เลือกหน้า

ผู้จัดการกองทุนสื่อ เดินหน้าสร้างเครือข่ายทางสังคมรับมือสื่อไม่ดี

หวังสร้างสังคมที่มีสติในการรู้เท่าทันสื่อ ห่วงปัจจุบันมิจฉาชีพใช้สื่อในทางลบหลอกลวงประชาชนผ่าน
เฟคนิวส์ เชื่อประชาชนจะไม่ตกเป็นเหยื่อหากเข้าถึงสื่อปลอดภัยมากขึ้น

(26 มีนาคม 66) ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ บรรยายในกิจกรรม
Lek talk ในหัวข้อ TMF-Inspired ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานมหกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กองทุนฯ
ครบรอบ 8 ปี จัดโดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

โดยกล่าวว่าย้อนไปเมื่อ 8 ปีที่ผ่านมามีกฎหมายที่ชื่อว่าพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีผลบังคับใช้ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สิ่งสำคัญเพื่อหวังให้ผู้คนในสังคมสามารถรับมือกับสื่อโดยเฉพาะสื่อในทางลบ ซึ่งต้องยอมรับว่ามีจำนวนมาก ในปัจจุบันจะพบว่าในสื่อออนไลน์เข้ามามีบทบาทและมีประชาชนถูกหลอกลวงผ่านกลุ่มมิจฉาชีพเพิ่มเป็นจำนวนมาก รวมทั้งการใช้เฟคนิวส์ มาเผยแพร่ทำให้ประชาชนหลงเชื่อ ซึ่งท่ามกลางสภาพแวดล้อมของข้อมูลข่าวสารที่เข้าถึงได้ง่ายกองทุนจึงมีกลไกในการพยายามเตือนสติและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสังคมและประชาชน

 

“ถ้าติดตามข้อมูลข่าวสารของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ รู้จักเรา เข้ามาเยี่ยมชม พูดคุย แลกเปลี่ยนหรือดูรายการของกองทุนฯจะไม่ค่อยตกเป็นเหยื่อ” ดร.ธนกร กล่าวย้ำ

ดร.ธนกร กล่าวต่อ ว่าการรับมือสื่อไม่ดีถือเป็นความตั้งใจของกองทุนฯและเครือข่ายในการเดินหน้าในการสร้างสื่อน้ำดี ทำให้ 8 ปีจนถึงวันนี้จะเห็นว่ากองทุนฯมีผลงานออกสู่สาธารณะเป็นจำนวนมาก มีการสร้างองค์ความรู้เพื่อเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางสังคม รวมทั้งการสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายและประชาชน พร้อมกันนี้กองทุนฯมุ่งมั่นที่จะเป็นหน่วยงานกลางเพื่อบูรณาการ ประสานงานและรวบรวมข้อมูลเนื้อหาของสื่อในทุกประเภทที่นำมารวมไว้
และสามารถเข้าถึงได้ง่าย รวมทั้งจะต้องทำให้กองทุนฯเป็นศูนย์รวมขององค์ความรู้และการเรียนรู้ (TMF อะคาเดมี่)
อีกประการสำคัญคือการขับเคลื่อนและสร้างเครือข่ายทางสังคมในการรับมือสื่อที่ไม่ดีเพื่อให้สังคมมีสติในการรับสื่อ
ผ่านทักษะการรู้เท่าทันสื่อ และสุดท้ายคือการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมให้เกิดความเข้มแข็ง

ผู้จัดการกองทุนสื่อ ย้ำว่าการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์อีกสิ่งสำคัญคือการสร้างคน ซึ่งในปี 2564 ทางกองทุนฯได้ริเริ่มดำเนินโครงการบ่มเพาะต่อเนื่องมาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ พร้อมยกตัวอย่างโครงการ 1 อำเภอ 1 เรื่องเล่า ผ่านความเชื่อที่ว่าทุกพื้นที่มีเรื่องราวผ่านการเล่าเรื่องของเยาวชน หลายโครงการเราพยายามสร้างคนทำสื่อ พร้อมทั้งให้โอกาสในการไปศึกษาดูงานในประเทศเกาหลีเพื่อศึกษาวัฒนธรรม การทำงานเพื่อหวังสร้างผู้ผลิตในทุกสาขารวมทั้ง
ร่วมมือกับในทุกวิชาชีพ

