เลือกหน้า

ศักยภาพ Soft Power วัฒนธรรมท้องถิ่น ใช้สื่อสร้างสรรค์ ยกระดับสินค้า จากความหลากหลายของชีวภาพท้องถิ่น

(21 กันยายน 2566)
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)

เพื่อร่วมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ Soft Power ทางวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น นำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืน

ผ่านการยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้า บริการ และอาหารจากความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ณ สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

โดย ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

และ นางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)ได้ร่วมลงนาม โดยมีผู้บริหารของทั้ง2 หน่วยงาน ร่วมเป็นพยาน

ทั้งนี้ MOU ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ ทั้งเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ Soft Power ทางวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืนผ่านการยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้า บริการ และอาหารจากความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น

เพื่อพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมให้กับชุมชนท้องถิ่น การใช้ความหลากหลายทางชีวภาพ และภูมิปัญญาเพื่อถ่ายทอดอัตลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่นไปสู่การยกระดับการท่องเที่ยว ผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่น

เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดทักษะการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์

พัฒนาชุดองค์ความรู้เพื่อการสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการสำรวจและรวบรวมข้อมูลทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ภาคีเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนข้อมูลให้มีสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึงจากความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น

เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จากการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และไปสู่สาธารณชนในวงกว้าง

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า
ภายใต้ความร่วมมือฉบับนี้
ต่างมีวัตถุประสงค์ร่วมกันเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ Soft Power ทางวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืน ผ่านการยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าบริการให้ไปสู่สากลได้

รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดทักษะการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์

ช่วยพัฒนาชุดองค์ความรู้เพื่อการสื่อสารในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการสำรวจและรวบรวมข้อมูลทรัพยากร เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน การทำให้คนเข้าใจในความหลากหลายทางชีวภาพนับเป็นวัคซีนอย่างดีที่จะช่วยอนุรักษ์ และ รักษาชุมชนท้องถิ่นได้

‘วันนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการขับเคลื่อน สร้างการรับรู้ให้กับสังคมในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ให้ไปสู่สาธารณชนในวงกว้างอย่างทั่วถึง’

นางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ(องค์การมหาชน) กล่าวว่า เป็นเรื่องดีที่ 2 หน่วยงานได้ร่วมมือกัน
โครงการสนับสนุนพัฒนาสื่อปลอดภัยสร้างสรรค์ ในการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ

การเผยแพร่องค์ความรู้การให้บริการการเข้าถึงและใช้ประโยชน์เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ และภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่น

ซึ่งความร่วมมือนี้เป็นโอกาสดีที่จะร่วมสนับสนุนเผยแพร่การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และไปสู่สาธารณชน บนฐานการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น

‘ความร่วมมือนี้ เป็นก้าวแรกเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ Soft Power ทางวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืน’

อย่างไรก็ตาม นายชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

และ นายธนิต ชังถาวร รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ ได้ร่วมลงนามเป็นพยานใน MOU ด้วย

fuse. Kids film festival 2023 : เปิดพื้นที่ให้เยาวชนทำหนังสรรค์สร้างผลงาน

เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2566 ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มอบหมายให้ ผศ.ดร.ศรัญญ์ทิตา ชนะชัยภูวพัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สำหรับเด็กและเยาวชน เข้าร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์ fuse. Kids film festival 2023 โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประเภทเปิดรับทั่วไป ประจำปี 2566

ณ โรงภาพยนตร์คิดส์ ซีเนม่า พารากอน ซีนีเพล็กซ์

งานเทศกาลภาพยนตร์ fuse. Kids film festival 2023 ได้รับผลงานส่งประกวดจากเด็กเยาวชนถึง 242 เรื่อง และมีหนังเข้าชิงทั้งหมดกว่า 14 สาขารางวัล โดยรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจะได้ร่วมเดินทางไปเรียนรู้ที่เมืองภาพยนตร์ปูซาน ประเทศเกาหลีใต้

ในส่วนของคณะกรรมการตัดสินรางวัล มีผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญ เข้าร่วม อาทิ
เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์ – ผู้อำนวยการเทศกาล และที่ปรึกษาชมรม Young filmmakers of Thailand, ผศ.ดร.มรรยาท อัครจันทโชติ – ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , นภสร ลิ้มไชยาวัฒน์ – ภาควิชาภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, สิโรรส เอ็มอธิ สุรฐาชัยวัฒน์ – นักแสดงภาพยนตร์และละครเวที

