(วันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม 2566 ) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ สมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ จัดงาน พิธี มอบรางวัลสำหรับผู้ชนะเลิศในโครงการ นักเล่าเรื่องหน้าใหม่ “คิดเล่นให้เป็นเรื่อง” ภายใต้แนวคิด “ตัวตนคนอันดามัน” ซึ่งได้จัดกิจกรรมขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีเป้าหมาย เพื่อส่งเสริม พัฒนาเยาวชนในท้องถิ่น และนักเขียนบทละครโทรทัศน์ ให้มีทักษะในการสร้างสรรค์สื่อที่ปลอดภัย และเหมาะสมกับบริบททางสังคม และสนับสนุนให้เกิดกระบวนการคิด และผลิตสื่อด้วยองค์ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ภูมิปัญญา สภาพปัญหา ตลอดจนอัตลักษณ์ของท้องถิ่น และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือของเครือข่ายเยาวชน หรือผู้ผลิตสื่อท้องถิ่นที่เป็นเจ้าของช่องทางต่างๆ ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสื่อที่พัฒนามาจากอัตลักษณ์ของท้องถิ่น หรือชุมชนที่มีคุณลักษณะของสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์
ณ โรงแรม สยามแอทสยาม ชั้น 11 กรุงเทพฯ
ดร. ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิด “สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” สร้างนวัตกรรมสื่อในรูปแบบต่างๆ เพื่อทลายกรอบการผลิตเนื้อหาแบบเดิม เพิ่มเนื้อหาที่เป็นทางเลือกในการรับรู้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้มากขึ้น และนําเสนอข้อมูลที่จําเป็นต้องรู้ในมิติที่คนต้องการ เพื่อการเล่าเรื่องที่รอบด้าน หลากหลายแง่มุม และขับเคลื่อนประเด็นที่เป็นประโยชน์สู่การมีส่วนร่วมของคนในสังคม ควบคู่กับการสร้างฐานความรู้ด้านต่าง ๆ ในการสนับสนุนการสร้างสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการจัดโครงการกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนานักเขียนบทละครโทรทัศน์ หรือที่มีชื่อกิจกรรมว่า “คิดเล่นให้เป็นเรื่อง” ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริม พัฒนาเยาวชนในท้องถิ่น และนักเขียนบทโทรทัศน์ ให้มีทักษะในการสร้างสรรค์สื่อที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับบริบททางสังคม และสนับสนุนให้เกิดกระบวนการคิดและผลิตสื่อด้วยองค์ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ภูมิปัญญา สภาพปัญหา ตลอดจนอัตลักษณ์ของท้องถิ่น และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือของเครือข่ายเยาวชนหรือผู้ผลิตสื่อท้องถิ่นที่เป็นเจ้าของช่องทางต่างๆ ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสื่อที่พัฒนามาจากอัตลักษณ์ของท้องถิ่นหรือชุมชนที่มีคุณลักษณะของสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้
นายเทินพันธ์ แพนสมบัติ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาสื่อสำหรับประชาชน กล่าวว่า กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ การจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนานักเขียนบทละครโทรทัศน์ ภายใต้หัวข้อ “คิดเล่นให้เป็นเรื่อง” ประกอบด้วย เยาวชน นักเขียน นักเขียนบทละครโทรทัศน์ในภาคใต้ นักเขียนบทละครโทรทัศน์มืออาชีพ เครือข่ายการทํางานของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในทุกภาคส่วน
