เลือกหน้า

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ รับรางวัล Best Performance Award จาก สกมช. ในงาน Prime Minister Award Thailand Cybersecurity Excellence Awards 2024 เชิดชูองค์กรเด่นด้านไซเบอร์ผลักดันองค์กรไทยสู่มาตรฐานความปลอดภัยไซเบอร์

(13 ม.ค. 68) สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) จัดพิธีมอบรางวัลอันทรงเกียรติ “Prime Minister Awards : Thailand Cybersecurity Excellence Awards 2024” เพื่อเชิดซูองค์กรที่มีผลงานโดดเด่นด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศไทย และเสริมสร้างบทบาทของประเทศในฐานะศูนย์กลางความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งภูมิภาคอาเซียน โดยมี ดร.ณหทัย ทิวไผ่งาม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย พลอากาศตรี อมร ชมเชยเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ร่วมเป็นเกียรติในงาน ท่ามกลางตัวแทนจากหน่วยงานรัฐ หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (CI) บริษัทเอกชน ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัย (CERT) และผู้ให้บริการระบบคลาวด์ (CSP) ณ โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น ภายในงานได้มอบรางวัลให้กับองค์กรที่แสดงถึงความเป็นเลิศด้านไซเบอร์ใน 3 ประเภทสำคัญ ได้แก่

1. Best Performance Award สำหรับองค์กรที่มีผลงานโดดเด่นในการป้องกันและรับมือภัยคุกคามไซเบอร์

2. Most Contribution Award สำหรับองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถด้านไซเบอร์ของประเทศ

3. Special Awards สำหรับองค์กรที่สร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในอุตสาหกรรมความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

ดร.ณหทัย ทิวไผ่งาม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัล โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ความสามารถในการป้องกันภัยคุกคามและสร้างความเชื่อมั่นให้กับระบบดิจิทัลถือเป็นสิ่งจำเป็น งานนี้สะท้อนถึงความสำเร็จขององค์กรไทยที่สามารถรับมือกับความท้าทายระดับโลกและส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมถึงเน้นย้ำให้ความสำคัญกับการดูแล รักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยสนับสนุนการกำกับ ดูแล ให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ พร้อมเดินหน้าพัฒนาตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านไซเบอร์ของไทยให้ทัดเทียมสากล และเชื่อมั่นว่าความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในวันนี้จะเป็นรากฐานสำคัญที่ผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลให้เติบโตอย่างมั่นคง ยั่งยืน”

พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในนามของ สกมช. ขอแสดงความยินดีกับทุกหน่วยงานที่ได้รับรางวัลในวันนี้ ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาขีดความสามารถด้านไซเบอร์ขององค์กรไทย รางวัลเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงเกียรติยศ แต่เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการยกระดับมาตรฐานไซเบอร์ในทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น การลงทุนในด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จึงไม่ใช่เรื่องทางเลือก แต่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ประเทศไทยพร้อมที่จะก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของอาเซียนพร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและประชาชนในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล”

โดยภายในงาน Prime Minister Award Thailand Cybersecurity Excellence Awards 2024 ร้อยโท ดร. ธนกฤษฏ์ เอกโยคยะ รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นผู้แทนกองทุนพัฒนาสื่อฯ เข้ารับมอบรางวัล Best Performance Award องค์กรที่มีผลงานโดดเด่นในการป้องกันและรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ ซึ่งผู้ได้รับรางวัลทุกประเภทได้รับการประเมินจากเกณฑ์ที่เข้มงวด ครอบคลุมทั้งด้านการบริหารความเสี่ยง การปฏิบัติตามมาตรฐานสากล เช่น ISO 27001 และ GDPR รวมถึงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร

