เลือกหน้า

มาตรการป้องกันโควิด 19 ช่วงสงกรานต์ มีอะไรบ้าง

ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะถึงในปี 2565 รัฐบาลได้ออกมาตรการควบคุมเพื่อให้ประชาชนที่เดินทางกลับบ้านต่างจังหวัดหรือที่ต้องพบปะญาติผู้ใหญ่ได้ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังไม่ประมาท โดยรัฐบาลนั้นได้อนุญาตให้เล่นน้ำได้ตามประเพณี เช่น รดน้ำดำหัว สรงน้ำพระ และมีมาตรการที่ประชาชนต้องรับทราบ ดังนี้

 

พื้นที่จัดงานสงกรานต์ ที่มีการจัดเตรียมสถานที่และควบคุมกำกับ

– อนุญาตให้เล่นน้ำ และจัดกิจกรรมตามประเพณี เช่น รดน้ำดำหัว สรงน้ำพระ การละเล่น

– การแสดงทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ขบวนแห่ การแสดงดนตรี โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการ COVID Free Setting และมีการกำกับอย่างเคร่งครัด

– ห้ามประแป้ง ปาร์ตี้โฟม จำหน่ายและบริโภคแอลกอฮอล์ในพื้นที่จัดงาน

– กำหนดช่องทางเข้า-ออกจากงาน จัดจุดคัดกรอง และควบคุมความหนาแน่นในพื้นที่จัดงาน (1 ต่อ 4 ตารางเมตร)

– สวมหน้ากากตลอดเวลา พกเจลแอลกอฮอล์ รักษาระยะห่าง ตลอดเวลาที่ร่วมงาน

ㆍ พื้นที่สาธารณะไม่มีการควบคุม เช่น ท้องถนน ฯลฯ ห้ามเล่นน้ำ ประแป้ง และปาร์ตี้โฟม

ㆍกิจกรรมรวมกลุ่มในครอบครัว เช่น รดน้ำดำหัว การรับประทานอาหารร่วมกัน ฯลฯ

– จัดกิจกรรมในที่มีการระบายอากาศได้ดี หรือที่โล่ง ไม่หนาแน่นหรือคับแคบ

– สวมหน้ากากตลอดเวลา งดกิจกรรมการสัมผัสใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกัน

– เลี่ยงการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มร่วมกันเป็นเวลานาน

– ผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครอบตามเกณฑ์ คือ 3 เข็ม ควรได้รับวัคซีนให้ครบก่อนร่วมกิจกรรมสังสรรค์

  และสัมผัสใกล้ชิดลูกหลาน

– ผู้ติดเชื้อและผู้สัมผัสเสี่ยงสูงห้ามร่วมกิจกรรม

 

หลัง “สงกรานต์2565” 7 วัน 

ในช่วงหลังสงกรานต์  2565 ให้สังเกตตัวเอง 7 วัน บางพื้นที่ให้พิจารณาเรื่องการทำงานที่บ้านให้เป็นไปตามความเหมาะสม ทั้งนี้ฝ่ายปกครองฝ่ายมั่นคงขอให้ร่วมกับสธ.อย่างเข้มงวด เพื่อให้เราผ่านเทศกาลนี้ไปด้วยความเรียบร้อย ใครฝ่าฝืนให้ดำเนินการเด็ดขาด ซึ่งเป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรีในฐานะผอ.ศบค.ฝากมา

 

เฝ้าระวังควบคุมกำกับ “สงกรานต์2565”

 

  1. คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดให้มี “คณะทำงานควบคุม กำกับ เฝ้าระวัง” ให้เป็นไปตามมาตรการในพื้นที่จังหวัด/กรุงเทพมหานคร
  2. ศปก.ต./ศปก.อ. ผู้นำชุมชน ควบคุมกำกับ เฝ้าระวัง ระดับชุมชน หมู่บ้าน ทั้งการรวมกลุ่ม

 บุคคลภายนอก และกิจการ/กิจกรรม/สถานประกอบ การฝ่าฝืนดำเนินการอย่างเด็ดขาด

  1. ทุกหน่วยงานร่วมสื่อสารให้ประชาชน ร่วมกันเฝ้าระวังในชุมชน และแจ้งเบาะแสผ่านช่องทางของรัฐ เช่น ศูนย์ดำรงธรรม สายด่วน1111 Facebook ผู้พิทักษ์อนามัย (COVID Watch) Website : Thai Stop COVID Plus หรือช่องทางอื่นในพื้นที่

ดังนั้นเมื่อประชาชนทราบมาตรการข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว ก็ควรปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยต่อทั้งตัวเราเองและครอบครัว และที่สำคัญคือเพื่อเป็นการรับผิดชอบต่อสังคม