เลือกหน้า

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
จัดรอบฉายภาพยนตร์เรื่อง โขนภาพยนตร์ หนุมาน WHITE MONKEY สำหรับนักเรียนจากโรงเรียน
สังกัด กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 13 – 24 กุมภาพันธ์ 2566

ประกอบด้วย โรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก , วัดขุนจันทร์ , วัดบางสะแกนอก , วัดกัลยาณมิตร , วัดใหม่ยายนุ้ย , วัดกระจับพินิจ , วัดนาคนิมิตร , วัดปฐมบุตรอิศราราม , คลองต้นไทร(สุขล้อมอุทิศ) , วัดจันทร์นอก รวมทั้งสิ้น 941 คน

ณ โรงภาพยนตร์ในเครือ SF กรุงเทพมหานคร

ร่วมถักทอวัฒนธรรม (ผ้าทออีสาน&ศิลปะอิสลาม)

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อการศึกษาและพัฒนามุสลิมอีสาน (ศ.พ.อ.)
สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี สถาบันศิลปะอิสลามแห่งประเทศไทย บริษัท ทีวีบูรพา จํากัด   และ
ภาคีเครือข่าย จัดงาน “Soft power : ทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นไทยสู่ตลาดโลกมุสลิม” ภายใต้แนวคิด
สันติสุข I มั่นคั่ง I ยั่งยืน

โดยทางโครงการ “ผ้าทออีสาน จาก วัฒนธรรมท้องถิ่นสู่การเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ในตลาดมุสลิม” เป็นเวที
สรุปและถอดบทเรียนการดําเนินงานตลอดทั้งโครงการ ในวัน พุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00 – 13.30 น.
ณ บริษัท ทีวีบูรพา จํากัด ซอยโยธินพัฒนา เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ

ภายในงาน ได้รับเกียรติจากสํานักจุฬาราชมนตรี ศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคีเครือข่าย ตลอดจนผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมรับชมนิทรรศการและงานเสวนาถอดบทเรียนและขยายผลการดําเนินงานในโครงการฯ เพื่อร่วมกันผลักดันพลัง Soft power ทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นไทย ให้สามารถเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ในตลาดมุสลิมทั้งในและต่างประเทศ สามารถสร้างความมั่งคั่ง และความยั่งยืนให้กับชุมชน ภายใต้ แนวคิด “ทุนวัฒนธรรม ก่อเกิดสันติสุข สร้างความ มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน”

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า สถานการณ์ปัจจุบัน ประเทศ กําลังเผชิญกับวิกฤตการสื่อสาร สื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ มีรายล้อมรอบตัวเรา ซึ่งอาจเป็นประเด็นที่ก่อให้เกิดวิกฤตความรุนแรงทางสังคม

ในทางตรงกันข้าม หากมองมุมกลับ ถ้าสามารถช่วยกันผลิตและถ่ายทอดสื่อดี ที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ให้เข้าไปอยู่ในระบบนิเวศน์สื่อ สร้างทางเลือกใหม่ๆ ให้สังคม โดยแปรเปลี่ยนทุนทาง วัฒนธรรมของสังคมไทย ซึ่งมีความหลากหลาย
และมีคุณค่า ให้กลายเป็นสื่อที่สามารถนําไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ดังเช่น งานผ้าทออีสานกับศิลปะอิสลาม สู่ตลาดโลกมุสลิม

สําหรับโครงการ “ผ้าทออีสาน จากวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่การเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ในตลาดมุสลิม” เป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในประเด็น วัฒนธรรมกับการสร้างมูลค่าเพิ่มและเศรษฐกิจ ซึ่งนับเป็นโครงการที่มีความน่าสนใจ เพราะมีการดําเนินงานในรูปแบบเชิงวิจัยและพัฒนา มีการพัฒนาผู้ประกอบการผ้าทอ ในพื้นที่ภาคอีสาน เกิดการ พัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่

โดยเฉพาะลวดลายอันงดงามบนผืนผ้าทอมือ อันเป็นเป็นการค้นหาจุดบรรจบร่วมกันระหว่างสองวัฒนธรรม โดยใช้ศิลปะอิสลามมาเชื่อมร้อย และท้ายที่สุดมีการพัฒนา ภาพลักษณ์ของงานฝีมือชุมชนด้วยการสร้างแบรนด์เพื่อการเข้าถึงการตลาดมุสลิมอีกด้วย

และสิ่งสําคัญอีกประการ คือ การไม่ลืมที่จะถ่ายทอดเรื่องราวอันทรงคุณค่านี้ผ่านการสื่อสารยุคใหม่ สร้างสื่อ วีดีโอที่นําเสนอภาพลักษณ์และความสวยงามของทุนวัฒนธรรมไทยที่มีในท้องถิ่นอีสาน ให้สามารถ เข้าถึง จับต้องได้ และสร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชน นับเป็นงานการขับเคลื่อน Soft power ทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นไทยที่น่าชื่นชม และ เชื่ออย่างยิ่งว่าภาพความรัก ความเข้าใจ ความสามัคคีและความสันติสุข ท่ามกลางความหลากหลายทางชาติพันธ์ ศาสนา วัฒนธรรม และความเชื่อนั้น จะเกิดขึ้นในทุกชุมชน

