เลือกหน้า

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ “TMF Read for the Blind” เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

(21 สิงหาคม 2567) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จัดกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ “TMF Read for the Blind” เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ณ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี กรุงเทพมหานคร

ร้อยโท ดร.ธนกฤษฏ์ เอกโยคยะ รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่และบุคลากรของสำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ร่วมกันบริจาคมาสคอสและหนังสือนิทานเด็ก ณ สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี เป็นสถานสงเคราะห์เด็กหญิงอายุตั้งแต่ 5 – 18 ปี ที่ขาดผู้อุปการะ ครอบครัวยากจนหรือครอบครัวที่ประสบปัญหา ได้รับการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมและถูกทอดทิ้ง ซึ่งสถานสงเคราะห์เป็นหน่วยงานอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

นอกจากนี้ยังได้ร่วมกันทำสมุดหน้าที่สามเพื่อผู้พิการทางสายตา  ทำสื่อสำหรับผู้พิการโดยการอ่านหนังสือเสียง และผลิตสื่อที่เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษสำหรับผู้พิการทางสายตา ณ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ก่อตั้งขึ้นจากแนวความคิดของมิสเจนีวีฟ คอลฟิลด์ สตรีตาบอดชาวอเมริกัน ที่มีความมุ่งมั่นและต้องการช่วยเหลือผู้พิการทางการเห็น ซึ่งเริ่มก่อตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอดขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย โดยร่วมกับนักศึกษาไทยประดิษฐ์อักษรเบรลล์ภาษาไทยขึ้น ต่อมามีผู้มีจิตกุศลช่วยเหลือและสนับสนุนร่วมกันจัดตั้งมูลนิธิชื่อว่า “มูลนิธิช่วยให้การศึกษาแก่คนตาบอดในประเทศไทย

ณ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์
และสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี กรุงเทพมหานคร

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “สูงวัยหัวใจยังเวิร์ก” ปีที่ 3 กระตุ้น Active Aging

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์  โดย ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ   “สูงวัยหัวใจยังเวิร์ก” ปีที่ 3 เพื่อพัฒนาผู้สูงอายุให้ก้าวทันเทคโนโลยี ลดช่องว่างระหว่างวัย และกระตุ้นเรื่อง Active Aging คือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย พร้อมความสนุกสนาน มิตรภาพระหว่างกัน  รวมไปถึงสร้างความผูกพันเป็นคอมมูนิตี้ให้กับการเข้าร่วมอบรม  นอกเหนือจากนั้นยังจัดหนัก จัดเต็มในภาคทฤษฎี กับเนื้อหาการอบรมทักษะผลิตสื่อ เพื่อการผันตัวเป็นอินฟลูเอนเซอร์สูงวัยที่ได้มาตรฐาน อีกทั้งสามารถใช้ประสบการณ์ช่วยเหลือสังคมในการคิด แยกย้าย วิเคราะห์ และรู้เท่าทันสื่อปลอม ที่มาหลอกลวงได้ 

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แล้ว โดยมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ส่งผลต่อการขับเคลื่อนสังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากร ในขณะที่ภูมิทัศน์สื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างผันผวน ทั้งรูปแบบ และการใช้งานสี่อ โดยที่ผ่านมาพบว่า *** มีผู้สูงอายุตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงออนไลน์เป็นจำนวนมาก แต่ในอีกทางก็มีผู้สูงอายุที่สามารถใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์ได้ดีเช่นกัน (จากข้อมูล ในปี 2567 ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” (Complete Aged Society) ที่ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป จะมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ โดยผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เข้าถึงและใช้งานอินเทอร์เน็ต เฉลี่ย 2 – 3 ชั่วโมง ต่อวัน และช่วงอายุ 50 – 54 ปี ที่กำลังจะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ ใช้งานอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยสูงถึง 4 – 5 ชั่วโมง ต่อวัน ทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีพฤติกรรม พบว่า กิจกรรมยอดนิยม คือ การใช้โซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสาร แบ่งปัน มีส่วนร่วม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น รูปภาพ ข้อความวิดีโอ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ร่วมกัน ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงได้ง่ายที่สุด และยังเกิดกระแสทำคลิป reels สร้างรายได้ในกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้นอีกด้วย)