กองทุนสื่อ มอบสื่อปลอดภัยเเละสร้างสรรค์ในงานวันเด็กเเห่งชาติ ประจำปี 2568

(11 ม.ค. 68) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยเเละสร้างสรรค์ ร่วมจัดกิจกรรมในงานวันเด็กเเห่งชาติ ประจำปี 2568 ณ สำนักงาน กสทช. ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ และความสนุกสนาน ผ่านกิจกรรมสื่อปลอดภัยเเละสร้างสรรค์ ให้เป็นของขวัญให้กับเด็กเเละเยาวชน โดยมีกิจกรรมเล่านิทาน จากพี่ ๆ มูลนิธิเมล็ดฝัน กิจกรรม Fun for Kids with Thai Media Fund และกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการและทักษะสร้างสรรค์จินตนาการให้กับเด็กและเยาวชนที่มาร่วมงาน

Do Thais Enjoy Social Media Just For Fun?Evolving Social Media Trends and Thai Digital Citizenship

The online sensation that is “Moo Deng” the Pygmy hippo and the hashtag #ไฟไหม้รถบัส (#BusCaughtFire), around vehicle safety standards following an accident that killed over 20 primary school students, show the dynamics in the Thai social media – raises an important question of how social media – as it evolves from a source of connectivity and entertainment into a pivotal tool for activism and civic engagement – can contribute to “digital citizenship” in Thailand.

The internet and digital technology are integrated into the everyday lives of Thais. In early 2024, the Internet penetration index was 88% and 68.3% of the population had at least one active social media account. In the same year, Facebook was the most popular social media platform, used by over 90% of internet users, followed by TikTok (83%), Instagram (64.5%) and X (formerly Twitter) (49.6%). Thais utilise social media primarily as a source of information and communication.

Given this, understanding social media trends is crucial to grasp contemporary digital behaviours and explore the broader dynamics of Thai society. Social media not only mirrors cultural interests and lifestyles but also underscores the concept of “digital citizenship” – the active engagement of citizens with society, politics and governance through digital means.

This article introduces a study conducted by Wisesight, a social media analytics company, which monitored Thai social media trends from 2022 to the first half of 2024. The research was supported by the Thai Media Fund through its “Media Alert” project. Thai Media Fund is a public agency dedicated to promoting media literacy and responsible media use.

The study provides an examination of how digital platforms influence public engagement in Thailand, focusing on the types of content that have dominated discussions and generated significant engagement during this period. Furthermore, the article explores the intersection of social media and socio-political advocacy, presenting some key findings from the research that illustrate how these platforms can shape public engagement and foster digital citizenship.

Figure 1: Number of Content Categories Appearing in the Top 10 Engagement List Each Year

Social Media Trends in Thailand, From 2022 – First Half of 2024

Social media serves as a platform for discussions on a wide array of topics. Some of the most discussed subjects from 2022 to 2024 (first half) are those that revolve around the media and entertainment industry, social issues (particularly crimes and accidents) and politics. Then there are instances of event-specific content like festivals and sports. Figure 1 shows the diverse interests of the Thai population and highlights how social media acts as a barometer for public sentiment. See below what categories appeared in each year’s top ten lists of content most engaged.

Taking a broader look into the top 120 content each year (top ten monthly for 12 months), 60 for the first half of 2024 (Figures 2–4), no singular topic “dominated” the social media sphere. “Crime & Accidents” accounted for 30% of total social media engagements (encompassing views, likes, shares, and comments). This was followed closely by “Politics” and “Media & Entertainment”, both at 21%. Notable events that sparked significant engagement include the sudden death of Thai celebrity Nida Patcharaveerapong (or “Tang Mo”), which captivated the public with suspense and intrigue. Similarly, the Bangkok gubernatorial election and other political developments generated heightened interest in domestic politics. In addition, international events such as the World Cup and the Russia-Ukraine war also captured social media attention. For a detailed overview, refer to Figure 2 below.

Figure 2: Social Media Engagements in 2022, Categorised by Theme

In 2023, the social media landscape in Thailand underwent a significant transformation, largely influenced by the electoral cycle that occurred from April to August. Throughout the year, election-related content accounted for 58% of all engagements on social media, with nine out of the top ten trending topics in the year focused on political matters. Discussions encompassed a wide range of issues, including electoral campaigns, election results and government formation. After this period, the social media dynamics mirrored closely the dynamics seen in 2022, as “crime” and “media” saw an uptick in interest. See Figure 3.

