มารู้จัก USEP PLUS
ในโลกปัจจุบันนั้นเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าสถานการณ์โควิดมีการระบาดเป็นวงกว้าง มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นและติดง่ายมากขึ้นโดยเฉพาะสายพันธุ์โอไมครอนที่มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีการกำหนดเงื่อนไขการใช้ UCEP ของผู้ป่วยโควิด 19 หรือ USEP Plus ดังนี้
USEP PLUS คืออะไร
UCEP พลัส คือ ระบบที่รองรับผู้ป่วยโควิด 19 ที่เข้าข่ายตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ทุกแห่ง ตามสิทธิ UCEP พลัสได้ กล่าวคือ
- ผู้ป่วยสีเขียวเข้ารับการรักษาที่บ้านหรือชุมชนเป็นหลัก (HI/CI First) โดยจะต้องติดตามประเมินอาการอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่า มีอาการเปลี่ยนแปลงเป็นเหลืองหรือแดง ก็จะส่งต่อเข้าสู่โรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาทันที
การแบ่งกลุ่มผู้ป่วย
- ผู้ป่วยสีเขียวที่อาการของโรคโควิดไม่ได้รุนแรง แต่มีโรคร่วมที่ควบคุมไม่ได้ ให้สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกที่เช่นเดียวกัน ภายใต้นโยบาย UCEP พลัส
- ผู้ป่วยสีเหลืองที่เริ่มมีอาการปอดอักเสบทั้ง 2 ระดับ คือ ต้องใช้เครื่องให้ออกซิเจนแคนนูลา และต้องใช้ออกซิเจนแบบไฮโฟลว์ ให้เข้าสู่การรักษาได้ทุกที่ทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน
- ผู้ป่วยสีแดง ที่เป็นผู้ป่วยวิกฤติในไอซียูหรือจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ บุคลากรจะมีเกณฑ์ในการประเมินอาการเพื่อนำเข้ารักษาในโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนด้วยเช่นกัน
การรักษาตามสิทธิ
- ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
- โรงพยาบาลประเมินอาการและคัดแยกระดับความฉุกเฉิน
- ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล
- กรณีเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต จะได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ UCEP ทันทีแต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง
- กรณีไม่เข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤตให้รีบประสานโรงพยาบาลตามสิทธิหากประสงค์รักษาต่อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
เกณฑ์การประเมินคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติกรณีโรคติดเชื้อโควิด 19 ใหม่
USEP Plus โดยผู้ป่วยตรวจที่มีผลตรวจ ATK หรือ RT-PCR มีผลเป็นบวก ร่วมกับมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- หัวใจหยุดเต้น หายใจลำบากเฉียบพลัน มีภาวะช็อค ภาวะโคม่า มีอาการซึมลงเมื่อเทียบกับระดับความรู้ตัวเดิม หรือกำลังชักเมื่อแรกรับที่จุดคัดแยก
- มีอาการไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียสนานกว่า 24 ชั่วโมง หรือหายใจเร็วกว่า 25 ครั้งต่อนาทีในผู้ใหญ่ ปริมาณออกซิเจนปลายนิ้วน้อยกว่า 94% หรือมีโรคประจำตัวที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือจำเป็นต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิดตามดุลพินิจของแพทย์ หรือ ในเด็กหากมีอาการหายใจลำบาก ดื่มนมหรือทานอาหารได้น้อยลง
- มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว มีปัจจัยเสี่ยงอาการรุนแรง หรือโรคร่วม เช่น อายุมากกว่า 60 ปี โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ ไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวานที่คุมไม่ได้ ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม หญิงตั้งครรภ์ ตับแข็ง ภูมิคุ้มกันต่อ หรือเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 1 พันเซลล์ต่อไมโครลิตร อื่น ๆ หรือตามดุลพินิจของผู้คัดแยก
ทั้งนี้ ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องเข้าสู่ระบบการรักษาให้เร็วที่สุด ไม่ควรรอ โดยช่องทางแบบผู้ป่วยนอกอย่างใกล้ชิด หรือ OPD ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านได้ แต่สำหรับผู้ป่วยสีเขียวควรเก็บเตียงให้ผู้ป่วยที่มีความจำเป็น
ข้อมูลเบื้องต้นที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น ก็พอจะทราบกันแล้วว่าถึงการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน UCEP จะรักษาฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ก็มีข้อจำกัดหลายอย่างเพื่อเป็นหลักประกันว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินที่แท้จริงตามการวินิจฉัยของแพทย์ในโรงพยาบาลแรกรับ ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนควรให้ความใส่ใจและศึกษารายละเอียดให้แน่ชัดก่อนใช้บริการทุกครั้ง ดังนั้นหากต้องการใช้สิทธิ์ก็ต้องศึกษารายละเอียดให้ดีก่อน
ความเห็นล่าสุด