เลือกหน้า

รู้จัก รู้ใช้ รู้ทันสื่อ เพื่อการขับเคลื่อนสังคมกองทุนพัฒนาสื่อฯ เดินหน้าโครงการเสวนา 5 ภูมิภาคสัญจรครั้งที่ 3 จ.กาญจนบุรี

รู้จัก รู้ใช้ รู้ทันสื่อ เพื่อการขับเคลื่อนสังคม กองทุนพัฒนาสื่อฯ เดินหน้าโครงการเสวนา 5 ภูมิภาค สัญจรครั้งที่ 3 จ.กาญจนบุรี

เพื่อเปิดพื้นที่ให้มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และรับฟังข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ
ที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เดินหน้า โครงการเสวนาการส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ 5 ภูมิภาค อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 โดยมี ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ ประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์, ผศ. ภญ. ดร.สุนทรี ทับทิมไทย ชัยสัมฤทธิ์โชค ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และ อนุกรรมการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์,
คุณสุนทร สุริโย เครือข่ายผู้บริโภค จ.กาญจนบุรี, คุณกัณฑเอนก ศรมาลา ประธานเครือข่ายนักสื่อสารชุมชน
ภาคตะวันตก (คสช.) ผู้แทนสื่อท้องถิ่น
, รศ. ดร.ติกาหลัง สุขกุล ผู้แทนนักวิชาการ อาจารย์ประจำสาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, พ.ต.อ.ไพโรจน์ หมื่นกล้าหาญ รองผู้บังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 2 ผู้แทนนักกฎหมาย  เข้าร่วมงาน เมื่อเร็วๆ นี้
(วันเสาร์ที่
25 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 ณ โรงแรมรอยัล ริเวอร์แคว รีสอร์ท แอนด์ สปา)

ดร. สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย
และสร้างสรรค์ ประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ กล่าวว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ส่งเสริมสนับสนุนภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการผลิตสื่อและพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึง เข้าใจ และใช้ประโยชน์จากสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
โดยมุ่งเน้นส่งเสริมให้ประชาชนโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก เยาวชน และครอบครัว มีทักษะในการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ โดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์พร้อมที่จะให้การสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดการผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดกระบวนการคัดกรองเฝ้าระวังและรู้เท่าทันสื่อ ส่งเสริมและพัฒนาช่องทางเพื่อสื่อสารให้สังคมเกิดการรับรู้และมีส่วนร่วมของประชาชนทุกคน การประชุมเสวนาวันนี้ จึงเป็นงานประชุมระดมสมอง และอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อสร้างพลังการมีส่วนร่วม รู้ทันเท่าสื่อร้ายพร้อมเรียนรู้และพัฒนาตนเอง เพื่อพัฒนาสื่อดีสู่ภาคีเครือข่ายสังคมที่เข้มแข็งต่อไป และเพื่อตอกย้ำถึงการสร้างความร่วมมือของประชาชนในสังคมชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี สร้างองค์ความรู้ในด้านการผลิตพัฒนาสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งตรงตามเป้าหมายหลักของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในการจัดโครงการการส่งเสริมการ
รู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ 5 ภูมิภาค

บรรยากาศของงาน เริ่มด้วยการเปิดลงทะเบียนให้กับคนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วม จากนั้นได้เปิดฉากงานด้วยการเสวนาการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ หัวข้อ “ภัยหลอกลวงทางออนไลน์” โดยผู้ร่วมเสวนา ดังนี้ ผศ. ภญ. ดร.สุนทรี ทับทิมไทย ชัยสัมฤทธิ์โชค, คุณสุนทร สุริโย, คุณกัณฑเอนก ศรมาลา, รศ. ดร.ติกาหลัง สุขกุล, พ.ต.อ.ไพโรจน์ หมื่นกล้าหาญ จากนั้นตัวแทนเครือข่ายแต่ละภาคส่วนยังได้เข้าร่วมกิจกรรม Workshop
“สร้างแนวร่วม สานพลังเครือข่าย เฝ้าระวังสื่อ ด้วยกระบวนการ ELTC: (Experiential Learning Theory Cycle) วงจรการเรียนรู้จากประสบการณ์” กระบวนการ “รู้จัก รู้ใช้” จากนั้นในช่วงบ่ายเป็นกิจกรรม Workshop กระบวนการ “รู้ทันสื่อ” , การแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาในพื้นที่ที่ได้ผลกระทบจากสื่อหรือเป็นเป้าหมายที่ต้องการใช้สื่อเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาและเฝ้าระวัง และนำเสนอร่างมาตรการส่งเสริมพัฒนาและสร้างทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ รวมทั้งเพื่อส่งเสริมการใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคม

