เลือกหน้า

ประชุมคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ครั้งที่ 3/2566

วันที่ 31 พฤษาคม 2566 เวลา 13.30 น. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ครั้งที่ 3/2566

โดยมี นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รองประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ประธานอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เข้าร่วมประชุมผ่านระบบเครือข่ายการประชุมทางไกล (Microsoft team)

ณ ศูนย์ประชุมกระทรวงวัฒนธรรม ชั้น 8 อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม

ภาพประกอบจาก : กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ หารือการผลิตสื่อและเผยแพร่ เพื่อเฝ้าระวังอาชญากรรมออนไลน์เชิงรุกแก่ประชาชน

ผุดแคมเปญ “เอ๊ะ…เช็คก่อนโดน สู้โจรออนไลน์”

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ หารือการผลิตสื่อและเผยแพร่ เพื่อเฝ้าระวังอาชญากรรมออนไลน์เชิงรุกแก่ประชาชน

(30 พฤษภาคม 2566) พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานตำรวจแห่งชาติ , พล.ต.ต.ฐายุฏฐ์ จันทร์ถาวร รองผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ,พล.ต.ต.ชูศักดิ์ ขนาดนิด ผู้บังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี และคณะ ร่วมหารือกับ ดร.ธนกร ศรีสุขใส
ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อหาแนวทางการผลิตสื่อและเผยแพร่ เพื่อเฝ้าระวังอาชญากรรมออนไลน์เชิงรุกแก่ประชาชน ภายใต้แคมเปญ “เอ๊ะ…เช็คก่อนโดน สู้โจรออนไลน์”

โดยมีเป้าหมายในการสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันภัยในโลกออนไลน์ให้แก่ประชาชน และอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ และสร้างผลกระทบเชิงบวกทำให้สังคมดียิ่งขึ้น

แคมเปญ ‘เอ๊ะ…เช็คก่อนโดน สู้โจรออนไลน์’ สร้างเนื้อหาใหม่ที่สอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน เนื้อหากระชับเข้าใจง่าย และเข้าถึงผู้คนทุกกลุ่มวัย โดยเผยแพร่ผ่านช่องทางโทรทัศน์ ออนไลน์ และสื่อสิ่งพิมพ์ เชื่อมโยงกับภาครัฐ “ผนึกกำลังร่วมใจ ต้านภัยไซเบอร์”

ดร.ธนกร ศรีสุขใส กล่าวว่า ยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ร่วมมือกับทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ รู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคม

เพราะกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีจุดประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้ที่ดีให้กับสังคม และผลักดันให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงสื่ออย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ สร้างการรับรู้ และเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์

‘บัจจุบันมีผู้เดือดร้อนจากการใช้สื่อในทางที่ผิดเป็นอย่างมาก เราจะต้องตั้งรับและเตรียมพร้อมรับมือ เป็นวัคซีนที่ดีให้กับประชาชน และร่วมสร้างสิ่งดีๆไปด้วยกัน’

ด้าน พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง กล่าวว่า รอบปีที่ผ่านมา มีสถิติอาชญากรรมออนไลน์เป็นจำนวนมากกว่า 200,000 ราย มูลค่ารวม 40,000 ล้านบาท โดยเกิดจากสื่อสังคมออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ ทั้งการพนันออนไลน์ หรือ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ (Call Center Gang)

“ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่ได้นิ่งนอนใจ เพราะมีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ได้รับผลกระทบ ส่งผลให้เรายิ่งต้องตระหนักถึงต้นตอของปัญหา และหาวิธีการแก้ไขให้โดยด่วนที่สุด”

ทั้งนี้การร่วมมือกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นสัญญาณที่ดี ที่จะเข้าถึงสื่อสาธารณะ และโลกออนไลน์ เพราะจะร่วมสร้างการตระหนักรู้ให้แก่ประชาชน ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ และหาแนวทางในการร่วมมือสร้างสรรค์สื่อการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยให้แก่ประชาชนอีกด้วย

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดปฐมนิเทศผู้ที่ได้รับการสนับสนุนทุนประจำปี 2566

(25 พ.ค. 66) ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เปิดงานและมอบนโยบายการบริหารโครงการฯ ให้กับบุคคล/โครงการ ที่ได้รับทุนสนับสนุนทุน ประจำปี 2566
ณ โรงแรม ดิเอมเมอรัลด์ กรุงเทพมหานคร

