เลือกหน้า

โครงการติดเกราะความคิด ปกป้อง ป้องกันภัยจากสื่อโซเชียลมีเดีย ผู้รับทุนประเภทเชิงยุทธศาสตร์ ประจำปี 2562

โครงการ ติดเกราะความคิด ปกป้อง ป้องกัน ภัยจากสื่อโซเชียลมีเดีย

เป็นรายการให้ความรู้ ข้อมูล เกี่ยวกับการใช้สื่อโซเชียลมีเดียให้ปลอดภัยและสร้างสรรค์นอกจากนี้รายการยังต้องการ เผยแพร่บทลงโทษทางด้านกฎหมาย ให้สังคมได้รับรู้ และเข้าใจในบทลงโทษที่เกิดจากการกระทําบนโลก “social media เพื่อ “ป้องกันและปกป้อง” ไม่ให้เขาเหล่านั้น ได้กระทําความผิดทางกฎหมายโดยไม่รู้ตัว ต้องการสร้างจิตสํานึก ทัศนคติที่ดีทางความคิดให้กับคนในสังคม เป็นการส่งต่อความรู้ ความเข้าใจ ให้ตระหนักถึงการใช้ “สื่อโซเชียลมีเดีย” อย่างสร้างสรรค์และถูกต้อง มีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อ “ปกป้องและป้องกัน” ภัยที่จะเกิดขึ้นต่อประเทศชาติและสังคมที่เราอาศัยอยู่ร่วมกัน   โดยนำเสนอเรื่องที่เกิดขึ้นในสังคมที่เกิดจากการใช้สื่อโซเชียลมีเดียแล้วทำให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายต่อตนเอง บุคคลอื่น หรือเศรษฐกิจและสังคม

โครงการ The Blind Art Project ผู้รับทุนประเภทเปิดรับทั่วไป ประจำปี 2562

“โครงการ The Blind Art Project” เป็นโครงการผลิตสื่อประเภททีวี จำนวน 10 ตอน เผยแพร่ผ่านทางช่อง 9 MCOT HD เป็นรายการที่ถ่ายทอดศิลปะของผู้พิการทางสายตา ซึ่งได้เปิดมุมมองความคิดทางด้านศิลปะและถ่ายทอดเรื่องราวของศิลปีนตาบอดทั้ง 9 ท่าน โดยมีอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และ อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร มาร่วมให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับงานศิลปะ ซึ่งการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินตาบอดทั้ง 9 ท่านนั้นได้มีทีมงาน The Nose Thailand มาให้ความรู้และข้อมูลในการใช้สีผสมกลิ่นสร้างสรรค์ผลงาน

โครงการ Deep South Young Film Maker เยาวชนสร้างหนัง หนังสร้างคน ผลงานผู้รับทุนประเภทเปิดรับทั่วไป ประจำปี 256

โครงการ “Deep South Young Filmmaker (เยาวชนสร้างหนัง หนังสร้างคนฯ)” เป็นโครงการการสอนและอบรมเยาวชนคนรุ่นใหม่ทุกศาสนา ไม่ว่าจะเป็น ไทยพุทธ มลายู ชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ให้สามารถผลิตสื่อภาพยนตร์อย่างได้มาตรฐานสากลและจัดเจนในการเล่าเรื่อง รวมไปถึงการขัดเกลาพื้นฐานการใช้สื่อภาพยนตร์ภายใต้การแนะนำจากวิทยากรที่มีคุณภาพจากวงการภาพยนตร์ไทยและได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากพี่เลี้ยงในพื้นที่

นับตั้งแต่กลางเดือนมกราคม 2562 ทางทีมงานได้เดินทางเพื่อสร้างความร่วมมือและประสานความสัมพันธ์สร้างภาคีเครือข่ายใน จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส และจัดกิจกรรมนำร่อง 2019 Short Film Mobile Lab ระหว่างวันที่ 15-16 มีนาคม 2562 ซึ่งเป็นกิจกรรมการฉายหนังและร่วมพูดคุยกับคนทำหนังสั้น ผู้สร้างผลงานที่มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ เป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองการทำภาพยนตร์สั้นในปัจจุบันร่วมกับผู้ชมในสามจังหวัดชายแดนใต้ และประชาสัมพันธ์โครงการไปด้วยในเวลาเดียวกัน

โครงการพัฒนานวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม ผลงานผู้รับทุนประเภทเชิงยุทธศาสตร์ ประจำปี 2561

โครงการพัฒนานวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม

กระบวนการทำงานภายใต้กรอบแนวคิด “การเล่าเรื่องข้ามสื่อ” (Transmedia Storytelling) ซึ่งต้องพัฒนาสื่อที่มีประเด็นเหล่าเรื่องที่หลากหลาย ใช้นำเสนอหลายช่องทาง สร้างประสบการณ์และการมีส่วนร่วมให้กับกลุ่มผู้รับสารตามลักษณะเฉพาะ แต่เข้าถึงได้หลากกลุ่ม เพื่อให้เข้าสู่แก่นของการสื่อสารร่วมกัน (เป็นเพราะการรับสื่อในนิเวศน์สื่อปัจจุบัน ผู้รับสารจะเลือกตามความสนใจ และ สิ่งทีตอบโจทย์บางอย่างในการรับรู้ของเขา ดังนั้น ไม่สามารถผลิตสื่อรูปแบบเดียว ประเด็นเดียว เพื่อสื่อสารกับคนทุกกลุ่มได้ ต้องทำสื่อเฉพาะตามบริบทของผู้รับสาร แล้วให้ต่อร้อยเป็นจิ๊กซอสู่เนื้อหา ให้ผู้รับสารเดินทางจากเนื้อหาหนึ่งไปอีกเนื้อหาหนึ่ง โดยมีจุด Entry Points ของเรื่องราวที่หลากหลาย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนที่สุด)