ผศ.ดร.ศรัญญ์ทิตา กล่าวว่า การได้รับโอกาสถือเป็นสิ่งสำคัญในการต่อยอดสร้างสรรค์ผลงานและเป็นสิ่งที่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์มีความตั้งใจที่จะสนับสนุนให้เกิดเทศกาล fuse. Film Festival ขึ้น รวมถึงในอนาคตทั้งทาง fuse. และกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (Thai Media Fund) จะยังคงสนับสนุนพื้นที่ให้เยาวชนได้สร้างสรรค์สื่อเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมบันเทิงประเทศไทย

ทั้งนี้ผลงานที่ได้รับรางวัล มีรวมทั้งหมด 14 รางวัล ประกอบด้วย

1. Best Film Award (ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า)
– The Sound of Blooming Flowers เสียงดอกไม้บาน โดย บัญญพนต์ ไชยทอง

2. Best Film Award (ระดับอุดมศึกษาและมากกว่าหรือเทียบเท่า)
– Sharenting โดย ธนภัทร พ่วงสุวรรณ, องค์อร จงประสิทธิ์

3. Best Documentary Film Award (ระดับอุดมศึกษาและมากกว่าหรือเทียบเท่า)
– 600 Miles โดย เจษฎา ขิมสุข

4. Best Animation Film Award (ระดับอุดมศึกษาและมากกว่าหรือเทียบเท่า)
– Sharenting โดย ธนภัทร พ่วงสุวรรณ, องค์อร จงประสิทธิ์

5. Best Director Award (ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า)
– บัญญพนต์ ไชยทอง จาก The Sound of Blooming Flowers เสียงดอกไม้บาน

6. Best Director Award (ระดับอุดมศึกษาและมากกว่าหรือเทียบเท่า)
– ธีรดา จิตต์ใจฉ่ำ จาก ฉิงชู

7. Best Performance Award (ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า)
– สุนิษา ถือศีล จาก Heart to Heart

8. Best Performance Award (ระดับอุดมศึกษาและมากกว่าหรือเทียบเท่า)
– ชมพูนุท จิรานันท์สิริ จาก The Dog หมาหัวเน่า และ พัชรกันย์ ศาลาวงศ์ จาก ฉิงชู

9. Best Screenplay Award (ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า)
– เสียงไร้สัญชาติ โดย อัมพล วงค์ปันนา

10. Best Screenplay Award (ระดับอุดมศึกษาและมากกว่าหรือเทียบเท่า)
– Shelf Life ชีวิตชั้น โดย ฐิตาภรณ์ ชูโต

11. Best Cinematography Award (ระดับอุดมศึกษาและมากกว่าหรือเทียบเท่า)
– เฮมิเมตา โดย กฤษฎา บุญฤทธิ์

12. Best Art Direction Award (ระดับอุดมศึกษาและมากกว่าหรือเทียบเท่า)
– ฉิงชู โดย ภัทราพร ไตรย์เทน, ศิษฏ ศรียาภัย

13. Best Film Editing Award (ระดับอุดมศึกษาและมากกว่าหรือเทียบเท่า)
– Sharenting โดย ธนภัทร พ่วงสุวรรณ

และ 14. Best Recording and Sound Mixing Award (ระดับอุดมศึกษาและมากกว่าหรือเทียบเท่า) – เฮมิเมตา โดย ฐิติพงษ์ กลั่นชื่น, ธนธรณ์ วีรดิษฐกิจ

‘เป้าหมายของโครงการนี้ เพื่อสร้างพื้นที่ให้เยาวชนคนทำหนัง มีโอกาสต่อยอดและสร้างสรรค์ผลงาน รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์โดยเยาวชน พัฒนาศักยภาพของผู้ผลิตสื่อรุ่นใหม่ ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนสามารถใช้สื่อในการพัฒนาตนเองและสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง เพื่อให้เกิดการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึงผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์’
ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน กล่าว

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้คะเนน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระดับผ่านดี ด้วยคะเเนน 91.11

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้คะเเนน ITA การประเมินคุณธรรม และความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ระดับผ่าน   ด้วยคะเเนน 91.11

แบบฟอร์มการขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและแบบฟอร์มแจ้งเหตุรั่วไหลของข้อมูล

A Time To Fly : บินล่าฝัน ผลงานผู้รับทุนกองทุนสื่อ ลงโรงฉายรอบปฐมทัศน์แล้ว

ภาพยนตร์แห่งความภาคภูมิใจ   “A Time To Fly” บินล่าฝัน รอบปฐมทัศน์ ได้เวลาปลดปล่อยให้ความฝันได้โบยบิน สำหรับภาพยนตร์น้ำดี “A Time To Fly…บินล่าฝัน” ที่จัดกิจกรรมเปิดตัว
การฉายภาพยนตร์รอบปฐมทัศน์
12 กันยายน 2566 

