เลือกหน้า

ประชาสัมพันธ์หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพและเครือข่ายของผู้บริหารระดับสูง L-NET รู่นที่ 1

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพและเครือข่ายของผู้บริหาร ระดับสูง (Leadership Network Progran: L-NET) รุ่นที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพและ เครือข่ายในการพัฒนาองค์กรให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล การอบรมประกอบไปด้วย 4 ส่วน ได้แก่ แนวคิด การบริหารจัดการร่วมสมัย (CEO Contemporary Management) การสร้างแบรนด์บุคคลและการสื่อสาร เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร (CEO Branding and Effective Communication) การบริหารประสบการณ์ ลูกค้าที่ดีผ่านแนวคิดสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ (CEO Creative and Technology Trajectories) และศาสตร์ชะลอวัยและการบริหารสุขภาพแบบองค์รวม (CEO Holistic Health and Sustainable Wellness) การศึกษาอบรมทุกวันพฤหัสบดี เวลา 09.00 – 16.30 น. ระหว่างวันที่ 26 มกราคม 2566 ถึง 8 เมษายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

ในการนี้ มหาวิทยาลัยฯ ขอความอนุเคราะห์ท่านประชาสัมพันธ์และเผยแพร่หลักสูตรดังกล่าว หรือหากท่านเห็นว่าหลักสูตรนี้มีประโยชน์ต่อองค์กรของท่าน ขอให้ท่านส่งผู้บริหารในหน่วยงานของท่าน เข้าร่วมอบรมฯ โดยผู้เข้าร่วมการอบรมสามารถเบิกค่าลงทะเบียนจากต้นสังกัดได้ ทั้งนี้ รายละเอียดสามารถดาวน์โหลดไฟล์

ประชาสัมพันธ์รับสมัครการสรรหาผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนสุโขทัย

ด้วยคณะกรรมการสรรหาผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนสุโขทัย จะดำเนินการสรรหาผู้อำนวยการ วิทยาลัยชุมชนสุโขทัย โดยการรับสมัคร สำหรับผู้ที่สนใจและมีคุณสมบัติครบสามารถยื่นใบสมัครได้ด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2565 – 6 มกราคม 2566 (ในวันและเวลาราชการ) ณ สถาบันวิทยาลัยชุมชน กองบริหารทรัพยากรบุคคล อาคารรัชมังคลาภิเษก 2 ชั้น 10 กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร 10300 โทรศัพท์ 02-280 – 0091 – 6 ต่อ 4147 โทรสาร 02-280-4162 หรือที่วิทยาลัยชุมชนสุโขทัย อาคารมูลนิธิพุทธเรืองฤทธิ์ วัดสว่างอารมณ์วรวิหาร เลขที่ 163 ถนนหน้าเมือง ตำบลเมืองสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย 64110 โทรศัพท์ 08 5868 3459 หรือ 08 1953 5266 รายละเอียด สามารถดาวน์โหลด

‘ลำนำศิลป์ พื้นถิ่นไทย ประกวดคลิปวีดีโอ ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม ภายใต้ชีวิตวิถีใหม่’ชิงเงินรางวัลรวม 250,000 บาท

‘ลำนำศิลป์ พื้นถิ่นไทย ประกวดคลิปวีดีโอ ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม ภายใต้ชีวิตวิถีใหม่’ ชิงเงินรางวัลรวม 250,000 บาท

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวในโอกาสแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “ลำนำศิลป์ พื้นถิ่นไทย” ว่ากองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ให้ความสำคัญกับศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ซึ่งรวมถึงดนตรีพื้นบ้าน และการละเล่นท้องถิ่นในภูมิภาคต่างๆ ถือเป็นต้นทุนและมรดกทางวัฒนธรรมของไทยที่เป็นจุดแข็งที่สามารถนำมาต่อยอดสร้างผลกระทบได้ทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ สร้างสิ่งที่เป็นคุณค่าและมูลค่าได้

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกองทุนที่ต้องการสร้างให้เกิดสื่อดีๆ สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการจัดเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างบรรยากาศให้มีการส่งผ่านมรดกทางวัฒนธรรมพื้นบ้านจากศิลปินที่อาจเป็นคนรุ่นเก่าไปสู่คนรุ่นใหม่ 

