เลือกหน้า

มาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น มีอะไรบ้าง

ในปัจจุบันประชาชนยังสามารถรักษาโรคโควิด 19 ได้ทุกที่ ส่วนในอนาคต ผู้ป่วยโควิด จะรักษาฟรีตามสิทธิของแต่ละคน  และประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่การปรับแผนโควิดให้เป็นโรคประจำถิ่นโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

เป้าหมายของการปรับโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น มีดังนี้

– การเข้าถึงการดูแลรักษาได้อย่างรวดเร็ว มีคุณภาพ อัตราป่วยตายไม่เกิน 0.1%

– ความครอบคลุมวัคซีนเข็มกระตุ้นมากกว่าหรือเท่ากับ 60% 

– สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และความร่วมมือของประชาชนในการรับมือ และปรับตัว เพื่ออยู่ร่วมกับ  โควิด 19 จาก Pandemic Endemic อย่างปลอดภัย

 

สำหรับสาระสำคัญของแผนและมาตรการของการปรับโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้

 

1.ด้านสาธารณสุข

– เร่งการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นมากกว่าหรือเท่ากับ 60%

– ปรับระบบการเฝ้าระวัง เน้นการระบาดเป็นกลุ่มก้อน และผู้ป่วยปอดอักเสบ 

– ผ่อนคลายมาตรการสำหรับผู้เดินทางจากต่างประเทศ

– ปรับแนวทางแยกกักตัวผู้ป่วย และกักกันผู้สัมผัส

 

2.ด้านการแพทย์

– ปรับแนวทางการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD)

– ดูแลผู้ป่วยที่เสี่ยงอาการรุนแรง และมีอาการรุนแรง รวมทั้งภาวะ Long COVID

 

3.ด้านกฎหมายและสังคม

– บริหารจัดการด้านกฎหมายในทุกหน่วยงานให้สอดคล้องกับการปรับตัวเข้าสู่ Post pandemic

– ผ่อนคลายมาตรการทางสังคม ลดการจํากัดการเดินทางและการรวมตัวของคนหมู่มาก

ทุกภาคส่วนส่งเสริมมาตรการ UP, COVID Free Setting

 

4.ด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ 

– ทุกภาคส่วนร่วมสร้างความรู้ความเข้าใจ และพฤติกรรมให้ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตร่วมกับโควิด 19 อย่างปลอดภัย (Living with COVID-19)

– สื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุกอย่างครอบคลุมให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง และสร้างความร่วมมือของประชาชนในแต่ละช่วงเวลา

 

5.ไทม์ไลน์ของการดำเนินการ แบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้

ระยะ Combatting (ระดับ 4) เริ่มตั้งแต่ 12 มี.. – ต้นเม..2565

ระยะ Plateau (ระดับ 3) ตั้งแต่ เม.. – .. 2565 

ระยะ Declining (ระดับ 2) ตั้งแต่ปลาย .. – มิ.. 2565

ระยะ Post pandemic (ระดับ 1) ตั้งแต่ 1 .. เป็นต้นไป

 

ดังนั้นหากติดเชื้อโควิดหลังจากที่รัฐบาลประกาศให้เป็นโรคประจำถิ่นแล้วประชาชนต้องศึกษาหลักเกณฑ์การใช้สิทธิ์หรือเงื่อนไขให้ดีในการที่จะเข้ารับการรักษา