โดยเป้าหมายของแต่ละโครงการย่อยในการพัฒนาชุดสื่อก็เพื่อ เพื่อตอบ 1) จุด Entry point ต่อประเด็นความรุนแรง 2) เมื่อกลุ่มเป้าหมายและบริบทที่แตกต่างกันจะมีการใช้สื่อที่แตกต่าง และ สื่อที่เหมือนกัน เพื่อนำผู้รับสารเข้าสู่แก่นเรื่อง “รู้เท่าทันความรุนแรง เพื่อส่งเสริมแนวทางการลดความรุนแรงในมัธยมต้น” แต่ละสื่อทดลอง Experience อย่างไร และ Experience จะทำให้คนเรียนรู้เพื่อรู้เท่าทันได้แตกต่างกันอย่างไร ซึ่งในส่วนของแต่ละโครงการย่อยก็จะได้ชุดคู่มือในการใช้สื่อที่สร้างประสบการณ์ตามบริบทผู้รับสารเพื่อนำไปใช้เผยแพร่ รณรงค์ และ สร้างการเรียนรู้ต่อประเด็นความรุนแรงได้ โดยยจากการสรุปจาก 10 โครงการมีจุดร่วมในการสร้าง Entry Points สู่โลกเนื้อหา

โครงการการสื่อสารเพื่อการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา และส่งเสริมกระบวนทัศน์การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ผลงานผู้รับทุนประเภทเชิงยุทธศาสตร์ ประจำปี 2562

การสื่อสารเพื่อการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาและส่งเสริมกระบวนทัศน์การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

จัดทำเพื่อให้ประเทศไทยสามารถปรับตัวได้ทันกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 และสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้คนรุ่นใหม่เกิดการเรียนรู้และมีทักษะในศตวรรษที่ 21 แม้ประเทศไทยจะพยายามปฏิรูปการศึกษามากว่า 20 ปีแล้ว ทั้งการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง ปฏิรูปหลักสูตรการเรียนการสอน ปฏิรูปการวัดและประเมินผล ปฏิรูปการผลิตและพัฒนาครู แต่ก็ยังไม่เห็นผลการเปลี่ยนแปลงเชิงประจักษ์  สถานการณ์ที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่า  ระบบการศึกษาไทยอยู่ในขั้นวิกฤติด้านคุณภาพ  ส่งผลต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ  แม้จะมีการลงทุนเรื่องการศึกษามากเป็นอันดับสองของโลก (ยูเนสโก, 2554)  แต่ระบบการศึกษายังเป็นระบบท่องจำวิชาในห้องเรียน  ขาดการเรียนรู้จากชีวิตจริงและปฏิบัติจริง  ทำให้นักเรียนซึ่งเป็นผลผลิตของการศึกษา  ไม่มีศักยภาพที่จะเรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงของโลก  และสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง

โครงการพัฒนาบอร์ดเกมเพื่อเพิ่มทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ผลงานผู้รับทุนประจำปี 2562

โครงการพัฒนาบอร์ดเกมเพื่อเพิ่มทักษะการรู้เท่าทันสื่อ

แนวคิดเริ่มต้นจากการเล่นบอร์ดเกม (Boardgame) หรือเกมกระดาน แล้วพบว่าได้เรียนรู้เนื้อหาที่อยู่ภายในเกมไปโดยไม่รู้ตัว เช่น การจำแผนที่ประเทศใหญ่ ๆ ได้จากการเล่นเกมต่อรถไฟ การเรียงลำดับเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้จากการถกเถียงกับผู้เล่นเกมด้วยกัน และสังเกตได้ว่าผู้เล่นเกมมักจะจดจ่อกับเกมและพูดคุยกับผู้เล่นในเกมเดียวกันได้ในระยะเวลานาน ๆ   จึงเริ่มมองแนวคิดการนำบอร์ดเกมมาเป็น สื่อเพื่อนำเสนอเนื้อหาเพื่อหวังให้ผู้เล่นค่อยๆ ซึมซับเนื้อหานั้นโดยไม่ใช่การยัดเยียด

แล้วได้ประเด็นในเรื่องการรู้เท่าทันสื่อ จากที่เคยได้ศึกษา พอทราบได้ว่าผู้รับสื่อตัดสินความน่าเชื่อถือของสื่อด้วยอารมณ์เป็นที่ตั้งก่อน จึงควรมีหลักการหรือแนวทางให้ผู้รับสื่อลองใช้เพื่อยึดเป็นหลักในการตัดสินใจในการรับรู้เนื้อหาจากสื่อ และคิดว่าจะใช้บอร์ดเกมเป็น สื่อเพื่อให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการให้ผู้เล่นจดจ่อไปที่หลักในการใช้ตัดสินเนื้อหาจากสื่อ