28 ธันวาคม วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
28 ธันวาคม
วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
.
วันคล้ายวันปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เเห่งกรุงธนบุรี
ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
เพื่อเทิดพระเกียรติวีรกษัติรย์ผู้ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทย
28 ธันวาคม
วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
.
วันคล้ายวันปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เเห่งกรุงธนบุรี
ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
เพื่อเทิดพระเกียรติวีรกษัติรย์ผู้ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทย
(26 ธันวาคม 2565) ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยเเละสร้างสรรค์ พร้อมคณะผู้บริหาร เเละเจ้าหน้าที่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยเเละสร้างสรรค์ เข้าร่วมพิธีบรรพชาอุปสมบทนาคในพระบรมราชานุเคราะห์ 99 รูป เพื่อถวายพระกุศลเเด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
ณ พระอุโบสถวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก กรุงเทพฯ
( 16-17 ธันวาคม 2565) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดกิจกรรมบำเพ็ญพระราชกุศลกิจกรรมทำดีเพื่อพ่อ “เราทำความดีด้วยหัวใจ”
นำโดยเจ้าหน้าที่และบุคลากรของสำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ร่วมกันบริจาคสิ่งของไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า สมุด-หนังสือ และของใช้อุปโภค-บริโภคต่างๆ โดยสำนักงานได้บริจาคให้กับมูลนิธิบ้านนกขมิ้น ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2532 โดย Mr.Erwin Groebli ซึ่งเป็นมิชชั่นนารีชาวสวิตเซอร์แลนด์
โดยมีวิทยากรจากองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง นางสาวสุธาสินี ชัยเขื่อนขันธ์ และ นางสาวสุกัญญา อุณรหิต เป็นวิทยากรในการประสานงานให้ความรู้และอำนวยความสะดวกในการศึกษาดูงาน
เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสำนักงานได้ร่วมกันทำยาดมสมุนไพร โดยมี นางอาภรณ์ พานทอง ผู้นำชุมชนบางน้ำผึ้งในเป็นวิทยากรสอนทำยาดมสมุนไพร และได้มีการทำขนมถ้วย ผ้ามัดย้อม และธูปสมุนไพรไล่ยุง รวมทั้งได้เดินทางไปศึกษาดูงานนิทรรศการ “ร้อยเป็นเรื่องเมืองปากน้ำ” ณ หอชมเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
ณ มูลนิธิบ้านนกขมิ้น กรุงเทพมหานคร และ ชุมชนบางน้ำผึ้งใน จังหวัดสมุทรปราการ
กองทุนสื่อ-เเพทยสภา จับมือร่วมมือทางวิชาการ พัฒนาองค์ความรู้
และพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารด้านสุขภาพที่ถูกต้องเเละปลอดภัย
สนับสนุนการจัดหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมทักษะความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อทางด้านสุขภาพ
(21 ธ.ค. 65) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ แพทยสภา ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการขับเคลื่อนพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมจริยธรรมสื่อ เพื่อสร้างระบบนิเวศสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อร่วมกันป้องกันและปราบปรามการใช้สื่อสุขภาพอย่างไม่ถูกต้อง และพัฒนาการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพที่ถูกต้อง ครบถ้วน และเสนอแนะแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพที่เป็นประโยชน์ให้แก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย
ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า “กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์มีภารกิจส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัย อบรม พัฒนาองค์ความรู้และการสร้างนวัตกรรมด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ แพทยสภา คือ หมุดหมายที่สำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพที่ถูกต้องให้กับประชาชน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทางด้านสุขภาพและสามารถดูแลตนเองได้ ฉะนั้นคุณูปการที่จะเกิดขึ้นจากการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันในครั้งนี้ คือการที่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จะทำหน้าที่สนับสนุนการจัดหลักสูตรการอบรม เพื่อความรู้ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาสื่อทางด้านสุขภาพ”
“หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการร่วมมือกันในครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการพัฒนาสื่อเท่านั้น
แต่จะเป็นการพัฒนาสุขภาพของคนในสังคมด้วย”
พล.อ.ท.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวถึงเจตนารมณ์ในการร่วมมือกันในครั้งนี้ว่า “การร่วมมือกันในครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล และการช่วยเหลือกันทางวิชาการ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ และพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารด้านสุขภาพที่ถูกต้อง ปลอดภัย รวมไปถึงการสนับสนุนการจัดหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อเสริมทักษะความรู้ความเข้าใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสื่อทางด้านสุขภาพ และยกระดับประสิทธิภาพของบุคลากรในสายวิชาชีพเวชกรรม ให้มีความรู้ ความสามารถที่หลากหลาย รอบด้าน เป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนงานด้านสาธารณสุขของประเทศ และก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยอย่างมั่นคง”
ด้าน ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา กล่าวว่า “ในนามของแพทยสภาต้องขอขอบคุณกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาการสื่อสาร
ด้านสุขภาพที่ถูกต้อง สร้างสรรค์ และปลอดภัย เชื่อมั่นว่า ข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ จะเปิดโอกาสให้ทั้งสองหน่วยงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลที่ประโยชน์ และให้การช่วยเหลือกันทางวิชาการ เพื่อพัฒนาการสื่อสารด้านสุขภาพที่ถูกต้องและปลอดภัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่องานด้านสาธารณสุขของประเทศ และเป็นแนวทางที่ดีต่อการสร้างระบบสื่อสารที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ต่อไป”
โดยทั้ง 2 ฝ่าย ตกลงที่จะร่วมมือกันในกิจกรรม ดังนี้
– เพื่อการพัฒนาการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพที่ถูกต้องให้กับประชาชน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทางด้านสุขภาพ และสามารถดูแลตนเองได้
– เพื่อจัดทำสื่อเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุข
– เพื่อพัฒนากระบวนการการเรียนรู้และความเข้าใจในเรื่องสุขภาพ
– เพื่อป้องปรามการใช้สื่อสุขภาพโดยไม่ถูกต้อง
– เพื่อเสนอแนะแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพให้กับประชาชนทุกเพศ ทุกวัยให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแพทยสภา
– เพื่อสนับสนุนการจัดหลักสูตรการอบรม เพื่อความรู้ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาสื่อทางด้านสุขภาพ
– เพื่อให้คำแนะนำ ประเมินผล และติดตามกระบวนการฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ของแพทยสภา
หลังจากสถานการณ์ covid-19 คลี่คลาย หลายประเทศทั่วโลกเริ่มเปิดประตูต้อนรับการท่องเที่ยวที่พร้อมหลั่งไหลมาจากนานาชาติ เกาหลีใต้คือหนึ่งในประเทศปลายทางของนักท่องเที่ยวชาวไทย เหตุผลหลักที่คนไทยต่างไปเยือนเกาหลีใต้นั้นคือการ “เที่ยวตามรอยซีรีส์ดัง” ในโลกออนไลน์ ที่มีการนำเสนอเนื้อหา “ปักหมุดเที่ยวตามรอยซีรีส์ดัง เกาหลี…เกาใจ ไม่ไปไม่ได้แล้ว” “ปักหมุดไว้ตามรอย! ร้านคิมบับอูยองอู ในซีรีส์ Extraordinary Attorney Woo ที่น่าไปเช็คอิน” “10 ที่เที่ยวเกาหลี ตามรอยซีรีส์ดัง พิกัดสุดฟิน ถ่ายรูปปังๆ ไม่ไปไม่ได้แล้ว”
ซีรีส์เกาหลีใต้บางเรื่องจึงเลือกตั้งชื่อเรื่องจากสถานที่ท่องเที่ยวทั้งเป็นส่วนสำคัญของเนื้อเรื่อง และอาจแฝงเพื่อโปรโมทสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศอย่าง “Itaewon Class (2020)” ซีรีส์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง โดยสามารถทำเรตติ้งได้ถึง 16.5% ซึ่งเป็นเรตติ้งสูงสุดเป็นอันดับ 3 ของซีรีส์ทั้งหมดที่เคยออกอากาศทางสถานี และยังได้รับความนิยมในหลายประเทศในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น และ ไทย จนสามารถขึ้นอันดับของ Netflix ของทั้ง 2 ประเทศ ในช่วงปี 2020 โดยจุดเริ่มของ Itaewon Class เป็นรูปแบบการ์ตูนบน Kakao Webtoon ที่มียอดเข้าชมมากกว่า 400 ล้านครั้ง ต่อมามีการสร้างเป็นซีรีส์เผยแพร่ทางสถานี JTBC (กรุงเทพธุรกิจ, 2565)
ความเห็นล่าสุด