Figure 3: Social Media Engagements in 2023, Categorised by Theme

In the first half of 2024, there was a notable resurgence of interest in “Media and Entertainment” on Thai social media. This trend encompassed a variety of discussions surrounding movies, TV shows, concerts and news related to celebrities and the entertainment industry. Trending hashtags were either in reaction to news related to individual celebrities, or specific events such as the launch of highly anticipated movies and TV shows. Such content accounted for around ⅔ of all engagements in the year. See Figure 4.

Figure 4: Social Media Engagements in 2024/1, Categorised by Theme

Socio-political Advocacy on Social Media Platforms

One of the key highlights of the study, as already alluded to in the previous section, is the visibility of political content on social media, which fluctuated significantly between electoral and non-electoral periods. In the months leading up to the general election on 14 May 2023 and in the subsequent months, Wisesight’s research found that political content dominated online discourse. Especially in May of 2023, “politics” was effectively the only topic discussed online. The surges in political engagement during these politically charged periods reveal a latent enthusiasm for political discourse among Thais. A similar surge was observed in May 2022 during the Bangkok gubernatorial election. These patterns underscore social media’s role as a powerful tool for public participation in political affairs.

Conversely, in non-electoral periods, discussions labelled as “politics” were significantly less prevalent. In 2022, political content accounted for only 20.7% of overall online engagement for
the year. In the first half of 2024, political discussions constituted only 2.6% of total engagements. Significant events, such as the Senate election taking place from May to June 2024, failed to generate traction in online discourse.

However, while engagement levels for explicitly “political” content surge during key events like elections, social media also serves as a platform for sustained advocacy on broader societal issues, even outside these periods. For example, online engagements during Pride Month celebrations in 2022 and 2023 extended beyond typical corporate campaigns and celebrity endorsements to include discussions around LGBTQI+ rights. These conversations, often linked
to legislative reforms of the same-sex marriage law, culminated in its passage in June 2024. By embedding these discussions within a wider social context, advocates not only bring visibility to crucial issues but also pressure policymakers to address the rights and concerns of the LGBTQI+ community. This demonstrates that, outside election cycles, social media remains a potent tool
for raising awareness and shaping public discourse around important social matters.

The Emergence and Dominance of TikTok

Among Thailand’s social media platforms, TikTok has become a critical tool for social advocacy and political engagement. Usage data shows that TikTok was adopted by 79% of Thai internet users in 2022, growing to 83% in 2023. In 2023, TikTok accounted for a remarkable 50% of all social media engagements, substantially higher than Facebook’s 23% share, despite Facebook being used by 90% of internet users. In 2024, despite a drop, it accounted for 39% of all engagements and is still ahead of other platforms. In 2024, despite a drop, it accounted for 39% of all engagements and is still ahead of other platforms. From 2023 to the first half of 2024, TikTok accounted for 47.9% of all engagements. See Figure 5.

Figure 5: Engagement Shares Across Platforms (2023 – First Half of 2024)
(TikTok was not included in the 2022 research

Wisesight’s research, which began including TikTok in its 2023 analysis onwards, highlights the platform’s sustained popularity in engaging users across various topics, especially “Media & Entertainment,” “Crime & Accidents,” and “Festivals.” A notable trend from the findings is TikTok’s ability to capture heightened engagement during socially and politically sensitive periods. For example, despite being a video-based platform which might make it more difficult to create real-time content, TikTok nevertheless received 7.3 million engagements (following X at 7.8 million) for content related to the 2023 Siam Paragon shooting.

During the 2023 general election campaign, TikTok emerged as a key platform for political outreach, particularly for the Move Forward Party, which leveraged the platform’s reach to connect with a broad voter base through compelling, short-form videos. The party’s campaign content accumulated over 300 million views on TikTok, marking a transformative shift in Thai election campaigning by demonstrating the effectiveness of short, engaging video formats for political messaging. Analysing the broader trends, internet users engage with “political” content on TikTok far more than on other platforms, with 54% of all “political” content being engaged in the TikTok platform.

