวส์อยู่ใน FB มากสุดแต่ไม่มีข้อมูลจาก Twitter หรือเพราะเห็นเป็นข้อมูลส่วนบุคคล เลยไม่ได้ศึกษา แต่ในความเป็นจริง Twitter มีบทบาทในการเผยแพร่ข่าวปลอมพอสมควร และลักษณะข่าวปลอมของไทย ก็มีลักษณะเฉพาะตัว หากจะศึกษาต่อก็ต้องดูส่วนนี้ด้วย

ผศ.ดร. วรัชญ์ ชี้แนะเพิ่มเติมว่า “การแก้ไขเรื่องปัญหาข่าวปลอมไม่ยาก คือ ต้องเผยแพร่ข้อเท็จจริงออกไป แต่ความยากคือระยะเวลาที่เผยแพร่ข้อเท็จจริงไปหักล้าง ต้องรวดเร็ว เพื่อสร้างแรงเสียดทานให้ข่าวปลอมเกิดความหนืด ไม่แพร่กระจายเร็ว

ขอให้กำลังใจทั้ง 3 แพล็ตฟอร์ม รวมทั้งผลงานการศึกษาที่เป็น “สารตั้งต้นที่ดี” ในการทำงานเรื่องนี้ เพื่อมาตรฐานงานตรวจสอบข้อมูล และ เพื่อมีข้อมูลที่ตรวจสอบแล้ว เข้าถึงประชาชนมากขึ้น ทุกคนต้องช่วยกัน ทุกคนสามารถเป็น Fact Checker ได้ แม้อาจจะโดนคนรอบข้างมองแปลก ๆ เวลาไปทักท้วง แต่เราก็ต้องช่วยกัน

ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม ผู้เชี่ยวชาญ รักษาการแทนผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์ กล่าวปิดงานเสวนา และระบุว่า งานโครงการศึกษาวิจัยสภาพการณ์สื่อและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อ หรือ Media Alert นอกจากจะดำเนินงานการศึกษาวิเคราะห์สื่อในประเด็นที่สำคัญหรือเป็นที่สนใจของสังคม ด้วยหลักวิชาการที่เชื่อถือได้แล้ว ยังมีการทำงานศึกษาวิจัยร่วมกับภาคีต่าง ๆ ที่มีประสบการณ์และความสนใจในประเด็นสื่อ เช่น งานการศึกษากลไก Fact-Checking ครั้งนี้ เพื่อรายงานผลการศึกษาที่เชื่อว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคม  ผ่านช่องทางการสื่อสารของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ รวมทั้งเพจของ Media Alert เพื่อบูรณาการและผสานพลังการขับเคลื่อนกลไกการตรวจสอบข่าวปลอมของประเทศไทยทั้ง 3 แพลตฟอร์ม และเครือข่ายอื่น ๆ ในเชิงประเด็นและเชิงพื้นที่ต่อไป

“ขอขอบคุณวิทยากร และผู้เข้าร่วมกิจกรรมทางออนไลน์ทุกคน ความคิดเห็นของทุกท่านในวันนี้ ทางโครงการ Media Alert และกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จะนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดทิศทางการทำงานและการรายงานผลงานต่อสังคม ด้วยความเชื่อมั่นว่าเราทุกคนมีส่วนในการร่วมสร้างนิเวศสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์

มหกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ก้าวสู่ปีที่ 7

มหกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ก้าวสู่ปีที่ 7  เวทีที่รวบรวมผลงาน ความคิดสร้างสรรค์ หลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรม งานวิจัย และนวัตกรรมสื่อรูปแบบต่าง ๆ จากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ภาคีเครือข่าย และผู้รับทุน พบผู้ผลิตผลงานตัวจริงมากว่า 50 ผลงานสร้างสรรค์ เต็มอิ่มกับกิจกรรมการแสดงตลอด 3 วันและเสวนาที่จะเติมแรงบันดาลใจให้คุณ

วันที่ 3-5 ธ.ค. 64 ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน  เวทีใหญ่ ชั้น 1 และ เวทีย่อย ชั้น 2 

แสกนคิวอาร์โค๊ดหรือคลิ๊กลิงก์ลงทะเบียนร่วมงาน เพื่อรับของที่ระลึกได้แล้ววันนี้
ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน

กองทุนสื่อ ร่วมกับ สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และองค์กรเอกชนมอบรางวัลข่าวดิจิทัลยอดเยี่ยม ประจำปี 2564 (Digital News Excellence Awards 2021)

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และองค์กรเอกชนมอบรางวัลข่าวดิจิทัลยอดเยี่ยม ประจำปี 2564 (Digital News Excellence Awards 2021)