อ.สุวัยบ๊ะห์ ประพฤติชอบ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า โครงการผ้าทออีสาน จากวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่การเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ในตลาดมุสลิม เกิดขึ้นจากความตั้งใจหลัก 3 ประการ คือ การทําความรู้จักกันของคนต่างวัฒนธรรม ต่างความ เชื่อ และต่างพื้นที่ การเคารพในสิทธิทางความเชื่อของกันและกัน รวมถึงการช่วยเหลือแบ่งปัน ในแง่ของโอกาส ช่อง ทางการสร้างรายได้ และการส่งมอบองค์ความรู้อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทุนวัฒนธรรมให้เกิดเป็นมูลค่าที่จับต้องได้จริง

โครงการเกิดขึ้นโดยคนอีสานทั้งที่เป็นมุสลิมและไม่ใช่มุสลิม ซึ่งนับเป็นการสร้างจุดบรรจบที่พอดี ระหว่างสองวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมและศิลปะอิสลามในอีสานที่นับเป็นความแปลกใหม่ ดังนั้นเมื่อนําเอาความโดดเด่น ทางภูมิปัญญางานทอผ้าของคนอีสานกับศิลปะอิสลามมาผสานจนเกิดเป็นลวดลายใหม่ จึงนับเป็นจุดบรรจบที่ไม่มีกําแพงขวางกั้น และเป็นงานทางวัฒนธรรมในมิติใหม่ที่มีมูลค่าและคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง”

ทั้งนี้ห้วงที่ผ่านมา ทางโครงการได้มีโอกาสนําเสนอผลงาน และภาพลักษณ์ของแบรนด์ “LE’KANIS” ในงานแสดงสินค้า และการประชุมสัมมนานานาชาติด้านฮาลาล (WORLD HAPEX THAILAND 2022) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ผ่านมา ในธีมงาน “หัตถศิลป์ผ้าทออีสาน คุณค่าส่ง
ทางวัฒนธรรม นําสู่มูลค่าในอาเซียน” นับเป็นการเปิดตัว เพื่อสร้างการรับรู้งานนวัตกรรมด้าน ลวดลายผ้าทออีสานกับอัตลักษณ์แห่งศิลปะอิสลาม (
Isaan Culture X Islamic Arts)    และการ
เปิดตัวแบรนด์
LE’KANIS : แรง บันดาลใจจากภูมิปัญญาสู่ความเลอค่า ได้อย่างงดงาม

โครงการ “ผ้าทออีสาน จากวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่การเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ในตลาดมุสลิม” เป็นโครงการที่ได้รับการ สนับสนุนงบประมาณจาก กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ปีงบประมาณ 2564

สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของ โครงการได้ที่ www.lekanis.com หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง 081-537-5779

กองทุนสื่อ จับมือ อสมท สร้างคน ผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จับมือ บริษัท อสมท จำกัด(มหาชน) ลงนามบันทึก
ข้อตกลงความร่วมมือด้านการส่งเสริมการผลิต การเข้าถึง และการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

โดยมี ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และนายผาติยุทธ ใจสว่าง
รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานผลิตภัณฑ์และรักษาการ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ร่วมพิธีลงนาม

ดร.ธนกร ศรีสุขใส  ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างกองทุนสื่อ และ อสมท. เราเป็นพาร์ทเนอร์สำคัญ ที่มีความร่วมมือ ช่วยเหลือกันอย่างสม่ำเสมอ การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในวันนี้ จะนำไปสู่ 4 สร้าง ได้แก่

1. ร่วมกันสร้างบุคลากรในอุตสาหกรรมสื่อ ในแวดวงสื่อสารมวลชน

2. ร่วมกันสร้างสื่อ ส่งเสริมให้มีการผลิตเนื้อหาสื่อที่ดี

3. ร่วมกันสร้างองค์ความรู้

4. ร่วมกันสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อ การสร้างภูมิคุ้มกันการรู้เท่าทันสื่อ

“นับเป็นเรื่องที่เราต้องขับเคลื่อนไปด้วยกัน และเพื่อต่อยอดในการรู้เท่าทันสื่อ สร้างการรับรู้ และพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ให้กับประชาชน” ดร.ธนกร กล่าว

 

งานประกาศผลรางวัล คลิปสื่อสร้างสรรค์ ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม  “คิดอะไร…ก็ธรรม”

(14 กุมภาพันธ์ 2566) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (THAI MEDIA FUND) จัดงานประกาศผลรางวัลโครงการประกวดสื่อสร้างสรรค์ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม ภายใต้หัวข้อ “คิดอะไร..ก็ธรรม”