โดย ดร.ธนกร ได้กล่าวต้อนรับและแสดงความยินดี กับ 103 โครงการ ที่ผ่านการพิจารณาได้รับทุนสนับสนุน เพราะทุกโครงการมีประโยชน์กับสังคม เป็นสื่อที่มีประโยชน์ที่ส่งผลกระทบและเกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมในเชิงบวก และ ได้กล่าวขอบคุณทุกองคาพยพที่มีส่วนสำคัญยิ่ง ในทุกกระบวนการของการพิจารณาให้ทุนได้ลุล่วงและเกิดความสำเร็จ ซึ่งต่อจากนี้ภายใน 1 ปี ขอให้ทุกท่าน ทุกโครงการ ร่วมทำงานแบบกัลยาณมิตรกับกองทุน เพื่อให้ผลงานเกิดประสิทธิภาพ มีความภาคภูมิใจ ทั้งต่อตนเอง สังคมส่วนรวม ให้ได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด

“เราต้องการให้การทำงานของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์บรรลุตามยุทธศาสตร์ และวัตถุประสงค์ของกองทุน เช่น ทักษะการรู้เท่าทันสื่อโดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน จะต้องสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง และ ส่งเสริมให้มีสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ประชาชนสามารถเข้าถึง เข้าใจ และใช้งานได้”

ดร.ธนกร กล่าวต่อว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนประจำปี 2566 จะเป็นโครงการที่มีประโยชน์ และสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่สังคม ตามวิสัยทัศน์ของกองทุนที่กล่าวว่า ประชาชน “เข้าถึง เข้าใจ” และ “ฉลาดใช้สื่อ” อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ ด้วยนิเวศสื่อที่ดี

โดยบรรยากาศในการปฐมนิเทศ ทั้งทีมผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่จากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พร้อมด้วยผู้รับทุนกว่า 120 คน รวมถึงผู้รับทุนที่เข้าร่วมปฐมนิเทศผ่านระบบออนไลน์กว่า 50 คน ต่างให้ความสนใจ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปด้วยกัน

นอกจากนั้น ภายในงานมีการจัดอบรม มอบความรู้ให้แก่ผู้รับทุน ในหัวข้อ แนวทางการบริหารโครงการให้บรรลุผลตามตัวชี้วัดโครงการขอรับทุนตลอดอายุสัญญา และ การสื่อสารตราสัญลักษณ์ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดย ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

อีกทั้งยังมีการจัดทำตัวชี้วัดและงบประมาณโครงการขอรับทุนสนับสนุน เพื่อเตรียมทำสัญญาให้ทุนสนับสนุน โดย ผู้อำนวยการฝ่ายที่รับผิดชอบดูแลโครงการ

ขณะที่ คุณศศิธร วงศาริยะ หัวหน้าโครงการ มโนราห์ คุณค่าไทยสู่สากล หนึ่งในผู้รับทุนประเภททุนเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Grant) ประเด็นการสร้างมูลค่าจากประเด็นเชิงวัฒนธรรม (Soft Power) กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย และเป็นกันเอง ทำให้รู้สึกอบอุ่นเสมือนอยู่กันแบบครอบครัว ทางกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เข้าใจเนื้อหาและกระบวนการผลิตสื่อเป็นอย่างดี สามารถตอบโจทย์ สะดวกและง่ายต่อผู้รับทุนในการรับทราบขั้นตอน และประเด็นคำถามต่างๆ ที่สำคัญการปฐมนิเทศในวันนี้ นับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้รับทุนหน้าใหม่ เพราะมีเนื้อหาครบถ้วนที่ทางผู้บริหารของกองทุนได้ให้ความกระจ่างแก่ผู้เข้าร่วม เพื่อเป็นแนวทาง และเป็นเครื่องย้ำเตือนให้เราทำงานแบบมีแบบแผน เป็นขั้นตอน

“ต้องขอขอบคุณทางกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่ให้ความสำคัญกับการปฐมนิเทศในครั้งนี้ ทางทีมงานจะตั้งใจสร้างผลงานที่ดี เพื่อช่วยผลักดันให้สังคมไทยไปสู่นิเวศสื่อที่ดี และอยากฝากให้ติดตามผลงานของเรา และของผู้รับทุนท่านอื่นๆ เพราะทุกๆคนตั้งใจสร้างสื่อที่มีคุณภาพ ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ให้มีความแปลกใหม่ น่าสนใจ”

นอกจากนั้น คุณศศิธร ยังได้ยินดีกับทุกโครงการที่ได้รับการสนับสนุนประจำปี 2566 โดยบอกว่า นับเป็นสิ่งที่ดี ที่เรามีสื่อที่มีคุณภาพผลิตออกมาเยอะขึ้นภายในปีนี้ และหวังว่าเราจะร่วมสร้างนิเวศสื่อที่ดีให้กับสังคมไปด้วยกัน

 

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จับมือ กองทุนสื่อ ร่วมประชาสัมพันธ์ โครงการจิตสำนึกรักเมืองไทย ปีที่ 15

