เลือกหน้า

กองทุนสื่อ จัดงาน ‘มหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข’ 7- 8 พย. 65 ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)

กองทุนสื่อ จัดงาน ‘มหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข’

7- 8 พย. 65 ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เปิดเผยว่า กองทุนฯ ได้ร่วมกับ กระทรวงวัฒนธรรม และ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร จัดงาน “มหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข”  ระหว่าง 7 – 8 พฤศจิกายน 2565 นี้

โดยเป็นการเปิดท่องโลกพระพุทธศาสนา ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออนไซต์ Walk rally โดยประชาชนทุกเพศทุกวัย ได้เข้าถึงคำสอนพระรัตนตรัย นำไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข

ทั้งนี้ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร เมตตา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม , รองประธานกรรมการ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส

  • สำหรับ ‘มหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข’มีทั้งในรูปแบบ ออนไซต์และออนไลน์ อาทิ
    • การเสวนา พูดคุย และการขับร้องบทเพลง

    พระสุธีวชิรปฏิภาณ (วีรพล วีรญาโณ ป.ธ.3) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร

    นที เอกวิจิตร (อุ๋ย บุดดาเบลส)  ศิลปิน นักร้อง

    ธนัชศลักษณ์ ฮัดสัน (อลิศ The Golden Song)  นักร้อง นักแสดง

    อนันต์ อาศัยไพรพนา (นันต์ ไมค์ทองคำ)   ศิลปิน นักร้อง

    นิรันดร์ โอภาสธัญกร (ต้อม) นักร้อง นักแสดง

    – ผู้รับทุนจากกองทุนฯ

    • กิจกรรม Walk rally สายบุญไหว้พระรัตนตรัย จำนวน 9 จุด
    • นิทรรศการ “พุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข” องค์ความรู้ด้านพระพุทธศาสนา
    • การสาธิตการทำกระทง กิจกรรมเสริมในวันลอยกระทง
    • Virtual Exhibition “มหกรรมพุทธธรรม​นำสื่อสร้างสันติสุข” ในรูปแบบ Metaverse

    เป็นการนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนาไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ และถือเป็นการรวบรวมข้อมูลด้านพุทธธรรม พุทธศาสนา

 

ทั้งหมดสืบค้นในรูปแบบ Big Data องค์ความรู้ด้านศาสนาพุทธอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่พุทธศาสนิกชน เด็กและเยาวชนที่สนใจศึกษาและเข้าถึงสื่อดี ๆ  ทางพระพุทธศาสนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ขยายช่องทางการสื่อสารและสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สาระสำคัญเกี่ยวกับสื่อพระพุทธศาสนา และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ผลิตสื่อ กลุ่มเป้าหมายผลิตสื่อ ที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์

ดร.ธนกร กล่าวว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีแนวความคิดที่จะสร้างแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่อันเปรียบเสมือน Big Data ของสื่อทางพระพุทธศาสนา เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเข้าถึงได้โดยง่ายอย่างกว้างขวาง จึงเกิดเป็นแนวความคิดในการสร้างสรรค์งานแบบผสมผสาน “พุทธธรรมนำสื่อสันติสุข” ทั้งในรูปแบบกิจกรรมภาคพื้น และกิจกรรมออนไลน์ในรูปแบบ Metaverse เสมือนจริงหรือ Virtual Event เพื่อเปิดประสบการณ์ผู้เข้าชมการเรียนรู้พุทธธรรมในรูปแบบต่าง ๆ

โดยแยกหมวดหมู่ทั้งสาระและบันเทิงไว้อย่างครบถ้วน เสมือนได้ท่องโลก Exhibition ขนาดใหญ่เกี่ยวกับพุทธศาสนาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อให้สอดรับกับนโยบายภาครัฐที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้สถาบันทางสังคมร่วมปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดี

รวมทั้งการทำนุบำรุงศาสนา การอนุรักษ์ ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย และการยอมรับประเพณี วัฒนธรรมที่ดีที่มีความหลากหลาย เพื่อสร้างสังคมให้มีคุณภาพ คุณธรรม และอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

ผู้จัดการกองทุนสื่อ ลงนามบันทึกข้อตกลง ร่วมขับเคลื่อนนวัตกรรมและกำลังคนเพื่อสื่อสร้างสรรค์ผลักดันผลงานไทยสู่สากล

(28 ต.ค. 2565) : ณ อาคารอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ สอวช. หน่วยบริหารและจัดการทุน ด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม บพค.

