เลือกหน้า

ดร.ธนกร ศรีสุขใส
ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

 

ประวัติการศึกษา

  • นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์การเมือง) คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สื่อสารมวลชน) คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  •          

    ประสบการณ์

    • ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สมัยที่ 2
    • คณะกรรมการประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    • อนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการกระจายเสียง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.)
    • ผู้ปฏิบัติงานประจำ กสทช. พลโท ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.)
    • อนุกรรมการเรียกคืนคลื่นความถี่และเยียวยาคลื่นความถี่ 700 MHz สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.)
    • อนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.)
    • อนุกรรมการส่งเสริมการกำกับดูแลกันเองของผู้ประกอบกิจการด้านการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.)
    • อนุกรรมการกำหนดลักษณะและประเภทของการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.)
    • ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี (TITV) ก่อนเปลี่ยนผ่านเป็น Thai PBS สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
    • ผู้บริหารและผู้ดำเนินรายการกลุ่มบริษัท สำนักข่าว  INN
    • หัวหน้าคณะทำงานโครงการประชาสัมพันธ์เชิงรุกในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย

             

    การฝึกอบรม

  • อบรมหลักสูตร นักบริหารการเงินการคลังภาครัฐ (บงส.) รุ่นที่ 9
  • เป็นผู้แทนสำนักงาน กสทช. ร่วมคณะกับกระทรวงการต่างประเทศศึกษาแนวทางการต่อต้านแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรงและการสร้างเรื่องเล่าโต้ตอบ (Counter-Narratives) ณ ประเทศสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ ระหว่างวันที่ 30 กันยายน- 3 ตุลาคม 2561
  • อบรมหลักสูตร Boardcast and Content Regulation จัดโดยสำนักงาน กสทช. ร่วมกับ Thomson Foundation ประเทศสหราชอาณาจักร และ intitute for Defense & Business ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ดร. ชำนาญ งามมณีอุดม
    รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

     

    ประวัติการศึกษา

    • ปริญญาตรี การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค)
    • ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ (การตลาด) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค)
    • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ (Commerce) Magadh University, India

             

    ประสบการณ์

    • คณะกรรมการประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    • ตัวแทนประเทศไทยในการเข้าร่วมเป็นวิทยากร การประชุม และเจรจาระหว่างประเทศ
    • กรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2564
    • ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อบริหารการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก และขนาดย่อย สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
    • นักวิชาการประจำคณะกรรมาธิการพาณิชย์ และทรัพย์สินทางปัญญา
    • ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการเขตเศรษฐกิจพิเศษ กรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน
    • หัวหน้าภาควิชาการจัดการธุรกิจโลก (Global Business Management)
    • หัวหน้าศูนย์พัฒนาสมรรถนะทรัพยากรมนุษย์ วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
    • อาจารย์ ผู้สอน และกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก หลายมหาวิทยาลัย อาทิ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นต้น
    • ที่ปรึกษาด้านการจัดทำแผนแม่บท ด้านธุรกิจระหว่างประเทศ ด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

    ร้อยโท ดร.ธนกฤษฏ์ เอกโยคยะ
    รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

     

    ประวัติการศึกษา

    • ปริญญาตรี (นบ.) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
    • ปริญญาโท (Master of Laws) จาก The University of Auckland ประเทศนิวซีแลนด์
    • ปริญญาเอก (Doctor of Philosophy) ด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยีสารสนเทศ จาก The University of Southampton ประเทศอังกฤษ

             

    ประสบการณ์

    • อุปนายกสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย
    • รักษาการผู้อำนวยการสำนักเครื่องหมายการค้า
    • หัวหน้ากลุ่มงานจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ
    • หัวหน้ากลุ่มงานความร่วมมืออาเซียน เอเปค และจีน ณ กรมทรัพย์สินทางปัญญา
    • เข้าร่วมคณะทำงานเจรจา FTA ไทย-อินเดีย และ WTO ขณะดำรงตำแหน่งนักวิชาการพาณิชย์ ณ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
    • ดำรงตำแหน่งอัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายการพาณิชย์ ณ กรุงบรัสเซลส์
    • รับผิดชอบการจัดตั้งบริษัทลูกของ AOT เพื่อดำเนินการด้านการขนส่งสินค้าเน่าเสียง่ายผ่านช่องทางพิเศษ
    • อาจารย์พิเศษและกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกหลายมหาวิทยาลัย อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นต้น

    วัตถุประสงค์ / อำนาจหน้าที่

    พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ.​2558
    กำหนดวัตถุประสงค์ / อำนาจหน้าที่กองทุนฯ ดังนี้