ผู้จัดการกองทุนกล่าวย้ำว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์ 5 ยุทธศาสตร์ 6 สร้าง ประกอบด้วย

  1. สร้างสื่อ ทำให้มีสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์มากขึ้น การแสดงออกทางศิลปวัฒนะธรรมพื้นบ้าน ก็เป็นหนึ่งในสื่อที่กองทุนต้องการสนับสนุน
  2. สร้างคน เริ่มต้นด้วยการประกวด ซึ่งมุ่งเป้าที่คนรุ่นใหม่ เพราะต้องการให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างผู้เกี่ยวข้องหลายๆ ฝ่าย เช่น ถ้าน้อง ๆ เยาวชนสนใจโครงการนี้ พวกเขาจะต้องวิ่งไปหาศิลปินต้นแบบ เช่น ภาคใต้ ไปหาหนังตะลุง มโนราห์ ภาคกลาง ลำตัด ฉ่อย ภาคเหนือ ไปปรึกษาครูด้านสะล้อซอซึง ภาคอีสาน เป็นครูหมอลำหรือการแสดงพื้นถิ่นของภาคอีสาน เพราะฉะนั้นเป็นการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันของคนรุ่นใหม่ไปถึงศิลปินต้นแบบ
  3. สร้างภูมิคุ้มกัน ให้คนสามารถรับสื่ออย่างมีสติ ได้ใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ ไม่เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสื่อให้เป็นมลภาวะกับสังคม หรือการระรานกันในโลกออนไลน์
  4. สร้างองค์ความรู้ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ให้ความสำคัญในการศึกษาวิจัยการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ
  5. สร้างเครือข่าย สร้างการมีส่วนร่วม ส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคส่วนต่าง ๆ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สื่อให้มีประโยชน์
  6. สร้างองค์กรที่เป็นองค์กรต้นแบบ หากพูดถึงกองทุนสื่อให้คนนึกถึงผลงานดี ๆ เป็นองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือ และพร้อมจะเปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่

โครงการกิจกรรมส่งเสริมการผลิตสื่อสร้างสรรค์ ผ่านดนตรี และศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ภายใต้หัวข้อ “ศิลปินพื้นบ้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม ภายใต้ชีวิตวิถีใหม่” นี้ จึงถือเป็นการเริ่มต้นที่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ต้องการเห็นเดินไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ซึ่งในอนาคตกองทุนคาดหวังว่า นอกจากผลงานที่ปรากฏแล้ว ยังจะเกิดความร่วมมือระหว่างศิลปินพื้นบ้านต้นแบบ นักดนตรีพื้นบ้านต้นแบบ และคนรุ่นใหม่ที่อยากจะเข้าไปสัมผัสเรียนรู้ต้องการเห็นการทำงานร่วมกัน

“ในอนาคตเราอยากเห็นตลาดนัดการแสดงศิลปวัฒนธรรม ทำให้คนที่อาจจะไม่เคยสนใจในมรดกทางวัฒนธรรมของไทยหันกลับมาใส่ใจ  เป็นความงดงามที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ ไม่เพียงเป็นการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านเพียงอย่างเดียว หากแต่จะเป็นการสร้างคุณค่า ส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งเสริมการเรียนรู้ใหม่ ๆ สร้างความผูกพันธ์ ความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนต่างวัยที่จะเกิดขึ้นจากการทำงานผ่านงานศิลปะมาเป็นเครื่องมือ เป็นโอกาสสำคัญในการเรียนรู้ สืบสาน ต่อยอด สิ่งที่เป็นศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้าน ”

อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะ และวัฒนธรรม ในคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา ซึ่งเป็นองค์ปาฐกในงานกล่าวว่า ประเทศไทยมีสิ่งที่ต้องตระหนักสิ่งคือ เรื่องของ ‘3 ภูมิ’ ประกอบด้วย หนึ่งภูมิศาสตร์ ที่เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และความอุดมสมบูรณ์ มีของดีมากมายที่ทั่วโลกพูดถึง สองภูมิวัฒนธรรมและวิถีชีวิต ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน และภูมิศิลปะต่างๆ และสามคือภูมิน้ำใจ ที่เป็นจุดแข็งที่สามารถผลักดันให้โลกเกิดสันติสุขได้

