(15 ตุลาคม 2565) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดงาน “Road To Creators สื่อสร้างสรรค์ โอกาสสำหรับทุกคน” ครั้งที่ 4 ชวนคนขอรับทุนผลิตสื่อสร้างสรรค์ประจำปี 2566 วงเงินงบประมาณรวม 300 ล้านบาท ณ โรงแรมเอส หาดใหญ่ จ.สงขลา
ซึ่งเป็นเวทีสุดท้ายสำหรับปีนี้มี นางเลขา สุวรรณชาตรี วัฒนธรรมจังหวัดสงขลา กล่าวต้อนรับผู้ร่วมงาน
ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ บรรยายในหัวข้อ “สื่อสร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม” โดยกล่าวว่า สื่อดีต้องไม่ขัดต่อศีลธรรม จริยธรรม ไม่ก่อให้เกิดความแตกแยก ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ขัดต่อกฏหมายและจรรยาบรรณสื่อมวลชน
ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวและสังคม รวมถึงการส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามัคคี และสามารถใช้ชีวิตในสังคมที่มีความหลากหลายได้อย่างเป็นสุข
‘เราเชื่อว่าทุกคนเป็นสื่อ และมีโอกาสที่จะสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในสังคม’
ร.ท. ดร.ธนกฤษฏ์ เอกโยคยะ รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ บรรยายเรื่องลิขสิทธิ์และการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา สำหรับการขอทุนกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่า ผลงานที่เกิดขึ้นการจากทำโครงการที่ได้รับทุนจากกองทุนนั้นเป็นลิขสิทธิ์ร่วมกันระหว่างผู้จัดทำโครงการกับกองทุนสื่อ
ให้ระมัดระวังเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่นโดยไม่ตั้งใจ แนะนำให้ขออนุญาตการใช้สื่อกับเจ้าของผลงานให้เรียบร้อยก่อน เช่น การนำภาพกราฟิก เพลง หรือ คลิปสั้น มาใช้ประกอบการผลิตสื่อ เป็นต้น
โดยทรัพย์สินทางปัญญาในการผลิตสื่อจะจัดอยู่ภายใต้กฏหมายลิขสิทธิ์ เมื่อสร้างสื่อขึ้นมาลิขสิทธิ์จะตกเป็นของผู้สร้างโดยทันที และสามารถแจ้งจดลิขสิทธิ์ได้ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานที่สร้างขึ้น โดยความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์นั้น มีโทษปรับสูงสุด 8 แสนบาทหรือจำคุกสูงสุด 4 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า กองทุนเชื่อว่าสื่อที่ดีสามารถแก้ปัญหาสังคมได้ ทุกคนคือพลเมืองที่มีสิทธิและหน้าที่ในการสร้างสื่อ เพื่อให้มีสื่อน้ำดีแก้น้ำเสียในสังคม
สำหรับการจัดสรรทุนในปี 2566 นี้ยังคงรูปแบบเดิม คือแบ่งทุนเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ทุนประเภทเปิดรับทั่วไป (Open Grant) งบประมาณ 90 ล้านบาท คือการให้ทุนผลิตสื่อเพื่อตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชน ประชาชนทั่วไป ผู้สูงอายุ และผู้พิการผู้ด้อยโอกาส
2. ทุนประเภทยุทธศาสตร์ (Strategic Grant) งบประมาณ 170 ล้านบาท เปิดให้ผู้ยื่นขอรับการสนับสนุนผลิตสื่อใน 7 ประเด็นตามที่กองทุนกำหนด
และ 3. ทุนประเภทความร่วมมือ (Collaborative Grant) งบประมาณ 40 ล้านบาท เปิดให้กับภาคีเครือข่าย ผู้ที่เคยร่วมงานกับกองทุน ผู้ขอต้องเป็นนิติบุคคลเท่านั้น
ผู้สนใจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับการขอทุนได้ที่ https://www.thaimediafund.or.th ยื่นข้อเสนอผ่านระบบออนไลน์ได้ตั้งแต่วันที่ 1-31 ตุลาคม 2565 ภายในเวลา 16.30 น. ผ่านเว็บไซต์ https://granting.thaimediafund.or.th
ขอฝากชวนทุกท่านมาร่วมทบทวน ซักถาม ตอบทุกปัญหาเรื่องขอทุนในงานเสวนาออนไลน์ “ติวเข้มโค้งสุดท้ายก่อนปิดขอทุนปี 66 ในวันที่ 25 ต.ค.65 เวลา 14.30-16.30 น. ทาง Facebook Live กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนร่วมงานได้ที่ https://forms.gle/NrWTfJFfbRUiCzo47
นางสาวพัชรพร พงษ์ทัดศิริกุล ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ ยังได้ย้ำประเด็นสำคัญในการขอทุน คือ หัวใจหลักสำคัญในการเขียนโครงการเพื่อขอรับทุนจากกองทุน โดยขอให้เขียนสรุปรายละเอียดของทั้งโครงการให้กระชับแต่อ่านแล้วเข้าใจ ครบถ้วน ตอบโจทย์ที่กองทุนต้องการ
โดยมีความคิดสร้างสรรค์ มีความน่าเชื่อถือ และสามารถทำได้จริง โดยยึดหลัก 5 W 1 H = What-When-Where-Why-How
ให้สอดคล้องกับโจทย์ของผู้ให้ทุน คุ้มค่ากับงบประมาณ และเหมาะสมสิ่งจะได้รับ
ทั้งนี้ ช่วงเสวนา “แนะแนวคิด แชร์ประสบการณ์ จากผู้รับทุนกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” มี
ศ.ดร.พระมหาบุญเลิศ ช่วยธานี ผู้รับทุนโครงการพลังเยาวชนไทยร่วมสร้างสังคมปลอดภัยไร้ Hate Speech ปี 2564 และ
คุณกฤติกา เกลี้ยงกลม ผู้รับทุนโครงการน้ำหนึ่งไทยเดียว ปี 2564
ศ.ดร.พระมหาบุญเลิศ แนะนำว่าการเขียนโครงการเขียนให้ ‘ดีดังโดนเด่น’ ข้อเสนอดี มีความโดดเด่น โดนใจกรรมการ
ขณะที่คุณกฤติกา ฝากถึงคนที่กำลังจะขอทุนในปีนี้ว่าให้ ‘ททท.’ คือทำทันที ให้ลองเขียนมาก่อน ถ้าเขียนแล้วมีคนถามแปลว่ายังเขียนได้ไม่เข้าใจให้เขียนใหม่
ความเห็นล่าสุด