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และมีส่วนสำคัญต่อประเทศเป็นอย่างมาก กองทุนจึงได้ดำเนินโครงการส่งเสริมผลิตเนื้อหาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์สำหรับผู้สูงอายุ มาแล้ว 2  ปี ภายใต้ชื่อโครงการ  “สูงวัยหัวใจยังเวิร์ก” ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้เพื่อพัฒนาศักยภาพการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับผู้สูงอายุ ในการดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย และส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีและมีส่วนร่วมกับครอบครัว ชุมชน และสังคม สามารถปรับตัวไปกับเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาเสริมสร้างคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ และสร้างผลผลิตให้สังคมได้ สะท้อนจากผลของโครงการในปีที่ 1 และปีที่ 2 อีกด้วย

สำหรับโครงการ “สูงวัยหัวใจยังเวิร์ก” นี้ ได้รับความสนใจจากสื่อทั้งในประเทศ และต่างประเทศที่เป็นโครงการต้นแบบที่ช่วยลดช่องว่างระหว่างช่วงวัย จึงมีจุดมุ่งหมายนำไปขยายผลในวงกว้างมากขึ้น นำมาซึ่งการดำเนินโครงการต่อเนื่องสู่ปีที่  3 โดย จัดอบรมทักษะการผลิตสื่อ ให้มีประสิทธิภาพ และเพิ่มเติมความรู้ใหม่ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) แพลตฟอร์ม Tiktok  รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อสำหรับผู้สูงอายุให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของสื่อในปัจจุบัน และสร้างเครือข่ายรวมกลุ่มผู้อบรมทั้ง 3  รุ่น ประสานพลังความร่วมมือโดยมีเป้าหมายสร้างคลับจิทัล (ดิจิคลับ) สำหรับผู้สูงอายุ  เพื่อเสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าของตนเอง ว่าสามารถสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข

โดย ดร.ธนกร  ศรีสุขใส ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า  เรามีความภูมิใจอย่างมาก จากโครงการ 2 ปีที่ผ่านมา เราได้รับความสนใจจากสื่อต่างประเทศ มาทำสกู๊ปข่าว  เรื่องการสร้างสัมพันธ์ภาพระหว่างวัย ผ่านโครงการสูงวัยหัวใจยังเวิร์ก และการปรับตัวของผู้สูงอายุในประเทศไทยเข้าสู่สังคมดิจิทัล โดยสังคมไทยในวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและหลากหลายมิติ ทั้งนี้สังคมไทยมีผู้สูงอายุประมาณ 14 ล้านคน และนอกจากนี้อัตราการใช้สื่อออนไลน์ของไทย มีสัดส่วนผู้สูงอายุ เข้าถึงมากกว่าประเทศอื่น ๆ อีกด้วย โดยส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมักจะประสบภัยออนไลน์เยอะมาก ทั้งนี้โครงการสูงวัยหัวใจยังเวิร์ก มี 3 เป้าหมายหลัก ด้านที่หนึ่งสื่อมีผลกระทบต่อทุกคนและในผู้สื่ออายุต้องปรับตัว ที่ 2 ทำอย่างไรให้ทุกคนที่ใช้สื่อออนไลน์รู้เท่าทัน และไม่ตกเป็นเหยื่อ ซึ่งเราได้ให้องค์ความรู้ที่เข็มแข็ง ฉะนั้นการสื่อดิจิทัล เราจึงเน้นเป็นหนึ่งสาระสำคัญของทำโครงการนี้ต่อเนื่องทุกปี

อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ 3 การให้ผู้สูงอายุได้มีพื้นที่ในการปล่อยของ ไม่ว่าจะมาเป็น อินฟลูเอนเซอร์ หรือคอนเทนท์ครีเอเตอร์ได้   โดยมีผู้สอน การตัดต่อ พร้อมทั้งตรวจสอบว่าภาพและเสียงที่นำมาใช้มีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ โดยในปีนี้มีความแตกต่างด้วย โครงการได้ขยายกลุ่มเป้าหมาย โดยเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็น 350 คน ซึ่งมีการทำกิจกรรมทั้งออนไซต์และออนไลน์ สำหรับกระแสตอบรับที่ผ่านของโครงการสูงวัยหัวใจยังเวิร์ก  ด้าน ดร. ธนกร  ศรีสุขใส  เปิดเผยว่า มีการเติบโตขึ้นพอสมควร ผู้เข้าร่วมโครงการมาเป็นเครือข่ายผู้สูงอายุที่รู้เท่าทันสื่อ ซึ่งนี้คือต้นทุนทางสังคม เป็นทุนมนุษย์ที่มาช่วยกันทำหน้าที่ดูแลสังคม ดังนั้นจึงเปิดชมรม DIGI CLUB ที่ให้ทุกคนได้มาใช้ในพื้นที่พร้อมทั้งยังเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ และดูแลซึ่งกัน ดูแลคนรอบข้าง รวมถึงการเพิ่มความสนุก ด้วยการใช้เพลงมาทำกิจกรรมอีกด้วย

ด้าน นายเทินพันธ์ แพนสมบัติ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาสื่อสำหรับประชาชน กล่าวถึงรายละเอียดโครงการฯ ว่า

ปีนี้ โครงการสูงวัยหัวใจยังเวิร์ก 3  เน้นส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเป็น Active Aging สร้างการรวมกลุ่ม แสดงพลังอย่างสร้างสรรค์ และมีความสุขในช่วงเวลาที่มีเวลาเป็นของตนเองอย่างอิสระ ความพิเศษเพิ่มเติมคือเราจะมี เพลงและมิวสิกวิดีโอ ที่มีเนื้อหาสร้างกำลังใจ สร้างสรรค์โดย คุณสุเทพ ประยูรพิทักษ์  นอกจากนั้นโครงการ “สูงวัยหัวใจยังเวิร์ก”ปีที่  3 ยังมีการเพิ่มทักษะของการอบรมความรู้ใหม่ โดยแบ่งออกเป็น ๕ หลักสูตร ดังนี้ 1. YOLD Creator ผลิตสื่อด้วยโทรศัพท์มือถือ  2. YOLD Storyteller นักเล่าเรื่องออนไลน์วัยเก๋า 3. YOLD Digital Literacy  รู้ทันสื่อ ต่อต้านข่าวลวง ข่าวปลอม 4. YOLD Influencer สร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ 5. AI For senior รู้จัก เข้าใจ ใช้ประโยชน์ จาก AI โดยโครงการสูงวัยหัวใจยังเวิร์ก 3 มีการอบรมทั้งแบบออนไลน์ และออนไซต์ และยังมีเพลงสูงวัยหัวใจยังเวิร์ก และมิวสิกวิดีโอ ที่มีเนื้อหาสร้างกำลังใจ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเป็น Active Aging สร้างการรวมกลุ่ม แสดงพลังอย่างสร้างสรรค์ พร้อมท่าเต้นช่วยฝึกสมองประกอบเพลงสูงวัยหัวใจยังเวิร์ก ให้มีความสุขในช่วงเวลาที่มีเวลาเป็นของตนเองอย่างอิสระ 

รวมทั้งดิจิคลับ โดยศึกษาเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ได้ทุกที่ทุกเวลา ผู้สูงวัยสามารถเข้าร่วมกิจกรรม ดิจิคลับไลฟ์ ที่จัดขึ้นทุกวันพฤหัสบดี ทาง Facebook : สูงวัยหัวใจยังเวิร์ก โดยมีทั้งหมด ๕ คลาส ดังต่อไปนี้