(24 พฤษภาคม 2566) พ.อ.จิตนาถ ปุณโณทก รองเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย พ.อ.ศรัณย์วิชญ์ ศุภประเสริฐ รองเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม, พ.อ.สุวเทพ ศิริสรณ์ ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ และ พ.ท.อนุโรธ บุรุษรัตนพันธุ์ หัวหน้าแผนกแผนประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

เข้าร่วมหารือกับ ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อร่วมประชาสัมพันธ์โครงการ จิตสำนึกรักเมืองไทย ปีที่ 15

โครงการจิตสำนึกรักเมืองไทย เป็นโครงการของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ดำเนินการโดยสำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 15

โดยมีเยาวชนเป็นแกนกลางผลักดันให้เกิดแนวคิดในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาสังคมอย่างสร้างสรรค์ และสามารถทำให้เกิดเป็นรูปธรรม

จากความร่วมมือของภาคประชาสังคม เพื่อให้เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ และส่งผลถึงความรักความสามัคคีของคนในชาติต่อไป อีกทั้งเป็นสื่อกลางในการเสริมสร้างสภาวะแวดล้อมให้กับเยาวชน โดยมีภาคประชาสังคมทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสื่อมวลชน ร่วมกระบวนการเป็นองค์รวม

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า โครงการจิตสำนึกรักเมืองไทย เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้เยาวชนได้เข้ามามีส่วนร่วม มีจุดประสงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะ เริ่มต้นที่เยาวชน โดยการ ให้โอกาส ให้เวลา ให้การส่งเสริม ให้การชื่นชม แก่เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ ทางกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จึงขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการประชาสัมพันธ์โครงการดีๆให้แก่เยาวชนได้เข้าร่วม เพื่อช่วยสร้างสังคมให้มีจิตสำนึกสาธารณะ และมีคุณค่าต่อสังคมต่อไป

รายละเอียด ของโครงการติดตามได้ที่
Facebook เพจจิตสำนึกรักเมืองไทย หรือ www.จิตสำนึกรักเมืองไทย .com และ ไลน์ @jsnrmthai

“ท้าสู้เท็จ” เกมออนไลน์เพื่อสร้างเสริมวิจารณญาณในการรับข่าวสารจากสื่อและโซเชียลมีเดีย

“ท้าสู้เท็จ” เกมออนไลน์เพื่อสร้างเสริมวิจารณญาณในการรับข่าวสารจากสื่อและโซเชียลมีเดียสำหรับเยาวชนทั่วไป และเยาวชนผู้พิการทางการได้ยินและสี

          ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันนี้ความนิยมใช้โซเชียลมีเดียแพร่หลายมากขึ้นในคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งสามารถเปิดรับสื่อหรือข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นเพียงแค่มีโทรศัพท์มือถือเครื่องเดียว แต่ผลที่ตามมาคือข่าวสารที่ได้รับมานั้นอาจไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ เรื่องนี้มีข้อมูลจากศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2565 ระบุว่า ร้อยละ 70 ของข่าวสารที่แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย คือ “ข่าวปลอม”    

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จึงเปิดรับข้อเสนอโครงการหรือกิจกรรมเพื่อขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนฯ โดยมีประเด็นเรื่องการรับมือกับปัญหาข่าวปลอม คุณชูพล ศรีเวียง ครีเอทีฟ /นักโฆษณา/นักร้อง/นักแต่งเพลง จึงได้ชักชวนคุณเสริมยศ เฉลิมศรี ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการทำเกม มาร่วมกันทำโครงการ
ท้าสู้เท็จเกมออนไลน์เพื่อสร้างเสริมวิจารณญาณในการรับข่าวสารจากสื่อและโซเชียลมีเดียสำหรับเยาวชนทั่วไป และเยาวชนผู้พิการทางการได้ยินและสี

โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือต้องการให้เด็กและเยาวชนมีภูมิคุ้มกันในการเสพข่าวปลอม นอกจากนี้ยังขยายโอกาสอย่างเท่าเทียมในกลุ่มเยาวชนผู้พิการทางการได้ยินและสี ในการพัฒนาทักษะทางความคิดให้รู้เท่าทันและเข้าใจสื่ออย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์

“เราใช้เกมเป็นตัวกลางที่เข้าถึงเด็กได้ง่ายเพราะเด็กเล่นเกมกัน ถ้าทำให้เกมเป็นลักษณะของการศึกษา เล่นเกมแล้วได้ภูมิคุ้มกันในการป้องกันข่าวปลอมด้วยก็เป็นเรื่องที่ดี ให้เด็กได้ทำแบบทดสอบจำลองของการเสพข่าว ได้รู้รูปแบบว่าทำแบบนี้เวลาเจอข่าวปลอมต้องมีวิธีรับมือแบบนี้นะ ได้ฝึกทักษะ พูดง่าย ๆ คือเป็นการสร้างทักษะในการรับมือข่าวปลอมผ่านเกม”