ท้ายสุด กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ขอบคุณตัวแทนจากเครือข่ายในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนจากสื่อท้องถิ่น ตัวแทนจากนักวิชาการ เป็นอย่างยิ่งที่ได้ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร และหน่วยงานองค์กร ภาครัฐ ภาควิชาชีพ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และประชาชนชาวกาญจนบุรีทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และสนับสนุนให้การประชุมเสวนาในครั้งนี้บรรลุผลสำเร็จ สำหรับงานเสวนาการส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ 5 ภูมิภาค ภายใต้แนวคิด “รู้จัก รู้ใช้ รู้ทันสื่อ เพื่อการขับเคลื่อนสังคม” จัดขึ้นจำนวน
ทั้งสิ้น
5 ครั้ง โดยครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 ต่อไปจะเป็น ครั้งที่ 4: วันเสาร์ที่ 2 ธันวาคม 2566 ภาคตะวันออก ณ มณีจันทร์รีสอร์ต จ.จันทบุรี, ครั้งที่ 5: วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม 2566 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ โรงแรมเซ็นทารา อุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี

เตรียมพบกับงาน “Bridging Humanity and AI” งานเสวนาวิชาการเชิงนวัตกรรม (Think Tank)เพื่อยกระดับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ปี 2

เตรียมพบกับงาน “Bridging Humanity and AI” จะเป็นอย่างไร เมื่อมนุษย์และปัญญาประดิษฐ์ ร่วมมือกันสร้างสรรค์สื่อ งานเสวนาวิชาการเชิงนวัตกรรม (Think Tank) เพื่อยกระดับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ปี 2

งานเสวนาที่จะให้คุณได้แลกเปลี่ยนความรู้ ได้ลอง Tools และได้เรียนรู้เทคนิคการใช้ AI จากผู้มีประสบการณ์
ตัวจริง เพื่อยกระดับการทำงานสื่อในอนาคต ร่วมฟังงานเสวนาและบรรยายความรู้จากมุมมองคนในวงการสื่อ
ตัวจริง พร้อมเทคนิคการใช้ AI Tools ที่เหมาะกับงานสื่อ

วันที่ 12 – 13 ธันวาคม 2566 (พร้อมอาหารกลางวันและอาหารว่าง)
เวลา 09.00 – 15.30 น.  ณ โรงแรมโซฟิเทล กรุงเทพ สุขุมวิท ห้อง Ballroom 1

ลงทะเบียนได้ที่ : https://www.thaimediafund-thinktank2.com/ หรือสแกนคิวอาร์โค้ด

วันที่ 12 ธันวาคม 2566
ช่วงเช้า
• เสวนาพิเศษ : “การเข้ามาของ AI ในวงการสื่อแบบ 360 องศา”
ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
ผศ.ดร.สุกรี สินธุภิญโญ คณะกรรมการและนักวิจัย สมาคมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย (AIAT)
ผู้บริหาร บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด
คุณนพ ธรรมวานิช กรรมการ สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (TACGA)
• บรรยาย : AI กับ Data-driven เตรียมความพร้อมทุกการแข่งขัน โดยคุณเพิท-พงษ์ปิติ ผาสุขยืด Founder of Ad Addict
ช่วงบ่าย
• บรรยาย : AI ผู้ช่วยบริหารกับการจัดการมืออาชีพ โดยคุณโชค วิศวโยธิน CEO บริษัท บัณฑิต เซ็นเตอร์ จำกัด (Kapook.com)
• บรรยาย : ใช้ AI Tools ทางเลือกใหม่ในงาน Pre-Production โดยผศ.ดร.กิตติพงษ์ สุวรรณราช ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม วิทยากรผู้ให้ความรู้และมากประสบการณ์ด้าน AI Tools