(28 พ.ย. 64) ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มอบ นางวรินรำไพ ปุณย์ธนารีย์ รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมมอบรางวัลดีเด่น และชมเชย ประเภทข่าวออนไลน์จากประเด็นในสื่อสังคมออนไลน์ยอดเยี่ยม ในงานดังกล่าว ร่วมกับสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และ บมจ. ซีพี ออลล์ จำกัด, กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), Quantum-SouthAsia, ธนาคารออมสิน, บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 3 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (อาคาร 14) จังหวัดปทุมธานี

เพื่อส่งเสริมให้สื่อมวลชนออนไลน์หันมาให้ความสำคัญกับการผลิตข่าวดิจิทัลที่มีคุณภาพมากขึ้น ให้กำลังใจสื่อออนไลน์ นักข่าวดิจิทัล กองบรรณาธิการข่าวออนไลน์ ที่ให้ความสำคัญในการผลิตข่าว ในเชิงลึกสร้างสรรค์และจรรโลงสังคม อีกทั้งเพื่อยกระดับคุณภาพข่าวที่นำเสนอผ่านสื่อออนไลน์

สำหรับผลงานที่ได้รับรางวัล ประกอบด้วย

1. ประเภทข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวออนไลน์เชิงสืบสวนยอดเยี่ยม

– รางวัลยอดเยี่ยม 1 รางวัล
ชื่อข่าว: กระชากหน้ากาก ‘บิ๊ก อคส.-เอกชน’
www.isranews.org/article/isranews-news/103695-investigative00-2-113.html 
ชื่อองค์กร: สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
www.isra.or.th

– รางวัลชมเชย 2 รางวัล
ชื่อข่าว: ร่วมมือเพจต้องแฉ สกัดทุจริตอบต.ราชาเทวะ
www.isranews.org/article/isranews-news/99446-investigative063-9.html 
ชื่อองค์กร: สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
www.isra.or.th

ชื่อข่าว: ทะลวงจัดซื้อรถบัสทหาร–รถทำอาหาร ปภ
www.isranews.org/article/isranews/94690-investigative063-2.html 
ชื่อองค์กร: สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
www.isra.or.th

 

2. ประเภทข่าวออนไลน์จากประเด็นในสื่อสังคมออนไลน์ยอดเยี่ยม

– รางวัลดีเด่น 1 รางวัล
ชื่อข่าว: ‘เส้นด้าย’ กับคำเตือนก่อนสาธารณสุขจะล่มสลาย
www.the101.world/zendai-covid19 
ชื่อองค์กร: บริษัท ดิ วันโอวัน เปอร์เซนต์ จำกัด
www.the101.world

– รางวัลชมเชย 2 รางวัล
ชื่อข่าว: รายงานพิเศษชุด รับจ้างทําการบ้าน
ชื่อองค์กร: องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส)
www.thaipbs.or.th

ชื่อข่าว: ซีรีส์คดี ผกก.โจ้
www.thairath.co.th/scoop/theissue/2176965 
www.thairath.co.th/scoop/theissue/2178906 
www.thairath.co.th/scoop/theissue/2180203 
ชื่อองค์กร: บริษัท เทรนด์ วีจี 3 จำกัด
www.thairath.co.th

 

3. ข่าวออนไลน์ส่งเสริมสังคมยอดเยี่ยม

– รางวัลดีเด่น 1 รางวัล
ชื่อข่าว: ยังไม่ทันตั้งไข่ เด็กไทยก็ถูกทอดทิ้งจากรัฐ เมื่อเงินอุดหนุนเด็กเล็กไปไม่ถึงทุกคน
www.the101.world/child-welfare-documentary 
ชื่อองค์กร: บริษัท ดิ วันโอวัน เปอร์เซนต์ จำกัด
www.the101.world

– รางวัลชมเชย 2 รางวัล
ชื่อข่าว: สูตรแฮปปี้ วัย 80 ต้องมีฟัน 20 ซี่
www.thairath.co.th/spotlight/fun 
ชื่อองค์กร: บริษัท เทรนด์ วีจี 3 จำกัด
www.thairath.co.th

ชื่อข่าว: Deepfake คลิปปลอมสุดเนียนที่สร้างจาก A.I. จะแยกแยะยังไงว่าเป็น “ข่าวปลอม”
ชื่อองค์กร: บริษัท เนชั่น ดิจิทัล คอนเทนท์ จำกัด
www.springnews.co.th

 

4. ประเภทข่าวออนไลน์ที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวีดีโอยอดเยี่ยม

– รางวัลยอดเยี่ยม 1 รางวัล
ชื่อข่าว: ภารกิจในวาระสุดท้าย การขนร่างผู้เสียชีวิตในยุค COVID-19
www.the101.world/death-in-covid-19-era 
ชื่อองค์กร: บริษัท ดิ วันโอวัน เปอร์เซนต์ จำกัด
www.the101.world

– รางวัลชมเชย 1 รางวัล
ชื่อข่าว: จะเป็นอย่างไรหากรถเมล์ร้อนหายไป ?
https://news.thaipbs.or.th/content/298702 
ชื่อองค์กร: องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส)
www.thaipbs.or.th