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์  , สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)  , สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ  , สถาบันอิศรา , มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย , สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  , สมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย , สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ , สมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย)  และ สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์เเห่งชาติ  ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การขับเคลื่อนนวัตกรรมและกำลังคนเพื่อสื่อสร้างสรรค์  โดย ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ลงนามร่วมกับตัวแทนหน่วยงานภาคีด้วยตนเอง

ทั้งนี้ ความร่วมมือของหน่วยงานดังกล่าว วัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทยด้วยกำลังคน การวิจัยและนวัตกรรม

โดยการสนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะ ของบุคลากร นวัตกรรม และระบบนิเวศเพื่อสื่อสร้างสรรค์ สำหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์และอุตสาหกรรมสื่อ เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและผลักดันผลงานไทยสู่สากลต่อไป

คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประชุมครั้งที่ 10/2565

วันที่ 27 ตุลาคม 2565 เวลา 10.30 น. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ครั้งที่ 10/2565

โดยมี นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รองประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ประธานอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ร้อยโท ดร.ธนกฤษฏ์ เอกโยคยะ , ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เข้าร่วมประชุมผ่านระบบเครือข่ายการประชุมทางไกล (Microsoft team)

ณ ศูนย์ประชุมกระทรวงวัฒนธรรม ชั้น 8 อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม

ภาพประกอบจาก : กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

กองทุนสื่อ ระดมพลังต้าน “Hate Speech” จัดประกวดคลิปวิดีโอสร้างภูมิคุ้มกันประทุษวาจา “หยุดเหยียด เกลียดศาสนา พูดร้ายทำลายกัน”

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เร่งสร้างภูมิคุ้มกันสังคมไทย ร่วมกันต้านประทุษวาจาที่เกี่ยวข้องกับศาสนา หวั่นการ “พูดร้าย ทำลายกัน” บานปลายสู่ความรุนแรง เน้นป้องกันด้วยการเสริมสร้างความตระหนักรู้ เท่าทันและเฝ้าระวังผ่านงานประกวดผลิตคลิปรณรงค์ลด Hate Speech ในหัวข้อ “หยุดเหยียด เกลียดศาสนา พูดร้ายทำลายกัน” ที่เปิดรับผลงานจากทั้งนักเรียน นักศึกษา เครือข่ายศาสนาและประชาชนทั่วประเทศ ชิงรางวัลรวมมูลค่า 75,000 บาท

25 ตุลาคม 2565 – กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดงานแถลงข่าวและกิจกรรม Workshop สำหรับการประกวดคลิปรณรงค์การประทุษวาจาทางด้านศาสนากับโครงการ TMF Stop Hates Speech Clip Contest ณ โรงแรมพูลแมน คิงเพาเวอร์ กรุงเทพ

เพื่อยกระดับการตระหนักรู้ปัญหา “พูดร้าย ทำลายกัน” ในสังคมไทย พร้อมขับเคลื่อนการรณรงค์ต้านประทุษวาจาในสังคมออนไลน์อย่างกว้างขวาง 

การประกวดในครั้งนี้เปิดรับผลงานจากนักเรียน นักศึกษา เครือข่ายศาสนาและประชาชนทั่วไปในหัวข้อ “หยุดเหยียด เกลียดศาสนา พูดร้ายทำลายกัน” โดยมีเงินรางวัลจำนวน 30,000 บาทให้แก่ผู้ชนะเลิศ 20,000 บาทสำหรับรองชนะเลิศอันดับ 1 และ 10,000 บาท สำหรับรองชนะเลิศอันดับ 2 รวมถึงยังมีรางวัลชมเชยอีก 3 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาทให้แก่ผู้เข้าแข่งขันที่มีผลงานโดดเด่น 

ดร.ธนกร  ศรีสุขใส  ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า การจัดประกวดในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับประทุษวาจาและกระตุ้นให้เกิดการเฝ้าระวังปัญหาดังกล่าวในสังคมไทย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางสื่อออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, อินสตาแกรม หรือยูทูปที่เปิดกว้างให้คนทั่วไปสามารถเปลี่ยนสถานะเป็นผู้ส่งสารได้ตลอดเวลา