Several factors contribute to TikTok’s rapid growth in Thailand. Its short, dynamic video format allows for quick content consumption, making it more engaging than traditional text-based platforms like Facebook and X (formerly Twitter), image-based Instagram, or long-form video platforms like YouTube. Furthermore, TikTok’s algorithm effectively tailors user-generated content that resonates with individual users – discussed in the next section – fostering a highly personalised and immersive experience.

 

The Role of User-generated Content in Shaping Online Discourses

The study also underscores the significant role of user-generated content (UGC) – content created by individual, everyday internet users rather than influencers or brands – in shaping online discourse in Thailand. UGC constituted 50% of all engagements on social media. This prevalence demonstrates the substantial influence of ordinary internet users in driving discussions and public sentiment on social media. In contrast, the content generated by government authorities and political parties accounted for less than 2.5% of total engagements in 2023 (Figure 6 below) and less than 0.01% of all engagements in the first half of 2024 (Figure 7).

Figure 6: Share of User-generated Content on Social Media in 2023

Figure 7: Share of User-generated Content on Social Media in the First Half of 2024

Platforms like TikTok epitomise the shift towards user-generated content (UGC), with 73% of all engagements on the platform in 2023 attributed to UGC. This UGC engagement constituted over a third of total social media interactions for that year. TikTok, alongside X (formerly Twitter), stands out as one of the few major platforms where UGC dominates, in contrast to Facebook, which is heavily influenced by commercial entities, limiting the diversity of engagements, especially during periods of lower social and political mobilisation when lighter, entertainment-focused content prevails.

UGC’s emergence also reflects how Thais exert their digital citizenship to use social media platforms as a vital medium for social advocacy and civic participation. Unlike traditional media, which may exercise self-censorship or favour certain narratives, UGC allows diverse voices and perspectives to flourish, fostering genuine discussions on governance and societal issues. A notable example of this phenomenon can be seen in the 2023 year-end reviews conducted by mainstream media outlets, such as Matichon (a major Thai-language national daily newspaper, which positions itself as a “quality” upmarket newspaper as opposed to the usually sensationalist mass-circulation papers), which released their own top ten list. The list, however, downplayed the significance of the year’s election in shaping the country’s news cycle and instead gave weight to stories related to society and entertainment. In contrast, research from Wisesight revealed that political content was predominant on Thai social media in 2023. As noted above, content categorised as “politics” fills 9 out of the 10 slots in the annual list of the most engaged content.

However, this user-dominated landscape also raises concerns about the potential for mis- and disinformation to spread in the information vacuum left by the absence of authoritative sources of information. As noted above, the Wisesight study has shown that authoritative communicators – government, political parties and other credible institutions – have a markedly smaller presence in comparison to UGC, therefore limiting their ability to influence public discourse at large. This underscores the need for an integrated approach to social media, where authoritative stakeholders actively contribute to digital citizenship by ensuring the accuracy of information while fostering an informed and engaged online public.

Conclusion

The findings of this study underscore the role of social media in fostering digital citizenship and social advocacy in Thailand. As evidenced by the significant engagement surrounding the May 2023 elections and the rising influence of platforms like TikTok, Thais have found social media useful for voicing their opinions, mobilising for social causes, and shaping public discourse.

This dynamic mirrors trends in Southeast Asia and globally, where social media has catalysed civic engagement. Internationally, movements like #MeToo and Black Lives Matter have shown how social media can facilitate global solidarity and raise awareness around critical social issues. Regionally, online campaigns like #MilkTeaAlliance pointed not only towards calls by youths in Thailand, Myanmar and other countries for political reform within national borders but also towards broader regional solidarity.

To enhance the effectiveness of social media as a tool for social advocacy, it is essential that stakeholders – including civil society organisations, government bodies and the private sector – collaborate in developing transparent and inclusive communication strategies that empower users. Specific recommendations include investing in digital literacy programmes to equip citizens with skills to critically evaluate information. Furthermore, establishing partnerships with influencers and community leaders can further broaden engagement and facilitate dialogue around pressing social issues.

By adopting these strategies, Thailand can strengthen its civic-digital landscape, ensuring that social media serves not only as a platform for entertainment but also as a critical arena for advocacy, accountability and meaningful engagement.