ผู้ผลิตสื่อหน้าใหม่ และประชาชนที่สนใจ รวมไปถึงเด็กและเยาวชนที่สนใจเป็นนักผลิตสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ เมื่อวันที่ 9 – 10 กันยายน พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมอีโค่อินน์ จังหวัดตรัง กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ร่วมกับสมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ ได้จัดโครงการกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนานักเขียนบทละครโทรทัศน์ กิจกรรม “คิดเล่นให้เป็นเรื่อง” ภายใต้แนวคิด “ตัวตนคนอันดามัน” ให้กับผู้สนใจทางด้านงานเขียน เพื่อการพัฒนาต่อยอดการเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชุมชนโดยผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ เรียบเรียง เล่าเรื่องอย่างสร้างสรรค์ และนำไปสู่การเป็นนักเขียนเรื่องสั้นหรือบทละคร โดยกิจกรรมในครั้งนี้
มีผู้สนใจเข้าร่วมอบรมเป็นจำนวนมาก และมีผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน 37 คน ซึ่งมาจากหลายพื้นที่ในจังหวัดทางภาคใต้ เช่น สงขลา,กระบี่,ระนอง,ตรัง เป็นต้น และทุกคนล้วนมีความสนใจในงานเขียนโดยมองว่างานเขียนยังมีความสำคัญในการบอกเล่าเรื่องราว สามารถยกระดับและนำไปสู่การผลิตเป็นหนังสั้น บทละคร และตีพิมพ์เป็นนวนิยายต่อไป
นายคฑาหัสต์ บุษปะเกศ นายกสมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ กล่าวว่า ในการอบรมครั้งนี้มีนักเขียนชั้นนำของประเทศมาถ่ายทอดความรู้อย่างเข้มข้น และสนุกสนาน ไม่ว่าจะเป็น คุณแดง ศัลยา สุขะนิวัตติ์ ผู้เขียนบท “บุพเพสันนิวาส” “พรหมลิขิต” “ดอกส้มสีทอง” ฯลฯ
คุณหนึ่ง คฑาหัสต์ บุษปะเกศ นายกสมาคมฯ ผู้เขียนบท “คมแฝก” “ขอเกิดใหม่ใกล้ๆ เธอ” “ฟ้าเพียงดิน” ฯลฯ ,คุณยุ่น ยิ่งยศ ปัญญา ผู้เขียนบท “กรงกรรม” “ลายกินรี” ฯลฯ ,คุณลิตา ละลิตา ฉันทศาสตร์โกศล ผู้เขียนบท “รตีลวง” “เสือสั่งฟ้า 1-3 ฯลฯ ฯลฯ ,คุณโย อภิรักษ์ ชัยปัญหา ผู้เขียนบท “คาธ” “ตะวันตกดิน” “รองเท้านารี” ฯลฯ ,คุณหน่อง เธียรชัย อิศรเดช ผู้เขียนบท “บ้านรังนกไม้” “อมรพิมาน” ฯลฯ ,คุณสน สนธยา สุชฎา ผู้เขียนบท “ขมิ้นกับปูน” “สองนรี” ฯลฯ ,คุณนุ ศศิวัฒน์ แสงสีทอง ผู้เขียนบท “เสาร์ 5” “สารวัตรใหญ่” ฯลฯ ,
คุณบ๊วย นันทวรรณ รุ่งวงศ์พาณิชย์ ผู้เขียนบท “ปดิวรัดา”“คุณชายรณพีร์”ฯลฯ,คุณแหม่ม เนรัญญา มะชะรา ผู้เขียนบท “พริกกับเกลือ” “เพชฌฆาตจันทร์เจ้า” ฯลฯ ,คุณเกี้ย ศักดิ์ชาย เกียรติปัญญาโอภาส ผู้เขียนบท “Dare to love ให้รักพิพากษา”“ลมซ่อนรัก”ฯลฯ และคุณกอล์ฟ สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์ ผู้เขียนบท“ภูตแม่น้ำโขง,นาคี, พิภพหิมพานต์” ฯลฯ
หลังจากการอบรมได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ยังมีกิจกรรมการประกวดผลงานให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้สร้างสรรค์ผลงานเพื่อเข้าร่วมชิงรางวัล ซึ่งมีผู้เข้าร่วมอบรมที่สนใจส่งผลงาน ทั้งหมด 15 ทีม ซึ่งชิ้นงานที่โดดเด่นและสามารถถ่ายทอดเรื่องเล่าผ่านการแสดงออกทางพิธีกรรม ประเพณี วัฒนธรรม ตำนาน เรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ และปรากฏการณ์ทางสังคม หรือที่เรียกว่า “อัตลักษณ์ทางสังคม” หรือ “อัตลักษณ์ที่คนในสังคมมีร่วมกัน” ที่ได้รับรางวัล ได้แก่
รางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง เงินรางวัล 30,000 บาท ทีมอันดามี เรื่อง โอรังกาบง
รางวัลชนะเลิศอันดับสอง เงินรางวัล 20,000 บาท ทีมแมวง่วง เรื่อง ต้าหลงจิน หวนคำนึงถึงเธอ
รางวัลชนะเลิศอันดับสาม เงินรางวัล 10,000 บาท ทีมแสงอรุณ เรื่อง มิตรภาพแห่งท้องทะเล
รางวัลชมเชย เงินรางวัลทีมละ 5,000 บาท จำนวน 4 รางวัล
– ทีมครอบครัวไกรเสม เรื่อง บ่วงธรณี
– ทีมรักษ์โนรา 1 เรื่อง โนรายาแฝด
– ทีมเมอร์เมด เรื่อง สุดสาคร 2023
– ทีมมณีอันดา เรื่อง มายา อันดาเล
รางวัลวิดีโอประกอบผลงานดีเด่น เงินรางวัล 10,000 บาท ทีมอันดามี
ติดตามข้อมูลข่าวสารกิจกรรมได้ที่
FACEBOOK: กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
FACEBOOK: คิดเล่นให้เป็นเรื่อง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คุณนิพล (โจ้) 089 770 1411
ความเห็นล่าสุด