5. ประเภทข่าวที่นำเสนอในรูปแบบอินโฟกราฟิกยอดเยี่ยม

– รางวัลยอดเยี่ยม 1 รางวัล
ชื่อข่าว: เรือคลองสุเอชใหญ่แค่ไหน ตึกสูงสุดในประเทศไทยยังเทียบไม่ติด
www.facebook.com/SpringNewsonline/posts/10158043950785841 
ชื่อองค์กร: บริษัท เนชั่น ดิจิทัล คอนเทนท์ จำกัด
www.springnews.co.th 

– รางวัลชมเชย 2 รางวัล
ชื่อข่าว: สรุปไทม์ไลน์เก้งเผือก
https://bit.ly/3CRH4ee 
ชื่อองค์กร: สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
www.isra.or.th 

ชื่อข่าว: ถอดถอน “ทรัมป์” ซ้ำ ครั้งที่ 2
www.facebook.com/SpringNewsonline/photos/a.437909280840/10157879646170841/?type=3 
ชื่อองค์กร: บริษัท เนชั่น ดิจิทัล คอนเทนท์ จำกัด
www.springnews.co.th 

6. ประเภทภาพข่าวออนไลน์ยอดเยี่ยม

– รางวัลดีเด่น 1 รางวัล
ชื่อข่าว: ชาวเมียนมาจดเทียนไว้อาลัย
www.springnews.co.th/news/807184 
ชื่อองค์กร: บริษัท เนชั่น ดิจิทัล คอนเทนท์ จำกัด
www.springnews.co.th

– รางวัลชมเชย 2 รางวัล
ชื่อข่าว: ลูกคลื่นถนน
www.facebook.com/PPTVHD36/posts/5671069162910816 
ชื่อองค์กร: บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง
www.pptvhd36.com

ชื่อข่าว: กัดไม่ปล่อย
www.facebook.com/PPTVHD36/photos/pcb.5359703720714030/5359701524047583 
ชื่อองค์กร: บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง
www.pptvhd36.com/news

เวทีเสวนายิ้มกระจาย “นิเวศสื่อดีพื้นที่เรียนรู้ @อุตรดิตถ์ติดยิ้ม” ครั้งที่ 4

เวทีเสวนายิ้มกระจาย “นิเวศสื่อดีพื้นที่เรียนรู้ @อุตรดิตถ์ติดยิ้ม” ครั้งที่ 4

(27 พ.ย. 64) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ สำนักกิจกรรมกิ่งก้านใบ องค์กรสาธารณประโยชน์ที่ดำเนินงานด้านการพัฒนาสื่อและกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว เพื่อส่งเสริและพัฒนาให้เกิดกลไลและกระบวนการเฝ้าระวังและรู้เท่าทันสื่อ ภายใต้โครงการนิเวศสื่อสร้างสรรค์ “อุตรดิตถ์เมืองเท่าทัน”

โดยมีกิจกรรมที่กำลังเกิดขึ้นตลอดเดือนพฤศจิกายน 2564 คือเทศกาล “ยิ้มกระจาย” สื่อดี พื้นที่เรียนรู้ @อุตรดิตถ์ติดยิ้ม ซึ่งเป็นการนำเสนอผลการดำเนินงานสู่สาธารณะ

ในการจัดเทศกาล “ยิ้มกระจาย” สื่อดี พื้นที่เรียนรู้ @อุตรดิตถ์ติดยิ้ม มีกิจกรรมที่สำคัญ ประกอบด้วย
กิจกรรมห้องเรียนยิ้มกระจาย 20 ครั้ง กิจกรรมยิ้มกระจาย To School 10 ครั้ง และมีกิจกรรมเสวนายิ้มกระจาย 4 ครั้ง จัดขึ้นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ดังนี้

ครั้งที่ 1 ยำสื่ออุตรดิตถ์ ปรุงคุณค่าสู่สาธารณะ (ผู้ร่วมเวที : ทีมผู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์ในพื้นที่อุตรดิตถ์)
ครั้งที่ 2 เสวนาปาร์ตี้ พื้นที่ดี๊ดีของวัยรุ่น (ผู้ร่วมเวที : ทีมเยาวชนนักผลิตสื่อสร้างสรรค์ในพื้นที่)
ครั้งที่ 3 วงคุยครู-คลู สร้างสรรค์การเรียนรู้เท่าทัน (ผู้ร่วมเวที : ครูนักจัดกระบวนการเรียนรู้เท่าทัน)
ครั้งที่ 4 สื่อดี พื้นที่เรียนรู้ อุตรดิตถ์ติดยิ้ม (ผู้ร่วมเวที : เครือข่ายองค์กรภาคีที่เกี่ยวข้องในพื้นที่อุตรดิตถ์)