 จากจุดประสงค์ของโครงการที่ต้องการให้เด็กและเยาวชนผู้พิการทางการได้ยินและการมองเห็นสี ได้มีภูมิคุ้มกันในการรับมือข่าวปลอมด้วย แต่เนื่องจากติดขัดปัญหาบางประการทำให้ไม่สามารถพัฒนาเกมให้ตรงกับกลุ่มเยาวชนผู้พิการทางการมองเห็นสีได้ จึงจำเป็นต้องหาทางออกด้วยการให้คุณเกียรติศักดิ์ อุดมนาค หรือเสนาหอย นักแสดงและพิธีกรมากฝีมือ มาร่วมในเกมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ โดยนำคาแรกเตอร์ของเสนาหอยมาเป็นหัวหน้าเหล่าร้าย อยู่ในด่านสุดท้ายของเกมที่ผู้เล่นจะต้องเจอ

 “เรามีการวัดผล เพราะที่คุณเสริมยศวางแผนในตัวเกมเล่นจากด่าน 1 ไปด่านสุดท้าย เรื่องการเรียนรู้ของเด็กก็เหมือนการสอบย่อย สอบไฟนอล รูปแบบการเรียนรู้เป็นแบบนี้อยู่แล้ว เท่ากับว่าการที่เด็กเล่นไปถึงด่านสุดท้ายคือเด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ถ้าวัดเป็นตัวเลขทางสถิติเกิน 70% ถ้าไปถึงด่านสุดท้ายคือเด็กได้พัฒนาการเรียนรู้ เพราะด่านสุดท้ายออกแบบให้เป็นการตอบแบบสอบถามเป็นข้อสอบไฟนอล ค่อนข้างยากนิดหนึ่ง”

คุณชูพลยังได้พูดถึงความตั้งใจของทีมงานว่าอยากจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เด็กและเยาวชนได้มีภูมิคุ้มกันในการเสพสื่อ และถ้าเด็ก ๆ สามารถเรียนรู้และมีทักษะในการป้องกันข่าวปลอมได้ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี

“เราได้ไปเห็นเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมีปฏิกิริยาที่ดี มีความพยายามในการเล่นก็รู้สึกดีใจ ซึ่งอาจารย์ยังบอกเลยว่าดีใจที่มีคนพัฒนาเกมแล้วคิดถึงพวกเขา ดีใจที่มีคนพัฒนาสื่อแล้วนึกถึงคนเหล่านี้ และเด็ก ๆ ก็มีความสุขมากที่ได้เล่นและตั้งใจมากที่ได้เล่น กลายเป็นว่าเด็กที่มีฟีดแบ็กกับเราคือเด็กหูหนวก เด็ก ๆ ถามว่าจะมีเวอร์ชัน 2 ไหม จะอัปเดตอีกไหม อยากกำจัดตัวร้ายให้สิ้นซาก ทำให้เรารู้สึกดีใจและภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการทำให้เขาได้เรียนรู้อย่างมีความสุข”  

ขณะที่คุณเสริมยศ ซึ่งเป็นผู้พัฒนาเกมในโครงการนี้ บอกว่า หลังจากได้เริ่มโครงการแล้วพบว่ามีปัญหาและอุปสรรคที่ทีมงานจะต้องแก้ไข โดยในฝั่งของการพัฒนาเกมจะมีปัญหาเรื่องเครื่องมือพัฒนาเกม (Unity Engine) ที่มักจะอัปเดตและเปลี่ยนเวอร์ชันทุก 3 เดือน 6 เดือน ทำให้ต้องวนกลับไปแก้ไขในส่วนที่ดำเนินการไปก่อนแล้ว
จึงอาจเกิดความล่าช้าบ้าง

แม้ตลอดระยะเวลา 1 ปีของการดำเนินโครงการจะพบปัญหาและอุปสรรคอยู่บ้าง แต่คุณเสริมยศ บอกว่า หลังดำเนินโครงการเสร็จสิ้นรู้สึกมีความสุขมาก โดยเฉพาะตอนที่นำเกมออกไปให้เด็กและเยาวชนจากโรงเรียนคน
หูหนวกได้ทดลองเล่น ได้เห็นรอยยิ้ม และรับรู้ว่าเด็กเหล่านั้นมีความสุขที่ได้เล่นเกม ถือเป็นความประทับใจของทีมงานมาก

ตะลุยหวือหวาธานีในเกมสู้เท็จกันได้แล้ววันนี้ที่ http://www.tasutet.com

ดาวน์โหลดสำหรับมือถือและแท็บเล็ตแอนดรอยด์ Google Play Store: https://bit.ly/3tM8P4r

ดาวน์โหลดสำหรับไอโฟนและไอแพ็ด: https://apple.co/3MBtXmy

ดาวน์โหลดสำหรับคอมพิวเตอร์ : https://bit.ly/361MVSx