วันที่ 13 ธันวาคม 2566
ช่วงเช้า
• บรรยาย : ศาสตร์ & ศิลป์ การสร้างภาพจาก AI โดยคุณเมธากวี สีตบุตร Prompt Engineer ผู้สร้างสรรค์ผลงานจาก AI
• บรรยาย : เล่าเรื่องด้วย Generative AI โดยคุณพิมพ์ลภัทร กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันตนา โพสท์ โปรดักชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด
ช่วงบ่าย
• บรรยาย : จริยธรรมในการใช้ AI โดยสมาคมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย (AIAT)
• เสวนาพิเศษ : “Generative AI ใช้อย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์”
สมาคมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย (AIAT)
กรมทรัพย์สินทางปัญญา
คุณอัศวิน อัศวพิทยานนท์ Senior Graphic Designer บริษัท DataX จำกัด

ติดตาม “กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” 
Website : www.thaimediafund.or.th
Facebook : กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
Youtube : www.youtube.com/c/ThaiMediaFund
Line Official : @thaimediafund

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จัดโครงการเสวนาการส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ 5 ภูมิภาคสัญจรครั้งที่ 2 ภาคเหนือ

(22 พฤศจิกายน 2566) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดโครงการเสวนาการส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ 5 ภูมิภาค สัญจรครั้งที่ 2 ณ ห้องดอกเสี้ยว ชั้น 1 โรงแรมน่านตรึงใจ จ.น่าน  เพื่อเปิดพื้นที่ให้มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และรับฟังข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ใน 5 ภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อขยายเครือข่ายการดำเนินการส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ สร้างการตระหนักรู้ และถอดบทเรียนการดำเนินการส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อของภาคีเครือข่าย นอกจากนี้ยังถือเป็นการลงพื้นที่ศึกษาการดำเนินงานของผู้ดำเนินการด้านการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ในแต่ละภูมิภาค ล่าสุดสัญจรขึ้นภาคเหนือ  โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กองทุนสื่อ ได้แก่ ดร. สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ ประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ , นายพีรพน พิสณุพงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปวัฒนธรรม และ รองประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ ,นางสุนทรี ทับทิมไทย ชัยสัมฤทธิ์โชค ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และ อนุกรรมการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ , ดร.ตรี บุญเจือ อนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ และตัวแทนทุกเครือข่ายวิชาชีพ เข้าร่วมงาน 
ดร. สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ กล่าวว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ส่งเสริมสนับสนุนภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการผลิตสื่อและพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึง เข้าใจ และใช้ประโยชน์จากสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์อย่างทั่วถึง ส่งเสริมให้ประชาชนโดยเฉพาะ กลุ่มเด็ก เยาวชน และครอบครัว มีทักษะในการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ โดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์พร้อมที่จะให้การสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดการผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดกระบวนการคัดกรองเฝ้าระวังและรู้เท่าทันสื่อ ส่งเสริมและพัฒนาช่องทางเพื่อสื่อสารให้สังคมเกิดการรับรู้และมีส่วนร่วมของประชาชนทุกคน  การประชุมเสวนาวันนี้ จึงเป็นงานประชุมระดมสมอง และอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อสร้างพลังการมีส่วนร่วม รู้ทันเท่าสื่อร้าย พร้อมเรียนรู้และพัฒนาตนเอง เพื่อพัฒนาสื่อดีสู่ภาคีเครือข่ายสังคมที่เข้มแข็งต่อไป และเพื่อตอกย้ำถึงการสร้างความร่วมมือของประชาชนในสังคมชุมชนจังหวัดน่าน  สร้างองค์ความรู้ในด้านการผลิตพัฒนาสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งตรงตามเป้าหมายหลักของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในการจัดโครงการการส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ 5 ภูมิภาค