ดร.ธนกร ระบุในปีนี้จะมีโครงการความร่วมมือที่ทางกองทุนฯ อยากเห็นผู้ประกาศข่าว ผู้จัดรายการนำเสนอข้อเท็จจริงของข่าวสารที่ไม่ใส่อารมณ์ความรู้สึก ซึ่งมองว่าการสร้างคนในองค์กรผลิตสื่อมีความจำเป็นมากวันนี้ กองทุนกำลังดำเนินการอยู่ซึ่งมีความคืบหน้าไปมาก พร้อมกันนี้ยังไปหารือกับสถาบันการศึกษาอย่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการสร้างหลักสูตรทักษะการรู้เท่าทันสื่อสำหรับอุดมศึกษา

มหกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กองทุนฯ ครบรอบ 8 ปี ดันผลงานสู่วงกว้าง

(24 มีนาคม 2566) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดงานมหกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กองทุนฯ ครบรอบ 8 ปี ระหว่างวันที่ 24-26 มีนาคม พ.ศ.2566 เวลา 12.00 – 20.00 น.  ณ บริเวณ   ลิโด้ คอนเน็คท์
ชั้น
1  ใน Theme Infinite X Inspiration  สร้างแรงบันดาลใจ ไม่มีที่สิ้นสุด (Fill Fun Fund)  ภายในงานมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารกองทุนฯ ภาคีเครือข่ายและผู้รับทุนร่วมงานคับคั่ง เต็มอิ่มกับกิจกรรมการแสดงตลอด
3 วันและเสวนาที่จะเติมแรงบันดาลใจให้คุณ

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รองประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ให้เกียรติ เป็นประธานเปิดงาน โดยกล่าวว่า ต้นทุนทางวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ประเทศไทยเราเองได้มีการนำทุนทางวัฒนธรรม ไปต่อยอดเศรษฐกิจ อาทิ อาหาร ประเพณี วิถีชีวิต เป็น Soft Power ที่นำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานสื่อในรูปแบบที่หลากหลาย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ รวมถึงภาคีเครือข่าย ยังคงมุ่งมั่นสร้างสรรค์สื่อที่ดีตลอดมา เพื่อเกิดเป็นสื่อที่นำเสนอแบบปลอดภัยและยั่งยืนในสังคมไทยในการขับเคลื่อนภารกิจของกองทุนฯ ในยุคของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี
ที่รวดเร็ว ได้ทำให้กองทุนฯ มีบทบาทเข้ามาส่งเสริม และสนับสนุนการสร้างเศรษฐกิจ สร้างรายได้ผ่านโครงการ
ที่กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนทุน ผลงานจากผู้รับทุนที่สร้างสรรค์สื่อ โดยตั้งแต่ปี
2560 -2565 กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดสรรทุนสนับสนุนไปทั้งสิ้นกว่า 700 โครงการ รวมเป็นงบประมาณกว่า 1,700 ล้านบาท

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า การจัดงานมหกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ครั้งนี้ถือเป็นการตอกย้ำ ในการสร้างสรรค์ผลิตสื่อที่ดี เพื่อให้กระจายชิ้นงานไปสู่วงกว้าง เพราะมีทั้งนิทรรศการ ผลงาน กิจกรรมการแสดง การเสวนา เกี่ยวกับสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งได้รวบรวมและ
เผยแพร่ผลงานความคิดสร้างสรรค์หลากหลายมิติ ทั้งงานกิจกรรม งานวิจัยและนวัตกรรม งานผลิตสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ของผู้รับทุน ผู้รับจ้าง ภาคีเครือข่าย “การจัดงานมหกรรมในครั้งนี้ เพื่อเผยแพร่ผลงานสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์รวมถึงเปิดพื้นที่สาธารณะ ขยายช่องทางการสื่อสาร สร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้รับการสนับสนุนกับประชาชนที่สนใจการผลิตและการดำเนินการเกี่ยวกับสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ผลิตสื่อในการมุ่งมั่นผลิตสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์เพื่อสร้างสังคมให้มีคุณภาพ คุณธรรม และอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข”