ณ โรงภาพยนตร์สยามภวาลัย ศูนย์การค้าสยามพารากอน

ผลงานผู้รับทุนของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยบริษัท อิเมจิแมกซ์ จำกัด ฝีมือการกำกับของ โส่ย-ศักดิ์ศิริ คชพัชรินทร์

นำแสดงโดย โบกี้ – ด.ช.ศุภัช ท้าวสกุล, นักแสดงสาวมากฝีมือ เอ๋-มณีรัตน์ คำอ้วนแมน-ธฤษณุ สรนันท์ และ มารินดา แฮปลิน ผนึกกำลังร่วมถ่ายทอดเรื่องราวของคนตัวเล็ก ๆ แต่ใจสู้เกินร้อย “หม่อง ทองดี” อดีตเด็กไร้สัญชาติที่ใช้เวลา 19 วินาที สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย แต่ใช้เวลาถึง
20 ปีกว่าจะบรรลุความฝันของเขา

“A Time To Fly…บินล่าฝัน” ภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าถึงเส้นทางบินล่าฝันของ “เด็กชายหม่อง ทองดี” ในช่วงวัย 7-8 ขวบที่ได้เป็น ตัวแทนโรงเรียนบ้านห้วยทราย จ.เชียงใหม่ ไปร่วมแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับ ระดับภูมิภาค จนชนะได้ไปแข่งระดับประเทศ และได้แชมป์ประเทศไทยไปแข่งระดับนานาชาติที่ประเทศญี่ปุ่น

แต่มาติดปัญหาตรงที่เขาเป็นเด็กไร้สัญชาติ ทางการออกพาสปอร์ตให้ไม่ได้ จึงเกิดการรวมตัวของอาจารย์ นักวิชาการ นักกฎหมาย และสื่อมวลชน ที่พยายามช่วยผลักดันให้น้องหม่อง ได้ไปแข่งขันภายใต้เวลาอันจํากัดที่กําลังจะหมดลง

ไฮไลท์สำคัญของการจัดกิจกรรมฉายภาพยนตร์รอบปฐมทัศน์ คือการเชิญ ‘หม่อง ทองดี’ คนต้นเรื่อง ที่นอกจากชีวิตของเขาจะถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ “A Time To Fly บินล่าฝัน” แล้ว ยังเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกคนสู้เพื่อฝัน ในงานนี้

หม่อง ทองดี มาพร้อมกับ น้ำผึ้ง-กานต์ธีรา เตชะภัทรธนากุล มิสยูนิเวิร์ส ไทยแลนด์เชียงใหม่ 2566 และ พลอย-ยลฤดี ปิยะทัต รองประธานสมาพันธ์สมาคมนิสิตนักศึกษาแพทย์ นานาชาติ Director at SCOPH Thailand and Community Outreach at AMSA-Thailand ซึ่งทั้ง 3 คนเป็นอดีตเด็กไร้สัญชาติที่สร้างโอกาสให้ตัวเองจนต่อยอดความฝันสำเร็จ และขณะเดียวกันก็ได้รับโอกาสที่ดีและความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลด้วย

ภายในงานได้รับเกียรติจาก ดร.ยุพา ทวีวัฒนกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม , ประธานอนุกรรมการบริหาร กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, นายธนกร ปุลิเวคินทร์ ประธานสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ, นายกันต์พงษ์ ประยูรศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล, นายสาธิต วงศ์อนันต์นนท์ ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, นายอธิวัฒน์ ธาดาศรีสวัสดิ์ ผู้อำนวยการกองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ

ดร.ศรัณยุ หมั้นทรัพย์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า, นายชัยยศ เจริญกิจกำจร ผู้อำนวยการกองภาพยนตร์และวีดิทัศน์, นายพาริส กันเทพา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม, ผู้กำกับ โส่ย-ศักดิ์ศิริ  คชพัชรินทร์  หม่อง ทองดี, น้ำผึ้ง-กานต์ธีรา และ พลอย-ยลฤดี และนักแสดง น้องโบกี้ – ด.ช.ศุภัช, แมน-ธฤษณุ และ น้องมารินดา

A Time to fly บินล่าฝัน มีกำหนดเข้าฉายพร้อมกันทุกโรงภาพยนตร์ ในเครือเอสเอฟ ซีเนม่า และเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์   ตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน 2566 เป็นต้นไป