“หากพวกเราร่วมมือร่วมใจกันในการผลักดันให้ศิลปินได้สร้างสรรค์ผลงานต่อไปให้ครบวงจรทั้ง 3 ภูมิ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถสร้างพลังทางวัฒนธรรม หรือ Soft Power ให้กับประเทศไทยได้”

สำหรับเงื่อนไขและกติกาการส่งผลงานเข้าประกวด ในข้อสำคัญ คือ การถ่ายทอดแง่มุมความสวยงามของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม มีความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอมุมมอง ซึ่งคลิปวีดีโอที่ส่งเข้าประกวด ต้องนำเสนอประวัติ และตัวตนของศิลปินพื้นบ้าน เพื่อการอนุรักษ์ สืบสาน และต่อยอดศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้าน ที่สอดคล้องกับหัวข้อโครงการ คือ ลำนำศิลป์ พื้นถิ่นไทย หรือ THE MELODY OF FOLK ART ความยาวของผลงานที่ส่งเข้าประกวดอยู่ระหว่าง 10 – 15 นาที

นอกจากนั้นผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องคำนึงถึงการไม่ละเมิด

ลิขสิทธิ์ต่าง ๆ ทั้ง ภาพ เสียง เอฟเฟค รวมถึงไม่ใช้ผลงานที่ทำซ้ำ ดัดแปลง ไม่เคยเผยแพร่ หรือเคยได้รับรางวัล

หรือถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ นอกจากการส่งเข้าประกวดในครั้งนี้

 

เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่วันนี้ ถึง 19 มกราคม 2566 และสิ้นสุดรับผลงาน 9 กุมภาพันธ์ 2566 โดยทางกรรมการจะใช้เวลา พิจารณาคัดเลือกก่อนประกาศผลในเดือนมีนาคม 2566

 

สำหรับผู้ที่ส่งผลงานเข้าประกวดและผ่านการคัดเลือกจะได้รับรางวัลพร้อมโล่รางวัลจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ รวมมูลค่ากว่า 250,000 บาท แบ่งเป็น

รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัลๆ ละ 50,000 บาท

รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง มี 1 รางวัลๆ ละ 40,000 บาท

รองชนะเลิศอันดับสอง มี 2 รางวัลๆ ละ 30,000 บาท

รางวัลชมเชย จำนวน 4 รางวัลๆ ละ 10,000 บาท

และป๊อบปูล่าโหวต อีก 2 รางวัลๆ ละ 30,000 บาท

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ และศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ผ่าน LINE ID

: @Themelodyoffolkart และสามารถติดตามข่าวสารโครงการฯ ได้ที่ Facebook : ลำนำศิลป์ พื้นถิ่นไทย (https://www.facebook.com/TheMelodyofFolkArt)

กองทุนสื่อ วางยุทธศาสตร์ 6 สร้าง ขจัด ‘ฆ่าโง่’ แค่มีสติ , อย่าเผลอ ทำทุกคนอยู่รอดปลอดภัย

(15 ธ.ค. 2565) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยเเละสร้างสรรค์ จัดกิจกรรมเสวนาออนไลน์ “ฆ่าโง่” ในหัวข้อ “สื่อสร้างสรรค์ เพื่อติดอาวุธทางความคิดสังคมต่อสู้ภัยกลโกงมิจฉาชีพ”  ขับเคลื่อนเเละส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจทางด้านกฎหมายผ่านสื่อปลอดภัยเเละสร้างสรรค์ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เเละติดอาวุธทางความคิดให้กับประชาชนให้เกิดทักษะการรู้เท่าทันภัยกลโกง  ภายใต้โครงการผลิตสื่อส่งเสริมการรู้ทันกลโกงหลอกลวงและการนำสู่แก้ไขปัญหาด้วยกฎหมาย อย่างเป็นรูปธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์   ผลงานผู้รับทุนประเภทเปิดรับทั่วไป (Open Grant) ประจำปี 2565