กิจกรรมของการสัญจรครั้งนี้ เริ่มด้วย เสวนาการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ หัวข้อ “ภัยหลอกลวงทางออนไลน์” ผู้ร่วมเสวนา คุณพีรพน พิสณุพงศ์ รองประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์, คุณพัชริดา ถุงแก้ว เจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน หน่วยประสานงานคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัด, คุณสักก์สีห์ พลสันติกุล เลขานุการสภาวัฒนธรรมจังหวัดน่าน, ผศ.ดร.ณภัทร เรืองนภากุล  รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้, ...เมธาสิทธิ์ พันธ์อิทธิโรจ สารวัตร (สอบสวน) สภ.เมืองน่าน จากนั้นเป็นกิจกรรม Workshop  สร้างแนวร่วม สานพลังเครือข่าย เฝ้าระวังสื่อ ด้วยกระบวนการ ELTC: (Experiential Learning Theory Cycle) วงจรการเรียนรู้จากประสบการณ์โดย ผศ. ดร.กรุณา แดงสุวรรณ อาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา,ผศ. ดร.ก้องกิดากร บุญช่วย อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ พร้อมแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาในพื้นที่ที่ได้ผลกระทบจากสื่อหรือเป็นเป้าหมายที่ต้องการใช้สื่อเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาและเฝ้าระวัง เพื่อนำเสนอร่างมาตรการส่งเสริมพัฒนาและสร้างทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ รวมทั้งเพื่อส่งเสริมการใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคม โดย ดร.ตรี บุญเจือ อนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์  
ท้ายสุดกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ขอบคุณตัวแทนจากเครือข่ายในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนจากสื่อท้องถิ่น ตัวแทนจากนักวิชาการ เป็นอย่างยิ่งที่ได้ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร และหน่วยงานองค์กร ภาครัฐ ภาควิชาชีพ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และประชาชนชาวน่านทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และสนับสนุนให้การประชุมเสวนาในครั้งนี้บรรลุผลสำเร็จ งานเสวนาการส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ 5 ภูมิภาค ภายใต้แนวคิด “รู้จัก รู้ใช้ รู้ทันสื่อ เพื่อการขับเคลื่อนสังคม” จะจัดจำนวนทั้งสิ้น 5 ครั้ง โดยครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 ที่ภาคเหนือ ณ โรงแรมน่านตรึงใจ จ.น่าน    และครั้งต่อไปครั้งที่ 3 : วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2566 ภาคตะวันตกและภาคกลาง รอยัล ริเวอร์แคว รีสอร์ทแอนด์สปา .กาญจนบุรี, ครั้งที่ 4: วันเสาร์ที่ 2 ธันวาคา 2566 ภาคตะวันออก มณีจันทร์รีสอร์ท .จันทบุรี, ครั้งที่ 5: วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม 2566 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โรงแรมเซ็นทารา อุบลราชธานี .อุบลราชธานี

กองทุนพัฒนาสื่อ ร่วมกับ สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ในงาน Adman Awards & Symposium 2023 มอบรางวัลรางวัล Best Safety Creativity Content Award

(16 พ.ย. 66) ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มอบหมาย ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เข้าร่วมงานประกาศรางวัล แอดแมน อวอร์ดส 2566 (Adman Awards & Symposium 2023) จัดโดย สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 15 -16 พฤศจิกายน 2566 ณ สามย่านมิตรทาวน์ ภายใต้ธีม “DON’T MAKE ADS, MAKE !MPACT” เพื่อมุ่งหวังที่จะยกย่องคุณค่าของ IMPACTFUL WORK ทุกชิ้น ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นด้วย Creativity ในทุกรูปแบบ โดยไม่ได้ตีกรอบจำกัดอยู่แค่ในวงการโฆษณา

