เลือกหน้า

               ผู้ที่หายจากโรคโควิดแล้ว อาจจะมีข้อสงสัยว่าทำไมถึงยังมีอาการอยู่หรือบางรายก็ยังมีอาการที่เป็นต่อเนื่องนานกว่าปกติ โดยทั่วไปแล้วอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับกลุ่มที่มีโรคประจำตัว อาจจะอยู่กับผู้ที่ป่วยตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป หรือบางรายอาจจะมากน้อยก็แล้วแต่ตัวบุคคล ซึ่งอาการเหล่านี้เรียกว่าภาวะลองโควิด  (Long covid) เรามาทำความรู้จักกับภาวะลองโควิดกันให้มากขึ้น เพื่อรู้เท่าทันวิธีการป้องกันหรือการปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงกันดีกว่า

 

Long Covid คืออะไร

Long COVID  คือ อาการที่เกิดขึ้นหลังจากติดเชื้อโควิด อาการที่เกิดขึ้นจะไม่ได้มีลักษณะ

ตายตัว ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย โอกาสที่จะเกิดภาวะ Long COVID เกิดขึ้นได้ 30-50%  

 

อาการมีอะไรบ้าง

-ปวดหัว มึนงง ไม่สดชื่น

– ความจำสั้น สมาธิสั้น

-แสบตา คันตา น้ำตาไหล

-คัดจมูก จมูกไม่ได้กลิ่น

-การรับรสชาติอาหารเปลี่ยนไป หรือพบอาการชาที่ลิ้นในบางราย

-มีอาการไอ หอบเหนื่อย หายใจไม่ทัน

-ใจสั่น เจ็บแน่นหน้าอก หายใจลำบาก

-มีไข้

-ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย

-ปวดข้อ กล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง

-มีภาวะสมองล้า

-นอนไม่หลับ

-ความดันโลหิตสูง

-วิตกกังวล ซึมเศร้า

 

กลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอาการ Long COVID คือกลุ่มใดบ้าง

-ผู้สูงอายุ

-ผู้ทีมีภาวะอ้วน

-ผู้ที่มีโรคประจำตัว

-ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ

-ผู้ที่ขณะติดเชื้อโควิด 19 มีอาการรุนแรง กลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงในการเกิด Long COVID ได้มากกว่ากลุ่มที่ติดเชื้อและไม่มีอาการ

               อาการลองโควิดอย่างที่เราทราบกันดีว่าเกิดจากการที่ร่างกายฟื้นฟูตัวเองได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นวิธีที่จะช่วยให้ผู้ป่วยลดการเป็นภาวะลองโควิด คือการปฎิบัติตัวเองเบื้องต้นตามมาตรการการป้องกันโควิดอย่างสม่ำเสมอและเคร่งครัด ก็จะช่วยให้ลดภาวการเกิดลองโควิดได้และที่สำคัญคือ ควรตรวจสอบความผิดปกติของร่างกายตนเองอย่างสม่ำเสมอ และพบแพทย์เพื่อประเมินระดับสุขภาพของตนเองเมื่อรู้สึกว่าร่างกายมีอาการผิดปกติ