กองทุนพัฒนาสื่อฯ จัดกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ TMF จิตอาสาทำดีเพื่อพ่อ เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และวันพ่อแห่งชาติ

(26-27 ธันวาคม 2567) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ TMF จิตอาสาทำดีเพื่อพ่อ เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และวันพ่อแห่งชาติ

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และบุคลากรของสำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ศึกษาดูงาน ณ หอพระประวัติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และร่วมบริจาคสิ่งของให้กับมูลนิธิเด็ก ณ โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

ปรากฎการณ์ “หมูเด้ง” เซเลบสาวที่ไม่ได้ดังเพราะความบังเอิญ

ถึง ผอ.สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จะเคยออกตัวว่า “ไม่คิดว่ากระแสจะมาถึงขนาดนี้”แต่เบื้องหลังการปั้น “หมูเด้ง” ลูกฮิปโปแคระซึ่งเพิ่งเกิดเมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2567 ที่ผ่านมา ให้ไวรัลในโลกออนไลน์ ก็มีทั้งความเข้าใจพฤติกรรมของสัตว์ รวมไปถึงการวางแผนทำคอนเทนต์ซ่อนอยู่ การใช้ “ความน่ารัก” ของสัตว์ในการโฆษณาหรือทำการตลาดมีมานานแล้ว เรียกกันว่า Cute Marketing แต่อะไรที่ทำให้ หมูเด้ง “ดัง” ในระดับต้น ๆ ของบรรดาสัตว์ ที่เคยถูกใช้ทำการตลาดมา อย่างน้อยก็ดังที่สุดของปีนี้ กระทั่งแพล็ตฟอร์ม x ประกาศให้เป็นสุดยอดมีมแห่งปี

นี่เป็นพลังของการกระจายข้อมูลข่าวสารบนโซเชียลมีเดียประจำปี 2567 ที่น่าถอดบทเรียน เผื่อเราจะเจอรูปแบบอะไรบางอย่าง ใน “ปฏิสัมพันธ์” ของผู้คนกับการไหลเวียนข้อมูลข่าวสารบนโลกออนไลน์ ที่ไม่ใช่นำไปใช้เพื่อการตลาดเท่านั้น แต่ยังอาจนำไปใช้ในสร้างประโยชน์ต่อสังคม เช่นเดียวกับที่ “ปรากฎการณ์” หมูเด้ง สร้างประโยชน์ให้กับสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี, ชุมชนโดยรอบสวนสัตว์, การท่องเที่ยวของไทย, สวนสัตว์ทั่วโลก และชุมชนนักอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติ

 

หมูเด้ง ดังขนาดไหน

เราต่างรู้กันว่า หมูเด้งนั้น “ดัง” สุด ๆ ไปเลย แต่ถ้าถามว่า “ดังขนาดไหน” เฉพาะในไทย การสำรวจการสื่อสารออนไลน์ โดย Wisesight ร่วมกับ Media Alert กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ก็พบว่า ระหว่างเดือนกันยายน เดือน พ.ย. 2567 ประเด็นเกี่ยวกับ “หมูเด้ง” ถูกพูดถึงบนโลกออนไลน์ไทย เป็นอันดับ 1 และ 2 ของเดือนนั้น ๆ

  • เดือน ก.ย. 2567 อยู่ในอันดับที่ 1 ถูกพูดถึง 8 ล้านเอ็นเกจเม้นต์
  • เดือน ต.ค. 2567 อยู่ในอันดับที่ 2 ถูกพูดถึง 9 ล้านเอ็นเกจเม้นต์ (แพ้ “คดีดิไอคอนกรุ๊ป” ที่ได้ 103.9 ล้านเอ็นเกจเม้นต์)
  • เดือน พ.ย. 2567 อยู่ในอันดับที่ 2 ถูกพูดถึง 7 ล้านเอ็นเกจเม้นต์ (แพ้ “เทศกาลลอยกระทง” ที่ได้ 95.5 ล้านเอ็นเกจเม้นต์)
  • เดือน ธ.ค.2567 แม้จะยังไม่จบเดือน (1 – 23 ธ.ค. 2567) แต่ก็มีการพูดถึงหมูเด้งไปมากกว่า 11 ล้านเอ็นเกจเม้นต์ เข้าไปแล้ว