โดยมี ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ให้เกียรติมอบรางวัล พร้อมด้วยคุณวีระพงษ์ กังวานนวกุลผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและขับเคลื่อนสังคม คุณเทินพันธ์ แพนสมบัติ ผู้อำนวยการ
ฝ่ายพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์สำหรับประชาชน คุณศศวรรณ จิรายุส หัวหน้าฝ่ายสื่อสารงานธรรม
หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ และคุณชยนพ บุญประกอบ ผู้กำกับภาพยนตร์ เป็นคณะกรรมการ
คัดเลือกผลงาน

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์ในการรณรงค์ส่งเสริมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ หนึ่งในภารกิจที่สำคัญคือสนับสนุนสื่อที่ส่งเสริมให้เกิดคุณธรรม จริยธรรม จึงถือเป็นนิมิตหมายอันดีที่ได้จัดกิจกรรมการประกวดสื่อสร้างสรรค์ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม ภายใต้หัวข้อ “คิดอะไร..ก็ธรรม” ขึ้นเพื่อสร้างค่านิยมอันดี สร้างจิตสำนึกให้คนในสังคมเห็นถึงความสำคัญของคุณธรรม จริยธรรม และพฤติกรรมที่ดีที่เป็นต้นแบบในสังคม
อันจะส่งผลต่อการปรับพฤติกรรม ค่านิยม และวัฒนธรรมไทย

สำหรับหลักเกณฑ์การคัดเลือก ประกอบด้วย เนื้อหาต้องมีความสอดคล้องกับหัวข้อและวัตถุประสงค์การประกวด คือ การปลูกฝังค่านิยม จิตสำนึกให้คนในสังคมให้เห็นถึงความสำคัญของคุณธรรม จริยธรรม และพฤติกรรมที่ดีที่เป็นต้นแบบในสังคม มีความน่าสนใจ มีความริเริ่มสร้างสรรค์ในเชิงเนื้อหาการนำเสนอ มีไอเดียน่าสนใจแปลกใหม่ หรือแตกต่างจากรูปแบบการนำเสนอแบบเดิม เป็นสื่อที่ไม่ขัดต่อศีลธรรม จริยธรรม ไม่สื่อถึงการยุยง ปลุกปั่น หรือเป็นการละเมิดต่อผู้อื่น และไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเมือง

โดยผลการคัดเลือกสื่อสร้างสรรค์ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม ภายใต้หัวข้อ “คิดอะไร…ก็ธรรม” ในครั้งนี้ประกอบด้วย

รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล ได้แก่

ชื่อผลงาน “ธรรมให้เด็กมันดู” ชื่อทีม Molly House จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

สมาชิกในทีมประกอบด้วย

  1. นายนันทเกียรติ บุตรเเก้ว
  2. นายภูรินทร์ ขาวเผือก
  3. นายธรรธวัฐ ต้นคำ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 รางวัล ได้แก่

ชื่อผลงาน ความฝันของเจ้าชาย 王子様の夢  ชื่อทีม N.M.T.ENTERTAINMENT จากโรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ

สมาชิกในทีมประกอบด้วย

  1. นายอติพงศ์ ใบงาม
  2. นางสาวศกลวรรณ เทพพายุ
  3. นายธนัตถ์ มณีรัตนโชติ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 1 รางวัล ได้แก่

ชื่อผลงาน คน ธรรม หนัง ชื่อทีม Tumlung Film จากประชาชนทั่วไป

สมาชิกในทีมประกอบด้วย

  1. นายอัจฉริยะ สองเมืองธนรัฐ

รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล ได้แก่

ชื่อผลงาน ประจานเขาเท่ากับจุดไฟเผาตัวเอง ชื่อทีม กินดีที่ได้รู้จัก จากประชาชนทั่วไป

สมาชิกในทีมประกอบด้วย

  1. นายกฤติเดช จันมณี
  2. นายสกล อุ่นจังหาร

ชื่อผลงาน แค่ kid…คิด ชื่อทีม MOV.Next จากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี

สมาชิกในทีมประกอบด้วย

  1. นางสาวกมลชนก เสาชัย
  2. นาย รัฐภูมิ ทองรื่น
  3. นายรัฐภาค ทองรื่น
  4. นาย กฤตเมษ กองสินรัตน์
  5. นางสาวกิติยา วิมลนันทพงศ์

ผู้สนใจสามารถรับชม Live ย้อนหลังได้ ผ่านทางเฟซบุ๊กกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

กองทุนสื่อ เยี่ยมชมระบบ E-Document กระทรวงดีอีพร้อมหารือรองปลัดเพื่อนำกองทุนสื่อเข้าสู่ระบบสำนักงานดิจิทัล

(14 ก.พ.66) ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผจก.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พร้อมผู้บริหาร เข้าศึกษาดูงานระบบ E-Document ของสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

พร้อมหารือร่วมกับผู้บริหารโดยมีนายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงให้การต้อนรับ ทั้งนี้ กองทุนพัฒนาสื่อฯ ต้องการจะพัฒนาองค์กรเข้าสู่ระบบสำนักงานดิจิทัลโดยใช้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้นแบบ