คุณพงศ์พิพัฒน์ อ้างถึงคำกล่าวของ ผจก.กองทุนพัฒนาสื่อฯ ที่ว่า “ใคร ๆ ก็เป็นสื่อได้” โดยเพิ่มเติมว่า ใคร ๆ ก็เป็นคนสร้างข่าวปลอมได้ ตามจำนวนประชากรที่สามารถสื่อสารออนไลน์ กลไกการตรวจสอบมากเท่าไร ก็ตรวจสอบไม่ทั่วถึง ไม่เท่าทัน
“ เราต้องสร้างนิสัยหรือ DNA ให้ประชาชนมีความสามารถในการตรวจสอบข่าวปลอม รวมทั้งตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบมาแล้ว เพราะข่าวปลอมเป็นสงครามที่ไม่มีวันจบ”
คุณพงศ์พิพัฒน์ มีข้อเสนอต่อการเผยแพร่และเปิดเผยผลการตรวจสอบ ของ 3 กลไก Fact-Checking คือ
- บอกเกณฑ์ที่เลือก-ไม่เลือกข่าว มาตรวจสอบ
- บอกวิธี รวมทั้งเครื่องมือ ในการตรวจสอบ
- แจ้งแหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ในการตรวจสอบทั้งหมด
- มี Tracking Number ให้ติดตามว่าการตรวจสอบไปถึงไหนแล้ว
- แสดงให้รู้ว่าทำผิดได้ ทักท้วงได้ พร้อมแก้ไข ทิ้งหลักฐานที่ทำผิดพลาด ไม่ลบออก
หากทุกกลไกการตรวจสอบ ทำหน้าที่ได้ดี ประชาชนจะเชื่อมั่นมากขึ้น
ต่อข้อเสนอให้องค์กรสื่อ จัดตั้งกลไกการตรวจสอบ คุณพงศ์พิพัฒน์เล่าว่า ช่วงปี 2558 ช่วงก่อนการเกิด ชัวร์ก่อนแชร์ ในปีเดียวกัน มีองค์กรสื่อ พยายามทำเว็บไซต์ จับเท็จดอทคอม พบว่า ใช้คน ใช้เวลา ใช้พลังมาก พอปล่อยออกไป วาระเปลี่ยน คนไม่สนใจ ปัจจุบัน อาจมีองค์กรสื่อเพิ่มขึ้น แต่องค์กรสื่อปรับให้มีขนาดเล็กลง เพื่อลดต้นทุน การจัดตั้งหน่วยตรวจสอบ อาจเป็นไปได้ยาก แต่ก็เห็นความพยายามของสื่อในการตรวจสอบข้อมูลตามความถนัด ตามวาระและโอกาส และอยากให้ออกมาช่วยกันแก้ไขปัญหาเรื่องนี้มากขึ้น
สุดท้าย คุณพงศ์พิพัฒน์ มอบข้อเสนอต่องานการตรวจสอบข้อมูล และงานการศึกษาครั้งนี้
- อยากให้ตรวจสอบจากสื่อหรือแหล่งที่มามากว่า 1 แหล่ง
- เน้นการตรวจสอบข้อมูลพื้นฐาน ที่สามารถใช้ผลการตรวจสอบได้นานระยะเวลาหนึ่ง
- ผลักดันให้ภาครัฐทำข้อมูลที่เปิดเผย (Open Data) มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องโควิด 19
คุณพงศ์พิพัฒน์ จบท้ายด้วยคำถามว่า “การวิจารณ์หน่วยงานรัฐ – การเสนอความจริงครึ่งเดียวการโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) ถือเป็นข่าวปลอมหรือไม่”
ความเห็นล่าสุด