 

ส่วนความดังในต่างประเทศ นอกจากที่แพล็ตฟอร์ม x เพิ่งประกาศให้เป็นสุดยอดมีมประจำปีนี้ เพราะจากข้อความที่มีผู้โพสต์ถึงกว่า 7.7 ล้านครั้ง https://x.com/X/status/1871243966794104872 หมูเด้งยังถูก The New York Times จัดให้ติดอยู่ในรายชื่อ 63 บุคคล? ที่ “มีสไตล์ที่สุด” ประจำปีนี้ (The 63 Most Stylish People of 2024) พร้อมกับคำอธิบายสนุก ๆ ว่า “เธองับ เธอกรีดร้อง เธอขโมยหัวใจคนทั้งโลก!https://www.nytimes.com/2024/12/05/style/best-dressed-people-2024.html

สำรวจและพบว่า มีสำนักข่าวระดับโลกอย่างน้อย 20 แห่ง ที่รายงานข่าวหมูเด้ง ทั้งเอพี, เอเอฟพี, บีบีซี, ซีเอ็นเอ็น, ดอยต์เชอเวลเลอ(ดีดับบลิว), รอยเตอร์, เดอะ การ์เดียน, เดอะ นิวยอร์ก ไทมส์, ไทม์ แมกกาซีน, วอลล์สตรีทเจอร์นัล, วอชิงตันโพสต์, วีโอเอ, ซินหัว ฯลฯ 

รายการโทรทัศน์ดังในสหรัฐอเมริกาอย่าง Saturday Night Live ยังนำการแต่งกายเลียนแบบหมูเด้งไปเล่นมุกในการออนแอร์วันที่ 29 ก.ย. 2567 หรือการทายผลเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ (ที่หมูเด้งเลือกว่าโดนัลด์ ทรัมป์จะชนะ) ก็กลายเป็นข่าวดังในโลกตะวันตก (ที่สำคัญทรัมป์ชนะจริง), ทีมกีฬาอาชีพระดับโลก ทั้งฟุตบอล. เบสบอล, บาสเก็ตบอล, อเมริกันฟุตบอล ยังนำ “หมูเด้ง” ไปเล่นเป็นมีม

สวนสัตว์ต่าง ๆ ทั่วโลก พยายามนำเสนอสัตว์ที่มีความน่ารักน่าชังไม่ต่างจากหมูเด้ง เช่น ลูกฮิปโปแคระ “แฮกกิส” ของสวนสัตว์ในสก็อตแลนด์, ลูกฮิปโปแคระ “เนมุเนมุ” ของสวนสัตว์ในญี่ปุ่น, “เพสโต้” ลูกเพนกวินจักรพรรดิของอควาเรียมในออสเตรเลีย, “บิสกิต” ลูกแมวน้ำของอควาเรียมในแคนาดา ฯลฯ

หมูเด้ง ยังถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้าง pop culture อื่น เช่น ถูกแบรนด์สินค้าในไทยกว่า 70 แบรนด์นำไปผลิตสิ่งของเชิงพาณิชย์, ถูกค่ายเพลงนำไปแต่งเพลง “หมูเด้ง” หลายภาษา, ล่าสุด ยังนำไปเป็นธีมปี 2024 ของงาน Bangkok Illumination Festival ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 ธ.ค. 2567 – 5 ม.ค. 2568 ในชื่องาน “หมูเด้งบุกกรุง” ใน 9 แลนด์มาร์กทั่ว กทม.