  1. DIGI CLUB คลาส เต้นต้านโรค สุดมันส์เพราะหัวใจมันยังเวิร์ก โดย ครูมาร์ค ธีระธาดา จีนจะโป๊ะ
  2. DIGI CLUB คลาส ศิลปะ วาดสีสันชีวิต โดย ลุงน้อย สุรินทร์ สนธิระติ
  3. DIGI CLUB คลาส ปรับบุคลิกภาพ แต่งหน้า ปรับลุกส์ โดย โค้ชวีณา ทองแถม ณ อยุธยา
  4. DIGI CLUB คลาส อาหารตา อาหารใจ กินอย่างไรให้มีความสุข โดย ครูป๊อบ อักขราทร ศิลปี
  5. DIGI CLUB คลาส บอร์ดเกม ฝึกสมอง โดย กานต์ มานะแก้ว จากสมาคมบอร์ดเกม ฯลฯ โดยการอบรมบ่มเพาะทักษะการผลิตสื่อนั้น ยังมีบัดดี้คนรุ่นใหม่ที่เป็นอาสาสมัคร เป็นเพื่อนคอยดูแลให้คำปรึกษาตลอดโครงการฯ  สร้างความเข้าใจเทคโนโลยีและลดช่องว่างระหว่างวัยให้กับสังคม

    ทั้งนี้สามารถติดตามกิจกรรมและความคืบหน้าโครงการฯ ทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์ ได้ที่   Facebook , Tiktok , Youtube : สูงวัยหัวใจยังเวิร์ก

    กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จับมือ กรมสุขภาพจิต สานพลัง สร้างสรรค์สื่อ เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตสู่สังคม

    15 สิงหาคม 2567 กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดย ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้ลงนามความร่วมมือกับ นายแพทย์พงศ์เกษม ไข่มุกด์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต โดยมีผู้บริหาร ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุน และ นายแพทย์จุมภฏ พรมสีดา รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ร่วมลงนามเป็นพยาน พร้อมคณะผู้บริหารเจ้าหน้าที่ของกองทุนสื่อและเจ้าหน้าที่กรมสุขภาพจิตเป็นสักขีพยานความร่วมมือ

    ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว อาคาร 1 กรมสุขภาพจิต

    ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์ในการรณรงค์ ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สนับสนุนการจัดทำเนื้อหา (Content) ที่เป็นสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สร้างประโยชน์ให้กับสังคม ปัจจุบันนี้ความเครียดเป็นเรื่องที่ทุกคนต่างต้องเผชิญและรับมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่ปัจจัยหลายๆอย่าง เป็นตัวเร่งความเครียดของคนมากขึ้น การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ จึงมีเป้าหมายคือการผลิตสื่อที่ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะความเครียด ปัญหาความเครียด หรือ สุขภาพจิต โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตให้เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม ผ่านทางแพลตฟอร์มระหว่างสองหน่วยงานที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำเนื้อหา ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะความเครียด ปัญหาความเครียดและสุขภาพจิต และกำหนดรูปแบบของสื่อที่จะใช้ในการสื่อสารเผยแพร่เนื้อหาเพื่อร่วมเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ผลงานและกิจกรรมด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ดำเนินการร่วมกันระหว่างสองหน่วยงานให้ภาคีเครือข่าย ภาคส่วนต่างๆ และประชาชนได้รับทราบ เข้าใจ เข้าถึง และนำไปใช้ประโยชน์ และ เพื่อส่งเสริมและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และบุคลากร