“ร้อยเอ็ด สถานที่แห่งความทรงจำ” คว้ารางวัลชนะเลิศ โครงการสร้างสรรค์ไทย ปี 2

(16 มีนาคม 2566)  นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รองประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พร้อมด้วย ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ แถลงข่าวผลการประกวดสื่อสร้างสรรค์สําหรับเด็กและเยาวชนในหัวข้อ “เยาวชนสร้างสรรค์สื่อ
สื่อสร้างสรรค์วัฒนธรรม” ภายใต้โครงการ สร้างสรรค์ไทย ปี 2 (Creative Thai) เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชน ได้รับการส่งเสริมการผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่บอกเล่าเรื่องราวทางวัฒนธรรมที่สร้างความสนใจ ความรู้ และต่อยอดวัฒนธรรมท้องถิ่นไปสู่ระดับชาติและระดับนานาชาติ

ซึ่งได้รับการตอบรับจากเยาวชนทั่วประเทศและส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในโครงการฯ จำนวนมาก โดยผลงานเรื่อง “ร้อยเอ็ดสถานที่แห่งความทรงจำ” จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คว้ารางวัลชนะเลิศ พร้อมโล่เกียรติคุณ และเงินรางวัลมูลค่า  50,000 บาท ไปครอง สำหรับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 รางวัล, รองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 2 รางวัล, รางวัลชมเชย จำนวน 2  รางวัล และรางวัล Popular Vote  จำนวน 1 รางวัล รวมทั้งสิ้น 7 รางวัล เงินรางวัลรวมมูลค่า 200,000 บาท

นายอิทธิพล คุณปลื้ม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรมและกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกันจัดทำโครงการ สร้างสรรค์ไทย (Creative Thai) ขึ้นเป็นปีที่ 2 เนื่องจากได้ผลการตอบรับจากเด็กและเยาวชนจากการจัดโครงการฯ ในปีแรกอย่างล้นหลาม ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีที่เด็กและเยาวชนให้ความสนใจ และตระหนักถึงการสร้างสรรค์สื่อไปพร้อม ๆ กับการส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างค่านิยม จิตสำนึกให้คนในสังคมตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมท้องถิ่น และภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม หรือ Soft Power โดยนำผลงาน
มาเผยแพร่ผ่านสื่อที่ทันสมัย เข้าถึงได้ง่ายในรูปแบบของคลิปวิดีโอ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการมีส่วนร่วมของ
ทุกภาคส่วนในการนําต้นทุนทางวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่มาช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากชุมชนผ่านสื่อดิจิทัล
มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรริเริ่มปลูกฝังวัฒนธรรมทางความคิดที่ดีงาม
ถูกต้องและเหมาะสมตั้งแต่ยังเป็นเด็กและเยาวชน

ดร.ธนกร ศรีสุขใส กล่าวว่า การจัดประกวดโครงการ สร้างสรรค์ไทย 2 (Creative Thai) ได้ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2565 – วันที่ 20 มกราคม 2566 โดยโครงการฯ
มีเป้าประสงค์ที่จะเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้รับการส่งเสริมการผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในการสร้างความตระหนักรู้ในวัฒนธรรมอันดีงามของคนในชุมชน สังคม และเพื่อรณรงค์เสริมสร้างค่านิยม จิตสำนึกให้คนในสังคมเห็นถึงความสำคัญของวัฒนธรรม ทั้งภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (
Intangible cultural heritage) หรือมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ (Tangible cultural heritage) รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัฒนธรรม ใน
รูปแบบการจัดประกวดคลิปสื่อสร้างสรรค์ส่งเสริมวัฒนธรรม เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ มีโอกาสนำของดีหรือเรื่องเล่าภายในแต่ละชุมชนไปต่อยอดผ่านกระบวนการบอกเล่าเรื่องราวทางวัฒนธรรมของชุมชนและสังคม ในรูปแบบของการผลิตสื่อวีดิทัศน์ หรือคลิปวิดีโอ นำมาเผยแพร่อย่างสร้างสรรค์ สร้างความตระหนักรู้ในวัฒนธรรมอันดีงาม และต่อยอดวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่ระดับชาติและระดับนานาชาติต่อไป