หากเทียบกับคนไทยอื่นแล้ว เฉพาะปีนี้ หมูเด้งน่าจะมีชื่อเสียงระดับโลกน้อยกว่า “ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล” เพียงคนเดียวเท่านั้น (หากนับว่า หมูเด้งเป็นคนน่ะนะ)

 

หมูเด้ง เริ่มดังจากอะไร

พยายามสืบเสาะดูว่า กระแสความดังของหมูเด้ง เริ่มขึ้นได้อย่างไร อาศัยข้อมูลที่ได้จากการ social listening ของสื่อต่างประเทศบางแห่ง https://www.meltwater.com/en/blog/moo-deng-trend และสำรวจเทรนด์จาก Google ใต้คีย์เวิร์ด “หมูเด้ง” และ “Moo Deng

กระแสความนิยมลูกฮิปโปแคระสาวตัวนี้ “ในไทย” เริ่มขึ้นในวันที่ 1 ก.ย. 2567 หลังผู้ใช้เอ็กซ์โพสต์อัลบั้มรูปหมูเด้ง ในอาการสะดีดสะดิ้งพี่เลี้ยง https://x.com/sighyam/status/1830286475621257702 ต่อมาในวันที่ 10 ก.ย. 2567 เมื่อมีภาพหมูเด้งงับขาพี่เลี้ยงด้วยอาการน่ารักน่าชัง ก็เหมือนเป็นตัวจุดระเบิดไวรัล https://x.com/quinnberely/status/1833591828760956990

ส่วนความนิยมระดับ “นานาชาติ” เริ่มขึ้นหลังเกิดกระแสในไทยเล็กน้อย เมื่อโพสต์ต้นทางในเอ็กซ์ถูกหยิบไปทำเป็นสกู๊ปโดยไทม์แมกกาซีน ในวันที่ 12 ก.ย. 2567 ในชื่อ “She’s an Icon, She’s a Legend, and She Is the Moment. Meet Viral Baby Hippo Moo Deng” https://time.com/7021047/moo-deng-baby-pygmy-hippo-thailand-viral-cute-safety-concerns/ โดยมีคนสังเกตว่า แค่วันเดียว เฟซบุ๊กของไทม์ฯ หยิบสกู๊ปหมูเด้งมาโพสต์ซ้ำ ถึง 4 ครั้ง เพราะได้รับเอ็นเกจเม้นต์สูง

หลังจากนั้นชื่อของหมูเด้งก็เหมือน “ขึ้นรถไฟเหาะ” สื่อต่างชาติจำนวนมากหันมาทำข่าวหมูเด้งต่อเนื่อง เพียงสัปดาห์เดียว (12-19 ก.ย. 2567) ก็มีทั้งจากดอยต์เชอเวลเลอ(ดีดับบลิว), เดอะการ์เดียน, เดอะ เสตรทไทม์, ไวซ์, ซีเอ็นเอ็น, บีบีซี, รอยเตอร์, เอเอฟพี, วอชิงตันโพสต์

จุด “พีค” ของกระแสหมูเด้ง ในไทยคือวันที่ 11 ต.ค. 2567 ส่วนระดับนานาชาติ คือวันที่ 29 ก.ย. 2567 เมื่อรายการ Saturday Night Live หยิบไปเล่นมุก

หากอ่านเฉพาะข้อมูลข้างต้น เราอาจคิดไปว่า หมูเด้งดังเพราะ “โชคช่วย” หรือความบังเอิญ แต่แท้จริงแล้ว มันผ่านการวางแผนที่เข้าใจธรรมชาติของตัวละครหลัก (ลูกฮิปโปแคระ) ต่างหาก

ในหลายบทความของสื่อต่างประเทศและสื่อไทย จะอ้างความสม่ำเสมอและสร้างสรรค์ในการผลิตคอนเทนต์หมูเด้งที่น่ารักน่าเอ็นดูของเพจเฟซบุ๊ก “ขาหมู แอนด์เดอะแก๊งค์” ที่นำโดย “เบนซ์ – นายอรรถพล หนุนดี” พนักงานบำรุงและจัดการสวนสัตว์ 3 งานบำรุงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ฝ่ายบำรุงสัตว์ zookeeper ที่คอยดูแลหมูเด้ง

นายอรรถพลจะดูแลหมูเด้งอย่างใกล้ชิดทุกวัน เพราะเวลาสัตว์มีปัญหาจะได้เข้าไปรักษาหรือให้ยาได้ทันที