    นายแพทย์พงศ์เกษม ไข่มุกด์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การส่งเสริมเชิงนโยบายเพื่อการสร้างสรรค์สื่อเพื่อนำไปสู่ป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตสำหรับประชาชน มีเป้าหมายสำคัญในการเสริมสร้างความเข้าใจและสนับสนุนการสร้างความรอบรู้สุขภาพจิตในสังคม โดยประชาชนทุกคนมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลและความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพจิต เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพจิตของตนเองและคนรอบข้างได้อย่างเหมาะสม การส่งเสริมการสร้างสรรค์สื่อควรคำนึงถึงความเป็นธรรมในการเข้าถึงข้อมูล โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง หรือกลุ่มที่มีความเปราะบางทางสังคม ซึ่งความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นภายใต้ความรู้ในเชิงวิชาการจากกรมสุขภาพจิต และทักษะรวมไปถึงองค์ความรู้
    ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์สื่อที่มีคุณภาพจะช่วยเพิ่มการตระหนักรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต และวิธีการดูแลสุขภาพจิตที่ถูกต้องภายใต้ความเชี่ยวชาญของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จะสามารถช่วยลดอคติและตราบาปที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพจิต เพื่อให้สังคมมีความเข้าใจและสนับสนุนบุคคลที่เผชิญกับปัญหานี้มากขึ้น อีกทั้งสื่อที่ถูกสร้างสรรค์อย่างเหมาะสมสามารถช่วยแนะนำและเชื่อมโยงประชาชนกับบริการสุขภาพจิตที่มีคุณภาพ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนสามารถรับการรักษาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

    โดยบันทึกข้อตกลงความร่วมมือมีรายละเอียด ดังนี้
    1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ผ่านการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตทางแพลตฟอร์มระหว่างสองหน่วยงานที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง
    2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำเนื้อหา (Content) ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะความเครียด ปัญหาความเครียดและสุขภาพจิต และกำหนดรูปแบบของสื่อที่จะใช้ในการสื่อสารเผยแพร่เนื้อหา
    3. เพื่อร่วมเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ผลงานและกิจกรรมด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ดำเนินการร่วมกันระหว่างสองหน่วยงานให้ภาคีเครือข่าย ภาคส่วนต่างๆ และประชาชนได้รับทราบ เข้าใจเข้าถึง และนำไปใช้ประโยชน์
    4. เพื่อส่งเสริมและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และบุคลากร รวมตลอดถึงการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างสองหน่วยงาน ภายใต้กรอบกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับของทั้งสองหน่วยงานรวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

    กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จับมือกับบริษัท เนกซ์สเตป จำกัดมุ่งพัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนไทยผ่านโครงข่ายกู๊ดทีวี และ ช่องรายการ Thainess TV

    7 สิงหาคม 2567 กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดย ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้ลงนามความร่วมมือกับ นายอมรภัทร ชมรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เนกซ์สเตป จำกัด โดยมีผู้บริหาร ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนสื่อ และ นายไพศาล จารุรัตนรงค์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เนกซ์สเตป จำกัด ร่วมลงนามเป็นพยาน พร้อมคณะผู้บริหารเจ้าหน้าที่ของกองทุนสื่อ และเจ้าหน้าที่บริษัท เนกซ์สเตป จำกัดร่วมเป็นสักขีพยานความร่วมมือ

    ณ สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

    ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ บริษัท เนกซ์สเตป จำกัด มีภารกิจและความมุ่งมั่นในการทำงานที่ใกล้เคียงกัน โดยการร่วมมือกันในวันนี้ จะนำคอนเทนท์ของประเทศไทย เผยแพร่ออกสู่สากล เพื่อนำไปสู้กับต่างประเทศ โดยใช้แพลตฟอร์มและช่องทางการเผยแพร่ ที่มีอยู่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    ในการลงนามความร่วมมือในวันนี้ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มุ่งมั่นในการเปิดพื้นที่การเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะพื้นที่ในสื่อ ที่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถและแสดงศักยภาพ และเชื่อว่ากองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จะหนุนเสริมบทบาทของเด็กและเยาวชนในการเป็น young content creators เสริมบทบาทของผู้ผลิตสื่อหน้าใหม่ ขับเคลื่อนสังคมอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