สำหรับปีนี้นอกเหนือจากจะมีการประกาศรางวัลแล้ว ยังมีเวทีสัมมนาที่น่าสนใจมากกว่า 30 หัวข้อ จาก 70 กว่าสปีกเกอร์ ชั้นนำ พร้อมกับ 8 เวิร์กช้อปจากผู้เชี่ยวชาญ ที่จะมาสร้างอิมแพ็คเพิ่มในงานอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นอีกงานที่ยกระดับมาตรฐานวงการโฆษณาไทยให้ก้าวไปอีกขั้น โดยในปีนี้มีงานที่เข้าประกวดมากถึง 1,045 ชิ้นงาน และมีทั้งหมด 57 บริษัทที่เข้าร่วมการประกวด

โดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มอบรางวัล Best Safety Creativity Content Award ให้กับผลงาน สารจากพงไพร ไพรสาร Creator: วรพจน์ บุญความดี
https://praisan.org https://readthecloud.co/praisan/

การมอบรางวัลในครั้งนี้ เพื่อยกย่องและให้กำลังใจผู้ผลิตสื่อโฆษณา ที่มีความทุ่มเทสร้างสรรค์ผลงานในทุกรูปแบบ เพื่อขับเคลื่อนความคิดสร้างสรรค์ ไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมสื่อสร้างสรรค์ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่รอบตัวให้ดีขึ้น

กองทุนสื่อ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับ สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ ประสานความร่วมมือพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตสื่อภาพยนตร์

(17 พฤศจิกายน 2566) กองทุนพัฒนาสื่อฯ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับ สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ ประสานความร่วมมือพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตสื่อภาพยนตร์ ณ สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ

โดยมี ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุน พัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ นายธนกร ปุลิเวคินทร์ ประธานสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อฯ และ นายพรชัย ว่องศรีอุดมพร เลขาธิการสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ ร่วมลงนามเป็นพยาน พร้อมคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของกองทุนพัฒนาสื่อฯ และ สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ

ทั้งนี้ MOU ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อประสานความร่วมมือพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตสื่อภาพยนตร์ที่ปลอดภัย
และสร้างสรรค์ ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตและเผยแพร่สื่อสร้างสรรค์ โดยร่วมดำเนินงานสนับสนุนบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมตลอดถึงการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างสองหน่วยงาน

 “จินตนาการเสรี สื่อละครสร้างสรรค์เพื่อเด็กพิการทางการเห็น”

โครงการ จินตนการเสรี สื่อละครสร้างสรรค์เพื่อเด็กพิการทางการเห็นจัดกิจกรรมแสดงละครเวทีเพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กพิการทางการเห็น  วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร

โดยโครงกา จินตนาการเสรี สื่อละครสร้างสรรค์เพื่อเด็กพิการทางการเห็นได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจำปี 2566  ซึ่งการดำเนินโครงการในครั้งนี้ นางสาวเพชรรัตน์ มณีนุษย์ ศิษย์เก่าคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการละคอนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้รับทุนและหัวหน้าโครงการ กล่าวถึงจุดมุ่งหมายสำคัญคือ การผลิตสื่อสร้างสรรค์ที่เด็กทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม เป็นสื่อที่สามารถพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ของเด็กพิการทางการเห็น  และสามารถต่อยอดเป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อสร้างการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน 

เนื่องจากเด็กพิการทางการมองเห็น ประสบปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายหรือออกกําลังกายอย่างจํากัด เพราะไม่สามารถเรียนรู้วิธีการเคลื่อนไหวอย่างเป็นอิสระได้เหมือนเด็ทั่วไป ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านกล้ามเนื้ออ่อนแรง ขาดความยืดหยุ่น ความคล่องตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ก่อให้เกิดปัญหาด้านบุคลิกภาพและการเคลื่อนไหวในอนาคต จึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องออกแบบกิจกรรมที่เด็กพิการทางการเห็นสามารถฝึกฝนและพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งเด็กพิการทางการมองเห็นไม่มีทางเลือกในการรับสื่อสร้างสรรค์ที่หลากหลายมากนัก หรือเมื่อมีกิจกรรมต่าง ๆ เด็กพิการทางการเห็นจะสามารถนั่งรับฟังเพียงอย่างเดียว ซึ่งขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะด้านอื่น ที่หลากหลาย จึงเป็นที่มาให้เกิดสื่อสร้างสรรค์ละครเวทีที่กระตุ้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของเด็กพิการทางการเห็นได้ โดยออกแบบให้มีส่วนร่วมในการแสดงแบบ 5 มิติ คือ การมองเห็น การฟัง การได้กลิ่น การชิมรส และการสัมผัส