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยเเละสร้างสรรค์ กล่าวว่า  กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์มี 6 ยุทธศาสตร์ 6 สร้าง คือ

1. สร้างสื่อ : ผลิตสื่อที่มีความปลอดภัยและสร้างสรรค์เผยแพร่สู่สาธารณชน

2. สร้างคน : ก่อนที่จะเกิดนิเวศสื่อที่ดีได้ จะต้องเริ่มต้นจากการสร้างบุคคลากรก่อน

3. สร้างภูมิคุ้มกัน : เราเองก็ต้องการสร้างภูมิคุ้มกัน ติดอาวุธให้กับสังคม เพื่อต่อกรเหล่ามิจฉาชีพ ซึ่งในสังคมปัจจุบันพูดได้ว่ามิจฉาชีพมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา

4. สร้างองค์ความรู้ : ทางกองทุนสื่อเปรียบเสมือน Media Learning Center หรือ TMF Media Academy มีงานศึกษาวิจัย, Media Alert คอยติดตามความเคลื่อนไหวและวิเคราะห์พฤติกรรมผู้รับชมและข่าวสารต่าง ๆ อยู่เสมอ

5. สร้างการมีส่วนร่วม , เครือข่าย : เรื่องของการสร้างการรู้เท่าทันสื่อ การสร้างภูมิคุ้มกัน การป้องกันไม่ให้ตนเองตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ไม่ว่าจะเป็นตนเองหรือคนรอบข้าง จำเป็นที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน เพราะเราไม่สามารถทำเพียงลำพังได้

6. สร้างองค์กร ให้กระทัดรัด ขับเคลื่อน ได้อย่างสะดวก คล่องตัว

‘เอาเป็นว่า 24 ชั่วโมง ต่างเปิดรับสื่อ อยู่กับสื่อ ทั้งจริง , ทั้งเท็จ จึงจำเป็นที่ต้องมีสติ  ไม่เผลอ ถึงจะอยู่รอดปลอดภัย ในยุคที่ข้อมูลล้นได้’

ดร.โชคชัย เอี่ยมฤทธิไกร รองกรรมการผู้จัดการบริษัท เทโร เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในฐานะเป็นผู้รับทุน มีความตั้งใจที่จะสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณค่าเพื่อสร้างคุณประโยชน์และสร้างเกราะความคิดให้กับสังคม

ต้องการนำเสนอความรู้ทางกฎหมายให้กับประชาชน โดยเฉพาะชาวบ้าน แต่เนื่องจากกฎหมายมีเนื้อหาที่ค่อนข้างเข้าใจยาก เราจึงบิดเนื้อหากฎหมายให้เป็นละครสั้น เพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจ และที่สำคัญนำนักแสดงตลกชื่อดัง และ ‘ทนายสงกาญ์ อัจฉริยะทรัพย์’ มาเป็นนักแสดงถ่ายทอดเรื่องราวในเรื่อง นอกจากจะได้ความรู้แล้วยังได้รับความบันเทิง หรือที่เรียกว่า ‘รายการบันเทิงเชิงสาระ’ อีกด้วย”

ด้าน ทนายสงกาญ์ อัจฉริยะทรัพย์ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ผู้ร่วมรายการ ‘ฆ่าโง่’ กล่าวว่า ปัจจุบันมีมิจฉาชีพที่เข้ามาหลอกลวงหลายรูปแบบทั้งต่อหน้า และลับหลัง โดยเฉพาะบนโลกออนไลน์  ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อหลอกเอาทรัพย์สิน หรือประทุษร้ายเรา ทั้งกาย วาจา และจิตใจ โดยอาศัยช่องทางว่างไม่ว่าจะเป็น การไม่รู้ทันเทคโนโลยี ใช้ช่องโหว่ทางกฎหมาย

‘หลายต่อหลายคนครับ ไม่ทราบว่าโดนหลอกจะทำยังไงต่อ บางคนก็โดนขู่ ไม่กล้าที่จะตอบโต้กลับ ทำให้มิจฉาชีพยิ่งได้ใจกันไปใหญ่ การที่เราทำให้ประชาชนตระหนัก และรู้ทันกลโกงก็เป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยลดจำนวนผู้ที่หลอกได้ในอนาคตค่อนข้างมาก’