เขาบอกว่า ความดีดเด้งอย่างที่ทุกคนเห็น จะเกิดขึ้นแค่วันละ 10-20 นาทีเท่านั้นเอง ที่เหลือก็นอนหมดเลย นิสัยเหมือนลูกฮิปโปแคระทั่วไป “แต่พอรู้จังหวะว่า เขาจะดีดๆ เด้งๆ ตอนนี้ เราก็ตั้งกล้องรอถ่าย”

ส่วนภาพที่หมูเด้งเข้ามางับเข่า นายอรรถพลบอกว่า น่าจะมาจากอาหารคันเขี้ยว ฟันกำลังจะขึ้น “พฤติกรรมการงับสิ่งรอบข้างแบบนี้ก็เป็นพฤติกรรมปกติของลูกฮิปโปแคระเช่นกัน”

ก่อนหน้าหมูเด้ง zookeeper คนนี้ก็เคยปั้นให้ “หมูตุ๋น” พี่ชายของหมูเด้ง กลายเป็นเซเลบของสวนสัตว์เปิดเขาเขียวมาแล้ว

หลังจากนี้ เขายังวางแผนจะใช้วิธีการเดียวกัน ในการทำให้คนรู้จักสัตว์อื่นๆ เช่น สลอธ, คาปิบารา, หมีขอ, ฮิปโปใหญ่ ฯลฯ

 

หมูเด้งช่วยสร้างอะไรบ้าง?

กระแสหมูเด้ง ช่วยทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรีเติบโตขึ้น 4 เท่า จากเดิมที่มีผู้เข้าชมเพียง 3,000-4,000 คน/วัน เพิ่มเป็น 12,000 คน/วัน

หากนับยอดรวมรายเดือน

เดือน ก.ค. 2567 มีนักท่องเที่ยว 84,849 คน (เดือนที่หมูเด้งเกิด)

เดือน ส.ค. 2567 มีนักท่องเที่ยว 98,046 คน

เดือน ก.ย. 2567 มีนักท่องเที่ยว 159,743 คน (เดือนที่เริ่มเป็นกระแส)

เดือน ต.ค. 2567 มีนักท่องเที่ยว 299,034 คน (เดือนที่กระแสถึงจุดพีคทั้งในไทยและต่างชาติ)

https://www.zoothailand.org/more_news.php?cid=77

Grab แพล็ตฟอร์มให้บริการเรียกรถยนต์ ให้ข้อมูลว่า กระแสหมูเด้งทำให้มีคนเรียกรถยนต์ไป จ.ชลบุรีเพิ่มขึ้น 267%

นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกรัฐบาล เปิดเผยว่า ปรากฎการณ์หมูเด้ง สร้างรายได้มากกว่า 40 ล้านบาท เป็นส่วนสำคัญในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ชุมชนโดยรอบสวนสัตว์เปิดเขาเขียว และรวมถึงทำให้ จ.ชลบุรีและเมืองพัทยา มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมากกว่า 80%

ไม่เพียงประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ “หมูเด้งฟีเวอร์” ยังช่วยให้คนหันมาสนใจ ชะตากรรมของฮิปโปแคระ (Pygmy hippopotamus) สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ คาดว่าเหลือไม่ถึง 3,000 ตัว หลังถิ่นที่อยู่หดหาย-ถูกทำลาย โดยติดอยู่ใน “บัญชีแดง” ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN)

 

หมูเด้งยังทำให้สื่อต่าง ๆ ทั่วโลก หันมานำเสนอเรื่องราวของสัตว์มากขึ้น ดังที่กล่าวไปข้างต้น

 แน่นอนว่า “กระแส” ไม่อยู่กับเรานาน ยิ่งเป็นกระแสในโลกออนไลน์ ที่ทุกอย่างมาและไปอย่างรวดเร็ว แทบจะทุกวินาที การที่หมูเด้งอยู่ในความสนใจของผู้คนได้นานถึง 4 เดือนเศษ จึงสมควรเรียกว่าเป็น “ปรากฎการณ์” ที่ควรถูกบันทึก, หยิบมาถอดบทเรียน และหาวิธีต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อไป