ผู้จัดทําโครงการจึงออกแบบสื่อสร้างสรรค์ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) สื่อการแสดงสดในรูปแบบละครเวทีที่เน้นการมีประสบการณ์ร่วม (Immersive Theatre) และ (2) สื่อละครเสียงและคลิปวิดีโอการเรียนการสอนเพื่อเป็นเครื่องมือให้ครูและผู้ปกครองสามารถนำไปพัฒนาเด็กพิการทางการมองเห็นได้ด้วยตัวเอง โดยในด้านของการออกแบบการแสดงละครที่เน้นให้ผู้ชมมีประสบการณ์ร่วม เนื่องจากเด็กพิการทางการมองเห็นมีความจําเป็นอย่างยิ่งในการเรียนรู้แบบมประสบการณ์ร่วมเพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจและการตีความสภาพแวดล้อมต่าง รอบตัวได้
ง่ายขึ้น ผู้กำกับละครเรื่องนี้จึงออกแบบให้เด็กพิการทางการเห็นมีส่วนร่วมในการแสดง สามารถจินตนาการไปกับการสมมุติบทบาทเป็นตัวละครต่าง ๆ เพื่อพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวและการเรียนรู้ทักษะชีวิต ส่งเสริมให้เกิดความมั่นใจในการใช้ชีวิตในสังคมเพิ่มมากขึ้น และมีการสรุปองค์ความรู้เป็นคลิปสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบวิดีโอเพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครู ผู้ดูแล และผู้ปกครองสามารถนําไปประยุกต์ใช้เป็นกิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการและทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กพิการทางการเห็นที่บ้านหรือที่โรงเรียนได้เอง โดยใช้สื่อละคสร้างสรรค์ในการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กห้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

นอกจากจุดมุ่งหมายสำคัญของโครงการนี้ จะสร้างสื่อที่มีคุณภาพเพื่อเด็กพิการทางการมองเห็นแล้ว การออกแบบสื่อวิดีโอคู่มือเป็นสิ่งที่ได้คำนึงถึง เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม สามารถเป็นสื่อการเรียนการสอนที่ครู ผู้ดูแล และผู้ปกครอง สามารถใช้สื่อนี้เพื่อพัฒนาขยายเป็นสื่อการเรียนรู้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ส่งต่อความรู้ได้ไม่จำกัด อีกทั้งเพื่อใช้เป็นต้นแบบ (Guideline) ในด้านการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ในด้านผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์เชิงชุมชนและสังคมนั้น จะทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านการเสริมสร้างทักษะของเด็กพิการทางการเห็นได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้เกิดการสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม ในด้านนโยบาย ข้อมูลและแนวทางที่ได้จากโครงการนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำมาใช้กำหนดเป็นนโยบายในการพัฒนากิจกรรมเพื่อเด็กพิการทางการมองเห็นและเด็กผู้มีความต้องการพิเศษกลุ่มอื่น ร่วมด้วยได้

สำหรับกิจกรรม “ละครเวทีเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กพิการทางการเห็น” จัดแสดงในพื้นที่ 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด ขอนแก่น โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี และรอบสุดท้าย อาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร สามารถติดตามโครงการฯ ได้ที่

Facebook Page : The Little Blind Adventure (การผจญภัยในความมืด)

ข้อมูลการติดต่อ หัวหน้าโครงการ   นางสาวเพชรรัตน์ มณีนุษย์ (สร้อย)อาจารย์พิเศษ คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการละคอน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โทร 065-7190904 Line ID : 034212554 E-mail : [email protected]