ทั้งนี้ รายการ ฆ่าโง่ ของ บริษัท เทโร เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) รูปแบบรายการกึ่งละครสั้นที่นำเสนอความรู้ทางด้านกฎหมาย สอดแทรกความบันเทิงโดยใช้นักแสดงตลกเป็นตัวละคร เพื่อทำให้เรื่องกฎหมายที่มีความเข้มข้นในเนื้อหากลายเป็นรายการบันเทิงที่แฝงไปด้วยความรู้ทางด้านกฎหมาย  โดยไม่ทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าเรื่องกฎหมายเป็นเรื่องที่เข้าใจยากเเละไกลตัว เมื่อเกิดความรู้ความเข้าใจก็เหมือนเป็นการสร้างเกราะป้องกันให้กับประชาชนในการรู้เท่าทันภัยโกงกลมิจฉาชีพในสังคม

ติดตามรับชมรายการ “ฆ่าโง่” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.15-09.20 น. ทางช่อง 7HD

และสามารถติดตามรับชมย้อนหลังได้ที่ Facebook และ YouTube : TERO Digital

เปิดตัว “Come Through ครู…ทำ” ซีรีส์สร้างความตระหนักรู้สิทธิเด็ก – ผอ.ฝ่ายวิจัยเเละขับเคลื่อนสังคม รับรางวัลบุคคลที่มีผลงานดีเด่นด้านการส่งเสริม ปกป้อง เเละคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเเห่งชาติ ปี 64

(13 ธ.ค. 65) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยเเละสร้างสรรค์ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเเห่งชาติ เปิดตัวซีรีส์ชุด “Come Through ครู…ทำ” ในงานวันสิทธิมนุษยชน 10 ธันวาคม ประจำปี 2565

ภายใต้เเนวคิด “การขจัดความรุนเเรงในครอบครัว” ที่จัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมารสิทธิมนุษยชนเเห่งชาติ เพื่อระลึกถึงเเละร่วมจัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสที่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนซึ่งได้รับรองจากที่ประชุมสมัชชาใหญ่เเห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 ครบรอบ 74 ปี ณ ห้องเอนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมเเห่งกรุงเทพมหานคร

โดยซีรีส์ดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนได้ใช้ประโยชน์จากสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้อย่างทั่วถึง

อีกทั้งเพื่อรณรงค์ขับเคลื่อนการส่งเสริมสิทธิเด็กผ่านสื่อให้มีประสิทธิภาพ สามารถรับชมซีรีส์ชุด “Come Through ครู…ทำ” ทั้ง 3 ตอน ได้ที่ Facebook : กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยเเละสร้างสรรค์ เเละ Facebook : สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเเห่งชาติ

ทั้งนี้ ภายในงานมีการมอบรางวัลบุคคลเเละองค์กรที่มีผลงานดีเด่นด้านการส่งเสริม ปกป้อง เเละคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2564  โดย นายวีระพงษ์ กังวานนวกุล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเเละขับเคลื่อนสังคม กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยเเละสร้างสรรค์ หรือ “ครูเบิ้ม” เจ้าของฉายา “ครูข้ามเเดน” เข้าร่วมรับรางวัลในครั้งนี้ด้วย

“ตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา นายวีรพงษ์ ทำงานส่งเสริมสิทธิมนุษยชนให้กับเครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์แถบชายแดนภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศไทย โดยหนุนเสริมเครือข่ายผู้นำในพื้นที่แถบชายแดน เพื่อปกป้องคุ้มครองเด็ก เยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ และผู้ด้อยโอกาสให้ได้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบที่เหมาะสม และรณรงค์ส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือปกป้องคุ้มครองเด็กไม่ให้เข้าสู่กระบวนการการค้ามนุษย์ข้ามแดนจากพื้นที่แถบรัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยง รัฐมอญของประเทศเมียนมาร์ ติดแนวชายแดนฝั่งตะวันตกของประเทศไทย  อีกทั้งช่วงปี 2540 เคยบุกเบิกการทำงานกับผู้สูงอายุในนามกลุ่มคนเฒ่าคนแก่ พิพิธภัณฑ์เล่นได้ จังหวัดเชียงราย อีกด้วย”