ทั้งนี้มีชิ้นงานเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 116 ผลงาน โดยตลอดระยะเวลาในการดำเนินโครงการฯ ได้มีการจัดอบรมบทเรียนอิเล็กทรอนิคส์ (e-learning) หลักสูตรการผลิตสื่อวีดิทัศน์ ผ่านระบบออนไลน์ จากวิทยากรสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น การผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, เสน่ห์วัฒนธรรม, การสร้างสรรค์บท, การคัดสรรเลือกสรรและตัดต่อ มาร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อให้ผู้สนใจสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีคุณภาพ และตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ

นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ มาร่วมทำการตัดสินคัดเลือกผลงาน จนได้ผู้ชนะการประกวดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งสิ้น 7 รางวัล พร้อมรับโล่รางวัลจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยเเละสร้างสรรค์ เงินรางวัลรวม 200,000 บาท ดังนี้

รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัลๆ ละ 50,000 บาท พร้อมโล่รางวัล ได้แก่ ผลงานชื่อ “ร้อยเอ็ดสถานที่แห่งความทรงจำ” จากทีมฮาโหลววว PRODUCTION ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 รางวัลๆ ละ 40,000 บาท ได้แก่ ผลงานชื่อ “ซิ่นน่าน…ผ่านกาลเวลา”
จากทีม NAN FOREVER ภาคเหนือ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 2 รางวัลๆ ละ 30,000 บาท ได้แก่ ผลงานชื่อ “ย่านอยู่เย็น สายธารชีวิต เศรษฐกิจที่รุ่งเรือง” จากทีม นักสืบสานภูมิปัญญาPRC ภาคเหนือ และผลงานชื่อ “ชาวอุบล” จากทีมมิดมี่
โปรดักส์ชั่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัลๆ ละ 10,000 บาท ได้แก่ ผลงานชื่อ “มนต์เสน่ห์ แห่งชาติพันธุ์กะเหรี่ยง” จากทีมเย่อ-เม่-เกอะ-ญอ-โพ (ฉันเรียกตัวเองว่า ปว่าเกอะญอ) ภาคเหนือ และ ผลงานชื่อ บ้านผมเรียกว่า “ซามารอเด็ง” จากทีมห้องแห่งความลับ ภาคใต้ และ รางวัล Popular Vote จำนวน 1 รางวัลๆ ละ 30,000 บาท ได้แก่ ผลงานชื่อ “ย่านอยู่เย็น สายธารชีวิต เศรษฐกิจที่รุ่งเรือง” จากทีม นักสืบสานภูมิปัญญา PRC ภาคเหนือ 

สามารถรับชมผลงานการผลิตคลิปวิดีโอส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นในหัวข้อ
“เยาวชนสร้างสรรค์สื่อ สื่อสร้างสรรค์วัฒนธรรม” ภายใต้โครงการ สร้างสรรค์ไทย 2 (Creative Thai)
 
และติดตามข่าวสารและกิจกรรมประกวดต่าง ๆ ของโครงการ ผ่านทางเฟซบุ๊กเพจ : กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และเฟซบุ๊กเพจ : สร้างสรรค์ไทย หรือเพิ่มเพื่อนผ่านไลน์แอด: @creativethai

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมหารือการผลักดันความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(15 มี.ค.66) ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พร้อมผู้บริหาร ร่วมหารือการผลักดันความร่วมมือ (MOU)

โดยมี รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้การต้อนรับ และ รศ.วิทยา ด่านธำรงกูล
ผู้อำนวยการ TU-RAC พาคณะเข้าเยี่ยมชม อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ทั้งนี้ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ต้องการจะพัฒนาองค์กรเข้าสู่ระบบสำนักงานดิจิทัล และแนวทางการดำเนินงานวิจัยร่วมกัน ให้มีเนื้อหาเชิงสร้างสรรค์สังคม

งานมหกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กองทุนฯ ครบรอบ 8 ปี

งานมหกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กองทุนฯ ครบรอบ 8 ปี

พบกับมหกรรมผลงานสื่อปลอดภัยเเละสร้างสรรค์มากกว่า 50 ผลงาน กิจกรรมเสวนาและการเเสดง
เเชร์ประสบการณ์ สร้างเเรงบันดาลใจ Infinite x Inspiration (Fill Fun Fund) ตลอดทั้ง 3 วัน

วันที่ 24 – 26 มีนาคม 2566 เวลา 12.00-20.00 น. ณ ลิโด้ คอนเน็คท์ ชั้น 1