‘งานวิจัยระบุว่า “ศาสนา” เป็นฐานความเกลียดหนึ่งที่พบบ่อยในวาทะสร้างความเกลียดชัง ขณะที่สื่อใหม่ (New Media) รวมถึงโซเชียลมีเดีย  (Social Media) มีส่วนส่งเสริมให้การสื่อสารความเกลียดชังเกิดขึ้นได้ง่ายและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ประทุษวาจามิได้เกิดขึ้นในรูปแบบของคำพูดเท่านั้น หากแต่อาจยังแพร่หลายอยู่ในรูปแบบของข้อความ ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพกราฟิก ภาพยนตร์ เพลงหรือสัญลักษณ์อื่น ๆ

ที่สำคัญ ประทุษวาจาหรือวาทะสร้างความเกลียดชังอาจมิได้อยู่ในรูปแบบการด่า ใช้ภาษาหยาบคาย รุนแรง ดูถูก เหยียดหยามเท่านั้น แต่บ่อยครั้งมุ่งเน้นสร้างความเข้าใจผิด นิยามผู้อื่นในเชิงลดคุณค่า สื่อสารแบบที่สร้างความรู้สึกแบ่งฝักแบ่งฝ่าย รวมถึงสื่อความหมายปฏิเสธการอยู่ร่วมกัน ในบางกรณี การกระทำดังกล่าวร้ายแรงถึงขั้นยุยงปลุกปั่นสนับสนุนให้ใช้ความรุนแรงกับผู้ที่แตกต่างและระดมกำลังไล่ล่า ขู่คุกคามหรือลงทัณฑ์ทางสังคม’

นางสาวพัชรพร พงษ์ทัดศิริกุล ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ กล่าวว่า การป้องปรามปัญหาประทุษวาจา จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจและตระหนักรู้ในสังคมว่าประทุษวาจาคืออะไร มีรูปแบบอย่างไรและมีผลเสียอย่างไร ตลอดจนส่งเสริมให้ยอมรับความแตกต่างในสังคมผ่านการรณรงค์และบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชนและประชาสังคม

‘แม้ว่าประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ แต่ยังมีผู้นับถือศาสนาอื่น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องยอมรับความหลากหลายทางศาสนา เข้าใจความแตกต่างของแต่ละศาสนา เคารพความเชื่อทางศาสนาของผู้อื่นและหลีกเลี่ยงการสื่อสารที่มุ่งเน้นแบ่งแยกและประทุษวาจา’

อย่างไรก็ตาม กองทุนสื่อ เชื่อว่าการสื่อสารรณรงค์ต้านการพูดร้าย ทำลายกัน จะมีบทบาทสำคัญในการลดและป้องกันวาทะสร้างความเกลียดชังที่มีรากฐานมาจากศาสนา โดยทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการป้องกันด้วยการไม่ผลิต ไม่เผยแพร่ต่อวาทะที่สร้างความเกลียดชัง หากพบวาทะลักษณะดังกล่าว ให้กล่าวตักเตือนหรือแจ้งองค์กรที่กำกับดูแล แสดงความเห็นอกเห็นใจผู้ที่ตกเป็นเหยื่อวาทะดังกล่าว ไม่โต้ตอบด้วยอารมณ์ เมื่อจำเป็นต้องอธิบาย ให้ชี้แจงด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริง การถกเถียงใด ๆ ควรเป็นไปตามเหตุผลและสันติวิธี

 

โดย กองทุนสื่อ เปิดรับสมัครผลงานจากทั่วประเทศ ผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวดสามารถส่งผลงานได้ทาง https://forms.gle/b82xbDmrbqLp6qCn6  หรือ สแกน QR Code บน Poster ประชาสัมพันธ์ เพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 25 พฤศจิกายนนี้

 

โดยการประกาศผลรางวัลจะมีขึ้นในวันที่ 20 ธันวาคม 2565 หรือติดตามรายละเอียดข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Facebook กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

คู่มือการพัฒนาและส่งเสริมธรรมาภิบาลในภาคเอกชน

ด้วยสำนักงาน ป.ป.ช. ได้จัดพิมพ์หนังสือ “คู่มือการพัฒนาและส่งเสริมธรรมาภิบาล ในภาคเอกชน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนและขยายผลการพัฒนาและส่งเสริมธรรมาภิบาลคู่สัญญา หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนพัฒนากลไกและเพิ่มความโปร่งใสในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่มีเอกชนเป็น คู่สัญญา รวมถึงเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ และประชาชนผู้มา ติดต่อราชการ