เลือกหน้า

แพทย์ เผยแนวทางดูแลสูงวัยติดโควิดแบบ HI ย้ำ ต้องรู้เร็วรักษาไว ป้องกันสูญเสีย

การแพร่ระบาดของโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอน มีแนวโน้มผู้ติดเชื้อมากขึ้น ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง อาจไม่จำเป็นต้องได้รักษาแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาล แต่ให้แยกกักตัวที่บ้าน Home Isolation (HI) เพื่อสังเกตอาการได้ ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุติดเชื้อ ที่มีอายุไม่เกิน 75 ปีบริบูรณ์ มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว และควรได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ที่กระทรวงสาธาณสุขกำหนดแล้ว ก็สามารถกักตัวที่บ้านได้

การดูแลผู้สูงอายุนอกจากการรักษากายแล้วจำเป็นต้องให้กำลังใจ ดังนั้นการดูแลรักษาที่บ้าน(HI) ก็ช่วยให้สภาพจิตใจผู้สูงอายุที่ติดเชื้อดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรคในกลุ่มผู้สูงอายุ เช่น หัวใจ ไต ปอด และยังมีปัจจัยจากการสูบบุหรี่ ทำให้อวัยวะที่ต้องสู้กับเชื้อไม่สมบูรณ์เท่ากับคนหนุ่มสาว รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง โดยเฉพาะกลุ่มที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

การดูแลผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโควิด ให้ถือว่าเป็นกลุ่มสีเหลืองทันที โดยไม่ต้องรอให้มีอาการ และต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ทันที ขณะที่ บางรายไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล(รพ.) สามารถรักษาที่บ้านได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ อย่างไรก็ตาม ยาต้านไวรัสมีความจำเป็นมากที่ต้องรับใน 3-5 วันหลังจากมีอาการ โดยตอนนี้มี 3 ชนิดคือ ยาฟาวิพิราเวียร์ ยาแพ็กซ์โลวิด และ ยาโมลนูพิราเวียร์ 

การทำ HI ของผู้สูงวัยไม่แตกต่างจากคนทั่วไป แต่มีความพิเศษกว่าในเรื่องการดูแล ที่จำเป็นที่ต้องมีคนดูแล อย่างไรแล้ว ในกรณีที่ผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัวที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จำเป็นจะต้องอยู่ใน รพ. ทั้งนี้ ข้อสำคัญในการทำ HI ของผู้สูงอายุคือต้องไม่มีโรคประจำตัว และช่วยเหลือตัวเองได้

นอกจากดูแลผู้สูงอายุ ตัวเองและคนรอบข้างด้านสุขอนามัยแล้ว การดูแลกันด้านจิตใจเป็นสิ่งที่ควรทำไม่แพ้กัน ควรส่งพลังบวก แชร์เรื่องดี ๆ และให้กำลังใจกันเสมอ เมื่อมีกำลังใจดี สุขภาพก็จะดีตามไปด้วยและไม่ลืมที่จะทำตามมาตการป้องกันการป้องกันโควิดเบื้องต้นเพื่อตนเองและสังคมรอบข้าง