    มาตรา 5
    ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า “กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” ให้กองทุนเป็นนิติบุคคลและมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
    (1) รณรงค์ ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
    (2) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
    (3) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนโดยเฉพาะเด็ก เยาวชนและครอบครัวมีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ เฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ และสามารถใช้สื่อในการพัฒนาตนเองชุมชนและสังคม
    (4) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวาง เพื่อให้เกิดการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
    (5) ส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัย อบรม พัฒนาองค์ความรู้และการสร้างนวัตกรรมด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
    (6) ส่งเสริมบุคคล องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรสาธารณประโยชน์ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสื่อให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
    (7) ดำเนินการและส่งเสริมให้มีสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง

    มาตรา 9
    ให้กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง
    (1) ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ
    (2) ก่อตั้งสิทธิ หรือกระทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งในและนอกราชอาณาจักร
    (3) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุน
    (4) กระทำการอื่นใดบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับวัตถุประสงค์ของกองทุน

    มาตรา 21
    คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลกองทุนให้ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 5 อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง
    (1) กำหนดนโยบาย แผน และยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
    (2) ออกประกาศกำหนดลักษณะของสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์
    (3) กำหนดมาตรการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและสร้างทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ รวมทั้งเพื่อส่งเสริมการใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคม
    (4) กำหนดมาตรการเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเฝ้าระวังสื่อตามมาตรา 5 (3)
    (5) กำหนดมาตรการเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและประสานงานระหว่างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ รวมทั้งภาคเอกชน ในการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
    (6) ให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานประจำปี แผนการเงินและงบประมาณประจำปีของกองทุน
    (7) ออกข้อบังคับว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
    (8) ออกข้อบังคับว่าด้วยการจัดแบ่งส่วนงานภายในของสำนักงาน และขอบเขตหน้าที่ของส่วนงานดังกล่าว
    (9) ออกข้อบังคับว่าด้วยการคัดเลือกผู้จัดการ การปฏิบัติงานและการมอบอำนาจของผู้จัดการ
    (10) ออกข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงาน การบริหารงานบุคคล การเงิน การพัสดุและทรัพย์สินของสำนักงาน และการตรวจสอบภายในของกองทุน
    (11) ออกข้อบังคับว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าตอบแทน หรือค่าบริการในการดำเนินกิจการของกองทุน
    (12) กำหนดจำนวน ตำแหน่ง ระยะเวลาจ้าง อัตราเงินเดือนและค่าจ้าง เงินเดือนของเจ้าหน้าที่และลูกจ้าง
    (13) แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ คณะอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และคณะอนุกรรมการอื่น ตามที่เห็นสมควรเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
    (14) กระทำการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุน
    ประกาศตาม (2) และข้อบังคับตาม (7) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

    มาตรา 23
    ให้มีคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทนกระทรวงการคลัง และผู้ทรงคุณวุฒิ
    จำนวนห้าคน ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ด้านการเงิน ด้านกฎหมาย ด้านพัฒนาสังคมหรือด้านจิตวิทยา ด้านวัฒนธรรม และด้านสื่อสารมวลชน
    ด้านละหนึ่งคน เป็นอนุกรรมการ และให้ผู้จัดการเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ

    มาตรา 25
    สำนักงานมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
    (1) รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และคณะอนุกรรมการตามมาตรา 21 (13)
    (2) เสนอนโยบาย แผน และยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แผนการดำเนินงานประจำปี แผนการเงินและงบประมาณประจำปีของกองทุน รวมทั้งศึกษา วิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินการของกองทุนต่อคณะกรรมการ
    (3) ให้คำแนะนำแก่ผู้ผลิตสื่อในการผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
    (4) จัดทำบัญชีและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของกองทุน
    (5) ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และคณะอนุกรรมการตามมาตรา 21 (13) มอบหมาย

    ติดต่อ/ร้องเรียน ( Call Center )

    02 273 0116-9

    จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

     1,410,188

    กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

    เลขที่ 388 อาคารเอส.พี. (ไอบีเอ็ม) อาคารเอ ชั้น 6 ถนนพหลโยธิน

    แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400

    โทร. 02 273 0116-9 โทรสาร. 02 273 0120

    email: [email protected] (ส่งเอกสาร/หนังสือเชิญ)

    email: [email protected]

    กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

    เลขที่ 388 อาคารเอส.พี. (ไอบีเอ็ม) อาคารเอ ชั้น 6
    ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท
    กรุงเทพมหานคร 10400

    โทร. 02 273 0116-9 โทรสาร. 02 273 0120
    email: [email protected] (ส่งเอกสาร/หนังสือเชิญ)
    email: [email protected]