    นายอมรภัทร ชมรัตน์ ตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เนกซ์สเตป จำกัด กล่าวว่า บริษัท เนกซ์สเตป จำกัด ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะมุ่งพัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนไทย และสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพในการเผยแพร่เนื้อหาคุณค่าความเป็นไทย (Thainess TV) โดยเป็นผู้ทำโครงข่ายกู๊ดทีวีและช่องรายการ Thainess TV เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ทั้งสองฝ่ายจึงมีแนวคิดและวัตถุประสงค์ร่วมกันในการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และการสร้างมูลค่าจากประเด็นทางวัฒนธรรม (Soft Power) ผ่านโครงข่ายกู๊ดทีวี และ ช่องรายการ Thainess TV จึงได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ

    ทั้งนี้ MOU ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
    1.จัดสรรช่องทางในการนำสื่อประชาสัมพันธ์และผลงานของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ออกอากาศในโครงข่ายกู๊ดทีวีและช่องรายการ Thainess TV เพื่อเป็นการสนับสนุนการทำงาน ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
    2.ร่วมมือในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร รายการที่เหมาะสมเพื่อการสร้างมูลค่าจากประเด็นทางวัฒนธรรม (Soft Power) ผ่านโครงข่ายกู๊ดทีวีและช่องรายการ Thainess TV อย่างเหมาะสมและเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ
    3.ร่วมมือกันประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบการทำงานร่วมกัน
    4.สนับสนุนผลงาน โดยนำผลงานจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ไปเผยแพร่ผ่านโครงข่ายกู๊ดทีวี และ ช่องรายการ Thainess TV

    กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พร้อมสนับสนุนแนะนำวิทยากรผู้เชี่ยวชาญรู้เท่าทันสื่อ Media Literacy Expert (MeLEx)

    กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พร้อมสนับสนุนแนะนำวิทยากรผู้เชี่ยวชาญรู้เท่าทันสื่อ Media Literacy Expert (MeLEx)

    กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ดำเนินการจัดอบรมเพื่อสร้างต้นแบบเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญรู้เท่าทันสื่อ Media Literacy Expert (MeLEx)  เพื่อพัฒนาศักยภาพและขยายเครือข่ายบุคลากรด้านสื่อให้มีความเชี่ยวชาญในการส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ  ภายใต้ โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อ และเฝ้าระวังสื่อไม่ปลอดภัยและสร้างสรรค์แก่เด็ก และเยาวชน รวมถึงประชาชนทั่วไปให้เป็นผู้เชี่ยวชาญรู้เท่าทันสื่อ และรวบรวมรายชื่อผู้เชี่ยวชาญรู้เท่าทันสื่อ Media Literacy Expert (MeLEx) เพื่อจัดทำฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญในการส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

    ผู้เชี่ยวชาญรู้เท่าทันสื่อ Media Literacy Expert (MeLEx)  หมายถึง นักวิชาการ ผู้ผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งมีประสบการณ์และสามารถถ่ายทอดทักษะองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนโดยเฉพาะเด็ก เยาวชนและครอบครัวมีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ เฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ และสามารถใช้สื่อในการพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคม รวมถึงผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญรู้เท่าทันสื่อ Media Literacy Expert (MeLEx)

    หากท่านสนใจให้กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ แนะนำวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการรู้เท่าทันสื่อ ในประเด็น การวิเคราะห์/การรู้เท่าทันสื่อ การผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ การจัดกิจกรรมเรียนรู้ ฯลฯ
    สามารถส่งข้อความสอบถามทาง Facebook : Media Literacy Expert – MeLEx 
    ลิ้งก์ https://www.facebook.com/profile.php?id=61554912476879

    Media Literacy Expert – MeLEx